การถ่ายเทความร้อนและมวลสารสำหรับวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

Heat and Mass Transfer for Food Process Engineering

1.1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจกระบวนการที่เกิดขึ้นในระหว่างการถ่ายเทความร้อน ทั้ง 3 ประเภท คือ การนำความร้อน (conduction) การพาความร้อน (convection) การแผ่รังสี (radiation) 
1.2 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หลักการพื้นฐานของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
1.3 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการถ่ายเทมวลเบื้องต้น
1.4 นักศึกษามีความเข้าใจการประยุกต์ใช้หลักการถ่ายเทความร้อนและมวลในอุตสาหกรรมอาหารได้
เพื่อเพิ่มเนื้อหาและกิจกรรมให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้และเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้หลักการถ่ายเทความร้อนและมวลในอุตสาหกรรมอาหาร
พื้นฐานและหลักการของการถ่ายเทความร้อน โดยการนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสี และการถ่ายมวล รู้จักการนำความร้อนเมื่อสภาวะต่างๆ คงที่และไม่คงที่ การนำความร้อนไหลผ่านวัสดุ รู้จักการพาความร้อนภายใต้การไหลสม่ำเสมอและการไหลแบบปั่นป่วน การพาความร้อนแบบบังคับและแบบธรรมชาติ รู้จักการแผ่รังสีระหว่างผิววัตถุดำ ผิววัตถุเทา ศึกษาถึงหลักการเบื้องต้นของการแพร่มวลส่วนประกอบของส่วนผสมแบบเนื้อเดียวและไม่ใช่เนื้อเดียว การแพร่มวลตามเวลา สามารถนำความรู้จากการส่งผ่านความร้อนมาประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน       โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีจิตสาธารณะ ช่วยเหลือผู้อื่น มีจรรยาบรรณในวิชาการที่ได้รับ และวิชาชีพของตนเมื่อจบการศึกษา มีวินัย  ขยัน อดทนตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม


เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 เน้นย้ำให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ให้การเข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2.2 เน้นย้ำกับนักศึกษาเรื่องการแต่งกายให้ตรงระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
1.2.4 ยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ จากประสบการณ์การทำงาน พร้อมแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวที่ดีในสังคมของการทำงาน
1.3.1 คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตในงานที่ได้รับมอบมาย และการสอบ ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสม
1.3.4 ผลการทดสอบทางภาคทฤษฎี และการปฏิบัติการ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่ จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรูทางวิชาชีพกับความรูในศาสตรอื่นๆ ที่เกี่ยวของ
การสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีการให้ผู้เรียนได้ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ มานำเสนอระหว่างการเรียนการสอนและการทำรายงานด้วยการค้นคว้าทางสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
2.3.1 ประเมินจากการสอบกลางภาคและ สอบปลายภาค
2.3.2 ประเมินการทำรายงานการฝึกปฏิบัติ การตอบคำถามระหว่างสอนในห้องเรียน และการนำเสนองาน โดยการตอบคำถามและการนำเสนอต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้องตามหลักการ
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกตความรูทั้งทางดานวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนําความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม
4.1.3 สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
6.1.1 นักศึกษามีการพัฒนาทางด้านร่างกาย สุขภาพแข็งแรง
6.1.2 นักศึกษามีพัฒนาการด้านระบบต่างๆของร่ายกาย
6.1.3 นักศึกษามีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
6.2.1 ใช้การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้  ทุกคาบเรียน
6.2.2 มีการสอดแทรกการสอบถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.2.3 มีการแนะนำเรื่องบุคลิกภาพในการนำเสนองานกับนักศึกษาทุกครั้งที่มีการนำเสนอผลงาน
6.3.1 ประเมินผลจากประสิทธิภาพในการปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสม
6.3.2 ประเมินผลจากความสามารถและไหวพริบของนักศึกษาในการตอบคำถามและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
6.3.3 ประเมินจากบุคลิกภาพที่นักศึกษาแสดงออกมาระหว่างการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3.
1 52011211 การถ่ายเทความร้อนและมวลสารสำหรับวิศวกรรมกระบวนการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ (ทดสอบภาคทฤษฎี) - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9 18 30 20
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม (การร่วมกิจกรรมในห้องเรียน) - การเข้าห้องเรียน - ส่งงานตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10
3 ด้านทักษะทางปัญญา (Assignment) Assignment ตลอดภาคการศึกษา 20
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (การปฏิบัติ/กิจกรรมกลุ่ม) การปฏิบัติ/กิจกรรมกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 5
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - รายงาน - การร่วมกิจกรรมในห้องเรียน - การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 10
6 ด้านทักษะพิสัย การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 5
รศ.สุนันท์ ศรัณยนิตย์, “การถ่ายเทความร้อน Heat Transfer”, กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), 2545, ISBN 9789749569009
             YUNUS A. CENGEL, “Heat and Mass Transfer: A Practical Approach”, Third Edition (SI Units), 2006, ISBN 987-007-125739-8
Fundamental of Heat and Mass Transfer [Frank P. Incropera - David P.DeWitt] edition 9
ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเทความร้อน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษาและผลสอบ
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา