หลักการตลาด

Principles of Marketing

เพื่อให้นักศึกษา ศึกษาบทบาทและความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ พัฒนาการของแนวความคิดการตลาด กิจกรรมและหน้าที่ต่างๆ ทางการตลาด ลักษณะและพฤติกรรมการซื้อแต่ละตลาด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมการตลาด กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละส่วนประสม การประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกิจกรรมการตลาด จริยธรรมการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
1) เข้าใจบทบาทของการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม
2) รู้องค์ประกอบของโครงสร้างระบบการตลาด  และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้น
3) รู้หลักเกณฑ์การเลือกตลาดเป้าหมาย 
4) เลือกใช้ส่วนประสมการตลาดที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสม      
5) รู้รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารระบบเครือข่าย (On Line marketing)
6) มีจิตสำนึกในเรื่องจริยธรรมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
ศึกษาบทบาทและความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ พัฒนาการของแนวความคิดการตลาด กิจกรรมและหน้าที่ต่างๆ ทางการตลาด ลักษณะและพฤติกรรมการซื้อแต่ละตลาด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมการตลาด กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละส่วนประสม การประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกิจกรรมการตลาด จริยธรรมการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือรายกลุ่มนอกชั้นเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา ดังนี้
1) จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เวลา 16.00-17.00 ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาการตลาด  คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  โทร. 084-9093490
2) e-mail: Nayty_2521@hotmail.com หรือ เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Facebook) เฉพาะกลุ่มของระดับชั้นสาขาวิชาการตลาด ได้ทุกวัน
 
1.1 มีความซื้อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเอง และผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม 
1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม 
1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวคิดพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน 
1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 
1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
 
-อาจารย์ประพฤติตนเป็นแบบอย่าง Role Mode 
-การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา case stud 
-การเรียนรู้โดยการใช้สื่อ Media Learning 
-การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักProblem Based Learning  แก้ไข
 
-การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  -การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
 
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด การเงิน การผลิต และการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ 
2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจในด้านการวางแผน การควบคุม และการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน 
2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
 
-ศึกษาด้วยตนเอง Self-Directed Learning 
-เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้Co-operative Learning 
-การเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence Based  Learning
 
-รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ 
-ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง  
-ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ  
-ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
 
3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ 
3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม 
3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้ 
3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
 
-การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักProblem Based Learning 
-การเรียนรู้โดยใช้รายงาน Project Based Learning 
-การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ  Performance Based Learning 
 
-ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา 
-การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ 
-การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
 
4.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา 
4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 
4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม 
4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
 
-การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา case study 
-การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักProblem Based Learning 
-การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ  Performance Based Learning 
-การเรียนรู้โดยการใช้สื่อ Media Learning 

-การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นหลัก Community Based Learning
 
-พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา  
-พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา  
-การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา  
-พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
 
5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และการตัดสินใจทางธุรกิจ 
5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย 
5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี 
5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
 
-การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ  Performance Based Learning 
-ศึกษาด้วยตนเอง self-Directed Learning 
-การเรียนรู้โดยใช้รายงานProject Based Learning
 
-ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม  
-ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  
-ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 12021101 หลักการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน 1.) การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย 2.) การส่งงานตามกำหนดเวลา 3.) การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-8, 10-16 1) 20% 2) 10% 3) 10%
2 - การเข้าชั้นเรียน : คะแนนเจตคติ 1-8, 10-16 10%
3 - การทดสอบ 1) การสอบกลางภาค 2) การสอบปลายภาค 9, 17 1) 20% 2) 30%
-คณาจารย์สาขาวิชาการตลาด.  หลักการตลาด.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2549.
-สุดาพร  กุณฑลบุตร.  หลักการตลาดสมัยใหม่.  พิมพ์ครั้งที่ 5 (ฉบับปรับปรุง).  กรุงเทพฯ  :  จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2557.
-ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์.  หลักการตลาด.  กรุงเทพฯ : ม.ป.ป.
-กุลฉัตร  ฉัตรกุล  ณ  อยุธยา.  ระบบสารสนเทศทางการตลาด.  เชียงใหม่ :  ภาควิชาการตลาด  คณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยพายัพ,  2550.
-ดวงพร  เกี๋ยงคำ.  คู่มือ Office 2007 ฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2552.
-บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์.  สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์, 2549.
-รศ.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคณะ. กลยุทธ์การตลาด  การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2541.
-สุวิมล  แม้นจริง, ผศ., การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2546.
-Kotler, Philip and Kelvin Keller.  Marketing  Management.  12th edition.  New Jersey : Pearson Education, 2006.
-หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ
-วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2) แบบประเมินผู้สอน
3) ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1) การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2) ผลการเรียนของนักศึกษา
3) การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2) การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1) การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2) ประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1) ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2) เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง