ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Numerical Methods for Computer Engineering

1. เข้าใจพื้นฐานระเบียบวิธีเชิงตัวเลขและค่าผิดพลาด
2. เข้าใจรากของสมการ
3. เข้าใจระบบสมการเชิงเส้น
4. เข้าใจการถดถอยกำลังสองน้อยสุด
5. เข้าใจการประมาณค่าในช่วง
6. เข้าใจวิธีการหาค่าอินทิเกรตเชิงตัวเลข
7. เข้าใจวิธีการแก้สมการเชิงอนุพันธ์
8. มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาระเบียบวิธีเชิงตัวเลข
มีการปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับระบบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษากำหนด
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระเบียบเชิงเลขโดยใช้คอมพิวเตอร์ การประมาณค่าของฟังก์ชันด้วยเทย์เลอร์ และการหาความคลาดเคลื่อน การหารากของสมการทั้งแบบปิดและแบบเปิด ระบบสมการแบบเชิงเส้น การแก้สมการด้วยการขจัดค่าของเก๊าซ์, เก๊าซ์จอร์แดน การหาเมทริกซ์ส่วนกลับ และเก๊าซ์ไซดอล การประมาณค่าในช่วง(Interpolation)แบบเชิงเส้นแบบโพลีนอลเมี่ยล และระเบียบวิธี Spline การถดถอย(regression)ด้วยวิธีลีสท์-สแควร์แบบเชิงเส้น(Linear least square) การแปลงโมเดลแบบไม่เชิงเส้น(non linear) เป็นแบบเชิงเส้น การถดถอยแบบหลายตัวแปร(multiple regression) การถดถอยแบบหลายเชิง การหาอนุพันธ์และการอินทิเกรตด้วยวิธีนิวตัน-โคตส์ รอมเบิร์ก การแก้สมการดิฟเฟอเรนเชียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณ ค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นาและผู้ตาม สามารถทางานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตาม ลาดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิด ชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.2.3 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการ
เป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของ
มหาวิทยาลัย
1.2.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบ
ของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎีที่สำคัญ และองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นพื้นฐานนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปจนถึงเป็นความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการเขียนโปรแกรม มีการเข้าใจในปัญหา วิเคราะห์ และสามารถอธิบายการแก้ไขปัญหาโดยสามารถเลือกทฤษฎีต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาแก้ไขปัญหาได้ มีการติดตามวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆรอบตัวเพื่อนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์และเชื่อมโยงกับแขนงความรู้ด้านอื่นๆได้ เพื่อให้เห็นภาพรวมและแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
มีการบรรยายทางด้านทฤษฎีต่างๆ การยกตัวอย่างปัญหาประกอบการเรียนการสอน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ มีการปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการ นำปัญหาต่างๆ มาอภิปรายโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจหลักการการคำนวณเพื่อการวิเคราะห์
2.3.2 ประเมินจากการรายงานและการนำเสนอรายงาน
2.3.3 การทดสอบปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
2.3.4 การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกเหนือจากบทเรียน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้
เป็นอย่างดี
3.2.1 การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการ
แยกแยะเชิงความคิดวิเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชาปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์
3.3.2 ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3 วัดผลจากการประเมินจากรายงาน การนำเสนอผลงาน
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
กำหนดเวลา
4.2.1 มีการจัดกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยเน้นการประยุกต์ความรู้ในรายวิชาเพื่อวิเคราะห์ กรณี ศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม โดยมีการมอบหมายงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาได้ทำการทำงานร่วมกัน แสดงความรับผิดชอบการทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้มีการอภิปรายกันในกลุ่มเพื่อให้เกิดความเป็นผู้ริเริ่มและการแก้ไขสถานการณ์ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง อีกทั้งมีการแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างสอนโดยผ่านการเล่าเรื่องต่างๆ โดยเน้นเรื่องความรับผิดชอบ การแสดงความเห็น การนำความรู้ไปใช้ และผลของการสื่อสาร
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การ
แปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4 พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
อย่างเป็นระบบ
5.1.5 พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการ
ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่
เหมาะสม
5.1.7 พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบ
วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.3, 3.1, 5.2 สอบกลางภาค การสอบปฏิบัติ สอบปลายภาค 9 17 17 10% 20% 10%
2 1.3, 2.1, 3.1, 5.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาค การศึกษา 50%
3 1.3, 4.1-4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาค การศึกษา 10%
ไม่มี
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการ
ปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผล
การทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย
ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ
สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4