วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2

Electronic Circuits 2

     1.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้งานออปแอมป์  
     2.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวงจรขยายที่มีการป้อนกลับ  
     3.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวงจรกรองความถี่
     4.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวงจรกำเนิดความถี่และเฟสล็อกลูป  
     5.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวงจรขยายเฉพาะช่วงความถี่  
     6.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
     7.  เห็นความสำคัญของวิชาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2  
         เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์  การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของวงจรอิเล็กทรอนิกส์  การนำเอาไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้งานต่อไป
         ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้งานออปแอมป์  วงจรขยายที่มีการป้อนกลับ  วงจรกรองความถี่  วงจรกำเนิดความถี่และเฟสล็อกลูป  วงจรขยายเฉพาะช่วงความถี่  แหล่งงจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก  -   อาจารย์ประจำรายวิชา  จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ    1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
     นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อทำให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
     1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
     1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     1.1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
     1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพผ่านทางการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม และมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มจบการศึกษา
     ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสถาพแวดล้อมจริง และให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ  
     ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
     1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
     1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 
     1.3.3  ปริมาณการทำทุจริตในการสอบ
     1.3.4  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
     1.3.5  ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
     นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษา ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะ อันเป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุม ดังนี้
     2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
     2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
     2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
     ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสถาพแวดล้อมจริง และให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ  
     การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้ สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียน ทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร โดยใช้การวัดผล ดังนี้
     2.3.1  การทดสอบย่อย
     2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 
     2.3.3  ประเมินจากงานที่นักศึกษาจัดทำ
     2.3.4  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
     2.3.5  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
     2.3.6  ประเมินจากรายวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
     นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม และความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุ เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
     3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
     3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ
     ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานกาณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง และเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
     การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา โดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
     3.3.1  บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
     3.3.2  การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ปัญหาในบริบทต่าง ๆ 
     3.3.3  การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
     3.3.4  การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
     นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำงานร่วมกับคนที่มาจากหลายที่ มีความแตกต่างกันทางความคิด วัฒนธรรม สถาบันการศึกษา และเชื้อชาติ ซึ่งอาจเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง นักศึกษาจึงต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
     4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
     4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     4.1.3  สามารถทำงานเป็นที่และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
     4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
     ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบผลสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
     4.2.1  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
     4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
     4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
     4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและบุคคลทั่วไป
     4.2.5  มีภาวะผู้นำและผู้ตาม
     4.2.6  มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
     การวัดและการประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบกรณ์ต่าง ๆ เช่น
     4.3.1  พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
     4.3.2  พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ 
     ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
     5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
     5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
     5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
     5.2.1  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
     5.2.2  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
     5.2.3  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
     5.2.4  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
     การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
     5.3.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
     5.3.2  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
     5.3.3  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
     5.3.4  จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
     การทำงานในถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้น ไม่ได้ใช้เพียงหลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
     6.6.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     6.6.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
     จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อดังต่อไปนี้
     6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญ
     6.2.3  สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
     6.2.4  จัดนิทรรศการการแสดงผลงานของนักศึกษา
     6.2.5  สนับสนุนการทำโครงงาน
     6.2.6  การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
     6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
     6.3.2  มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
     6.3.3  มีการประเมินการทำงานในภาคปฏิบัติ
     6.3.4  มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
     6.3.5  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นที่และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
1 32013207 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 5.1, 5.2, 5.3 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 8, 13, 17 20%, 30%, 20%
2 1.3, 2.1, 3.1, 5.2, 6.1, 6.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2-1.4, 4.1-4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
          1.1  ชูชัย  ธนสารตั้งเจริญ . ทฤษฎีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ , 2541.
          1.2  ดำรง  จีนขาวขำ. การออกแบบและการทดลองวงจรออปแอมป์. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
          1.3  มนตรี ศิริปรัชญานันท์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์. เอกสารประกอบการสอน วิชา 223361 Communication Electronics  เรื่อง เฟสล็อคลูป Phase Locked Loop (PLL). ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
          1.4  ผศ.ดร.นิพนธ์ สุขม . หลักการประยุกต์ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง : 2527.
          1.5  พันธ์ศักดิ์  พุฒิมานิตพงษ์ . อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ ,2542.
          1.6  สมศักกดิ์ ธนพุทธิวิโรจน์. Electronics Circuit Analysis .สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตอีสาน : ขอนแก่น.
          1.7  Ali Aminian , Marian k. kazimierczuk . ELECTRONIC DEVICE A Design Approach . Pearson International Edition. New Jersey : Pearson Prentice HallTM. 2004.
          1.8  Denton J. Dailey. Electronic Devices and Circuits. Discrete and Integrated. New Jersey : Prentice Hall, Inc. 2001.
          1.9  Donald A. Neamen. Electronic Circuit Analysis and Design. Second Edition. Singapore : MzGraw-Hill. 2001.
          1.10  Robert L. Boylestad , Louis Nashelsky. Electronic Devices and Circuits Theory. Ninth Edition. New Jersey : Prentice Hall, Inc. 2006.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
     การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
     2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
     หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
     3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
     ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
 
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ 
     5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4