การตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ

Quantitative Decision Making in Business

1.1 เพื่อให้เข้าใจเทคนิคการสร้างรูปแบบทางคณิตศาสตร์
1.2 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจทฤษฎีการตัดสินใจ รวมทั้งหลักการและวิธีการคำนวณต่างๆ
1.3 เพื่อให้เข้าใจข้อจำกัดและรูปแบบปัญหาที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
1.4 เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และประเมินผลโครงการต่างๆ ทางธุรกิจ
1.5 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการวางแผนและการบริหารที่ดี การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้
    
เป็นรายวิชาที่ปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในการจัดการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรการจัดการ และเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งการเรียนรู้
 
ศึกษาการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อวางแผนและควบคุมการบริหาร การจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยเน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประยุกต์ตัวแบบในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ การพยากรณ์ ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบการมอบหมายงาน โปรแกรมเชิงเส้นตรง ทฤษฎีตัวแบบตัดสินใจ ตัวแบบเครือข่ายรวมถึงการนำทฤษฎีและเทคนิคเชิงปริมาณต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ขององค์การ
To study the business operation in order to plan and control the management efficiently by using various quantitative techniques to support in decision making. This course includes the application of models to solve the business problems; forecasting, model of transportation, model of assignment, linear programming, decision theory, and model of the networks. As well as using the theories and quantitative techniques to appropriately apply to the purpose and circumstances of the organization.
อาจารย์ผู้สอนกำหนดวัน เวลาในการให้คำปรึกษา (Office Hour) ที่ห้องพักอาจารย์ หลักสูตรการจัดการ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมงและประกาศให้ผู้เรียนทราบ นอกจากนี้ยังได้กำหนดช่องทางให้นักศึกษาติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Facebook และ Line
 
-มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
.-มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
-จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
-สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
-ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาการส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
-การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
-การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตลอดจนการแต่ง กายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
-การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
-มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
-มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
-จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
-จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงานโครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
-จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
-การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
-รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
-สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
-จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
-จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
-ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
-มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
-สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
-จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
-การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
-พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
-สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
-สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูลและการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
-จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆจากกรณีศึกษา
-การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
-ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
-สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
-จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริงและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
-จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
-ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลองหรือสถานการณ์จริงและความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
-นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
1 BBACC110 การตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-4.2 5.1-8.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 35% 35%
2 3.4, 4.1, 4.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 5.2,5.3 งานที่ได้รับมอบหมายและการเก็บคะแนน 4,6,10,12 20%
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล. (2554). การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ :เคที
พีคอมแอนด์คอนซัลท์.
พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี . (2553). สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณขั้นสูง กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
วินัย พุทธกูล, (2551). การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการจัดการทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการและทรัพยากร.
วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร . (2555). การวิเคราะห์แบบจำลอง. กรุงเทพฯ : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
สุทธิมา ชำนาญเวช. (2555). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. พิมพ์ครั้งที่ . กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สุปัญญา ไชยชาญ. (2556) การวิเคราะห์เชิงปริมาณฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.
เอกอรุณ อวนสกุล. (2554). เศรษฐศาสตร์การจัดการและเครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ
ทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภดล ร่มโพธิ์. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.-
- งานวิจัยจากสถานศึกษาและสถาบันวิจัย ศูนย์วิจัยต่างๆ
- ข้อมูลจากเว็ปไซต์ โปรแกรมเอ็กเซล
- ข้อมูลทางธุรกิจและทางการตลาด จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง สื่อสิ่งพิมพ์ทางการตลาดและทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- วารสาร นิตยสาร บทความเชิงวิเคราะห์หรืองานวิจัยทางธุรกิจ
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2) แบบประเมินผู้สอน
3) ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1) การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2) ผลการเรียนของนักศึกษา
3) การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2) การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1) การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2) ประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1) ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2) เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง