ภาษาอังกฤษกับวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารสากล

English and Culture for International Communication

1.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม
1.2 เข้าใจความหลากหลายในวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ
1.3 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัฒนธรรมสากล
1.4 ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมในการสื่อสารสากล
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างในการใช้ภาษาอังกฤษ ในลักษณะสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ โดยเน้นการนำไปใช้ในการ สื่อสารอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
การเรียนรู้ความแตกต่างในการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ โดยเน้นการนำไปใช้ในการ สื่อสารอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
ติดต่อทาง e-mail address ที่ amietong@hotmail.com , Facebook
1.1.3 พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
- ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง
- ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
- การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
- การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
- การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
2.1.1 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
- ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน
- ร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
- ศึกษาความรู้จากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากสื่อมัลติมีเดีย
- ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาโดยการแสดงบทบาทสมมติ การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
- ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
- การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง
3.1.1 ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามกรณีศึกษา และ
3.1.3ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
-ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย
-ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
- แบบฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
- การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
4.1.1 พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ
- จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
- ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
- แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
5.1.3 พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล
- ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด
- ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางบทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์ที่กำหนด
- ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
- การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน
- การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
- การใช้ภาษาในการนำเสนอมารยาท และวัฒนธรรมสากล โดยศึกษาค้นคว้าจากสื่อเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 13031140 ภาษาอังกฤษกับวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารสากล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3, 3.3, 4.3 ทดสอบกลางภาค 9 25%
2 2.3, 3.3, 4.3 ทดสอบปลายภาค 17 25%
3 1.3, 4.3 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน การร่วมกิจกรรมเดี่ยว/กลุ่มในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2.3, 3.3, 5.3 การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน การนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 4.3 แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน การทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
Student Worksheet ที่พัฒนาโดยอาจารย์ผู้สอน
2.1 Bushell, B. and Dyer, D. 2003. Global Outlook 1. NY. McGraw-Hill / Contemporary.
2.2 Dale, P. and Wolf, J. C. 2006. Speech Communication made Simple. NY. Addison Wesley Longman.
2.3 Green, C. 2005. Creative Reading Book 3. Oxford. Macmillan Education.
2.4 Gajaseni, Chansongklod. 2011. Learning English with Thai Culture. Bankgok: Chulalongkorn University.
2.5 Johannsen, K. L. 2006. English for the Humanities. Massachusetts. Thomson ELT.
2.6 Levine, D. R. and Adelman, M. B. 1982. Beyond Language: Intercultural Communication for English as a Second Language. Englewood Cliffs. Prentice-Hall Regents.
2.7 Lee, L. and Gundersen, E. 2001. Select Readings – Intermediate. Oxford. Oxford University Press.
2.8 Novinger, T. 2001. Intercultural Communication: A Practical Guide. Austin. University of Texas.
2.9 Pavli C. 2006. Hot Topic 1,2,3. Canada. Thomson Heinle.
2.10 Viney, P. and Viney, K. 1996. Handshake. Oxford. Oxford University Press.
2.11 Wang, D. and Li, H. 2007. “Nonverbal Language in Cross-cultural Communication”. Sino-US English Teaching. Vol. 4, No. 10 (October 2007). Pp. 66-70.
- เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
- การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
- ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
- สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
- สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
- ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
- ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
- ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
- สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
- สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
- มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
- ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
- ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี