สุนทรียศาสตร์และการพัฒนาบุคลิกภาพ

Aesthetics and Personality Development

1. เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพและทักษะในวิชาชีพสามารถ ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยว และงานบริการบนพื้นฐานของความเป็นไทย
2. เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นและของประเทศ
3. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ มีใจรักงาน และสำนึกในจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของไทย
1.เพื่อให้นักศึกษาตระหนักและเข้าใจถึงความหมาย ความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพในการท่องเที่ยวและงานบริการ
2.เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในส่วนของลักษณะความเป็นมา แนวคิด องค์ประกอบ ความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพในการท่องเที่ยวและงานบริการ
ศึกษาสุนทรียศาสตร์ในงานบริการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ บุคลิกภาพ และสุนทรียศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานบริการ ปัจจัยและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ การปรับปรุงบุคลิกภาพ การแต่งกาย การพูด มารยาท การเข้าสมาคม การปรับตัวและการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมสอดคล้องกับงานบริการ ฝึกปฏิบัติและติดตามประเมินผล ความปลอ
3 ชั่วโมงโดยระบุวัน เวลาไว้ในประมวลการสอน และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดีและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนามีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
1.4 มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.1 ปฏิบัติกิจกรรมตามสถานการณ์ และบทบาทสมมุติแล้วอภิปรายถึงแนวคิด ข้อคิดที่สร้างความเข้าใจชีวิต เข้าใจคน และเข้าใจธรรมชาติ และการปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมและสันติ
1.2.2 อภิปรายกลุ่มทั้งกลุ่มเฉพาะ และกลุ่มใหญ่
1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหากรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์ตามศาสตร์และทฤษฎีที่เรียนพร้อมกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
1.3.1 พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
1.3.2 พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้อง เหมาะสม และสร้างสรรค์
1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาที่มอบหมาย
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฎีและ
ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก
2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.3 มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ในงานอาชีพ
2.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง
2.2.2 อภิปรายหลังการทำกิจกรรม เกม หรือสถานการณ์จำลอง
2.2.3 การทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า
2.2.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีต่างๆ ที่เรียน
2.2.5 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning)
2.3.1 ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
2.3.2 ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3.2 การมีส่วนร่วมอภิปรายในชั้นเรียน ทุปสัปดาห์ 20 %
2 1.1, 1.2 การมีส่วนร่วมแสดงบทบาทสมมุติ 8 และ 13 10%
3 5.1 , 5.2 การค้นคว้าด้วยตนเอง 1 , 5, 11 20 %
4 1.3, 1.4 การฝึกปฏิบัติในการพัฒนาบุคลิกภาพ 15 ,16 20 %
5 2.1, 2.2 สอบ สัปดาห์ที่จัดสอบ 30%
- ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์. บุคลิกภาพและมารยาทวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
 
-วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์ .บุคลิกพลิกชีวิต. กรุงเทพ : ดีเอ็มจี, 2558.
-คณะกรรมการวิชาศิลปะการดำเนินชีวิต ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศิลปะการดำเนินชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2553.
1.ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจถึงการปรับปรุงรายวิชานี้จากการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และประโยชน์จากข้อคิดเห็นของนักศึกษาต่อการพัฒนารายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนารายวิชาในช่วงปลายของภาคการศึกษา
2.ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล-คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3.ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน และการพัฒนารายวิชาผ่านระบบการประเมิน online ของมหาวิทยาลัยแ
 
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนด้วยตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา2.
1.การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
2.การวิเคราะห์ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกปฏิบัตินอกสถานที่
3.การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับรุ่นต่อไป3.
1.ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
2.(อาจ) ให้กรรมการทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน
3.เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.(อาจ) จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา (หรือกับสถาบันในเครือข่าย)
5.สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามในข้อสอบจากผู้ใช้บัณฑิต เพื่อปรับมาตรฐานข้อสอบ
1.นำข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากข้อ 1 มาประมวล เพื่อจัดกลุ่มเนื้อหาความรู้ที่ต้องปรับปรุง วิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และรูปแบบของการศึกษาการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
2.นำผลการประเมินการสอนของตนเองจากข้อ 2 มาจัดกลุ่มเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4