ทักษะวิชาชีพประมง 1

Practical Skills in Fisheries 1

1.1 สามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้
1.2 สามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อนได้
1.3 สามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการการผลิตอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนได้
1.4 สามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้
1.5 เข้าใจวิธีการจัดการบ่อ และพื้นที่ที่ใช้อนุบาลสัตว์น้ำ
2.1 เพื่อให้นักศึกษานำทักษะการปฏิบัติและความรู้ทางด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน การผลิตอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน การจัดการบ่อ และพื้นสำหรับใช้อนุบาลสัตว์น้ำ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการทางการประมง และการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยได้มีการติดตามความก้าวหน้าของเทคนิคสมัยใหม่ และยกตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำทักษะที่ได้จากการฝึกปฏิบัติจริงไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
 
     ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน การผลิตอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน การจัดการบ่อและพื้นที่ที่ใช้อนุบาลสัตว์น้ำ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการทางการประมง การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
3.1 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้อง FS201 โทร 0861011606
3.2 e-mail; junlatat999@hotmail.com เวลา 20.30 - 22.00 น. ทุกวัน
3.3 Facebook : Junlatat keereelang เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
3.4 line : junlatat เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
˜ 1.1 มีคุณธรรม และจริยธรรม
       1.2 มีจรรยาบรรณ
1.2.1 การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย โดย 
       - จะสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
       - นักศึกษาต้องช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จโดยไม่เอาเปรียบเพื่อน
      - การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด        - นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
1.2.2 การมอบหมายงานเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
- ร้อยละ 95 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
- ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและการแสดงออกต่อส่วนรวม
- คุณภาพงานที่ได้รับมอบหมาย
- ความรับผิดชอบต่อข้อตกลงและกฎเกณฑ์ที่กำหนด
- การสังเกตพฤติกรรมในขณะอยู่ในชั้นเรียนหรือทำงานที่ได้รับมอบหมาย
     2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ
š 2.2 มีความรอบรู้
การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion) โดย
- บรรยายประกอบการอภิปรายและมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และนำเสนอ
- การสอนโดยการให้อภิปรายและรายงานผลการผลการปฏิบัติงานเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
- การสอนฝึกปฏิบัติการงานเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
- ทดสอบความเข้าใจโดยการสอบย่อย รวมทั้งทดสอบทักษะการฝึกปฏิบัติงาน
- ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน และรายงานที่นำส่ง
- ประเมินจากการปฏิบัติงานในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ
- การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
 
˜˜  3.1 สามารถคิด วิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ
       3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์
       3.3 ใฝ่รู้ และรู้จักวิธีการเรียนรู้
- การสอนจะเสริมสร้างการใช้ทักษะเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎีอันเป็นแนวทางสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
- โดยการใช้สื่อเป็นวีดีทัศน์และ มอบหมายโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาได้ฝึกหาข้อมูล วิเคราะห์และเข้าใจวิธีแก้ปัญหาโดยอิงบนหลักการและ/หรือทฤษฎีอย่างถูกต้อง
- การฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
- ทดสอบจากการปฏิบัติจริง โดยเน้นทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- การทำรายงานและการนำเสนอผลงาน และการอภิปรายผลงานที่นำเสนอ
- สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจากการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
       4.1 ภาวะผู้นำ
˜ 4.2 มีจิตอาสา และสำนึกสาธารณะ
- มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอในชั้นเรียน และต้องแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจใน การทำงานร่วมกัน
- ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขณำงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน การจัดระบบการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- ประเมินจากความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมในการออกปฏิบัติภาคสนาม
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มจากงานที่ได้รับมอบหมาย
š 5.1 มีทักษะการสื่อสาร
      5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กำหนดให้นักศึกษาอ่านตำรา และบทความทางวิชาการ การจัดทำรายงานให้ใช้หนังสืออ้างอิงหรือฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
- ให้ค้นคว้าในการจัดทำรายงานผ่านฐานข้อมูลหรือวารสารวิชาการ
- ในการนำเสนอรายงานให้นำเสนอผ่านระบบสารสนเทศ (power point)
- การพูดคุยสนทนาโต้ตอบ และอภิปรายซักถามเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มจากงานที่ได้รับมอบหมาย
 
- ประเมินจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย ว่ามีการใช้วารสาร หนังสือ หรือฐานข้อมูลเชิงวิชาการ
- ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
- ประเมินจากการตอบคำถาม จากงานที่ได้รับมอบหมาย หรือการนำเสนอรายงาน
˜ 6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ
- การสอนแบบปฏิบัติ โดยกำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- การฝึกปฏิบัติงานจริง
- ประเมินการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์จริงในภาคสนาม
- ประมิณจากการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG311 ทักษะวิชาชีพประมง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 และ 1.2 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีวินัยและมีความพร้อมเพียงในการร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการแสดงออกต่อส่วนรวม ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1 และ 2.2 ทดสอบความเข้าใจโดยการทดสอบย่อย ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน การตอบคำถาม และรายงานที่นำส่ง สัปดาห์ที่ 5, 7, 12 และ 15 40%
3 3.1, 3.2, 3.3, 4.1., 4.2, 5.1 และ 5.2 ความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักศึกษา ความสามารถในการสืบค้นกรณีศึกษา และการมีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยอยู่บนฐานความรู้ของรายวิชาได้อย่างเป็นระบบ ทุกสัปดาห์ 30%
4 6.1 การมีความกระตือรือร้นในการลงมือปฏิบัติการ และความเข้าใจในการเครื่องมือ และอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างการทำงาน ทุกสัปดาห์ 20%
1.1 โชคชัย เหลืองธุวปราณีต. 2548. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 481 หน้า.
1.2 สุภาพร สุกสีเหลือง. 2550. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ. 312 หน้า.
1.3 เวียง เชื้อโพธิ์หัก. 2542. โภชนศาสตร์สัตว์น้ำ และการให้อาหารสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 255 หน้า.
1.4 วิรัช จิ๋วแหยม. 2544. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ และการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 166 หน้า.
3.1 เอกสารรายงานการวิจัยของกรมประมง
3.2 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น กรมประมง
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรม ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและรายวิชาให้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยดูจาก
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.3 การทวนสอบโดยให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
5.3 การประเมินผลผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ จากแบบทดสอบย่อย เพื่อจะได้ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะสมตามสถานการณ์
5.4 การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา (ใน มคอ.5) เสนอต่อหลักสูตรเพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงในภาคการศึกษาต่อไป