ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ

Signal and Circuits Operational Simulation Laboratory

     1. อธิบายขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมช่วยสำหรับจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
     2. มีทักษะในการปฎิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรมช่วย เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
     3. อธิบายรูปแบบวิธีการสร้างสมการจากคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์และการเชื่อมต่อในระบบ
     4. สร้างสมการของระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์5. แก้ปัญหาเกี่ยวกับสมการพีชคณิตเชิงเส้นและเทคนิคการแก้ปัญหาของเมทริกต์ต่างๆ
     6. เห็นคุณค่าของการมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมและการทำงานเป็นทีม
 
     1. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ โดยการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนของรายวิชาต่อไป
     2. ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการการจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอน
     ปฏิบัติการเกี่ยวกับการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรม เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab เป็นต้น เพื่อทบทวนกฎและทฤษฏีบทของวงจรไฟฟ้า วงจรคัปเปิ้ลสัญญาณ วงจรเรียงกระแส การวิเคราะห์ผลตอบสนองทางเวลาและความถี่ในวงจร RLC วงจรขยายสัญญาณและวงจรกำเนิดความถี่ที่ใช้ทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าและ ออปแอมป์ คุณลักษณะของสัญญาณและวงจรกำเนิดสัญญาณต่าง ๆ การทำสังวัตนาการ (Convolution) การแปลงโดเมนของสัญญาณ
     1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก
     2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
      พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
      1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
      1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
      1.1.3  มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
      1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
      1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
      1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
      1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
      1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
      1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
      1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
      1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
      1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
      1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
      1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
      1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
      1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
      นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
      2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) ของรายวิชา 32013209 ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ ดังนี้
             1. อธิบายขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมช่วยสำหรับจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
             2. มีทักษะในการปฎิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรมช่วย เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
             3. อธิบายรูปแบบวิธีการสร้างสมการจากคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์และการเชื่อมต่อในระบบ
             4. สร้างสมการของระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์
             5. แก้ปัญหาของสมการพีชคณิตเชิงเส้นและเทคนิคการแก้ปัญหาของเมทริกต์ต่างๆ
      2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
      2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
      2.2.1 บรรยาย 
      2.2.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
      2.2.3 สาธิตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์การทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 
      2.2.4 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดของแต่ละบท
      2.2.5 ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรมช่วย
      2.2.6 ปฏิบัติการสร้างสมการของระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์จากคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์และการเชื่อมต่อในระบบ แก้ปัญหาของสมการพีชคณิตเชิงเส้นและเทคนิคการแก้ปัญหาของเมทริกต์ต่างๆ
      2.3.1 ประเมินจากการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 
      2.3.2 ประเมินจากจำนวนผลการปฏิบัติการทดลองและการส่งผลการปฏิบัติงานในระหว่างชั่วโมงเรียน 
      2.3.3 ประเมินจากการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาและขั้นตอนการทดลองของใบงานการทดลอง 
      2.3.4 ประเมินการทดสอบภาคปฏิบัติและ Term Project 
    นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
      3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
      3.1.2 มีทักษะในการนาความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
      3.2.1 มอบหมายการเตรียมตัวในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
      3.2.2 การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
      3.2.3 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา
      3.2.4 มอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติการในใบงานการทดลอง ตั้งแต่ขั้นการทำความเข้าใจใบงานการทดลอง การเตรียมการทดลอง การทดลอง การสรุปผลการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงาน
      3.2.5 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
      3.3.1 สอบย่อย สอบภาคปฏิบัติ  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการใช้งานโปรแกรมช่วยและการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของวงจร การเขียนคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างระบบสมการและการแก้สมการ บรูณาการองค์ความรู้เนื้อหาของรายวิชาปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ 
      3.3.2 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 
      3.3.3 ประเมินผลจากการทำงาน การบ้าน รายงาน การนำเสนอผลงาน 
      3.3.4 ประเมินผลจากการเชื่อมโยงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง 
      3.3.5 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 
      4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
      4.1.2 พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
      4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
      4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
      4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาวิชาในส่วนของการวิเคราะห์วงจรด้วยโปรแกรมช่วย หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
      4.2.2 มอบหมายให้มีการศึกษา ค้นคว้าเนื้อหาเพื่อร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
      4.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาได้มีการปฏิบัติการในใบงานการทดลองทั้งเดี่ยว/คู่ โดยต้องมีการทำความเข้าใจใบงานการทดลอง การเตรียมการทดลองและสรุปผลการทดลอง
      4.2.4 การนำเสนอรายงาน/ใบงานการทดลอง
      4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 
      4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 
      4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการปฏิบัติการทดลอง 
      5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
      5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
      5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
      ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
      5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
      5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
      5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนาเสนอผลงาน
      5.2.4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
      การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
      5.3.1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร 
      5.3.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล 
      5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
      5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล 
      การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จาเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
      6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
      6.1.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
      จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชา  ต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
      6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ผลการวัดและทดสอบจากการจำลองด้วยโปรแกรมช่วย การเขียนคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างระบบสมการและการแก้สมการ
      6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
      6.2.3 สนับสนุนการการทำโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project
      6.3.1 มีการประเมินทักษะด้านต่างๆ ในการปฏิบัติการทดลอง 
      6.3.2 มีการประเมินผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลอง โดยมีการเตรียมการทดลอง การประกอบวงจร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน การวัดและทดสอบวงจรและสรุปผลการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง
      6.3.3 มีการประเมินโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 32013209 ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 5.1, 5.2, 5.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 5%
2 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 5.2 1) การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย 2) การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
3 1.3, 4.1, 4.2, 4.3, 4.4 1) การมีระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียน 2) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2.1, 2.3, 3.1, 4.3 5.2, 6.1, 6.2 1) ผลการเตรียมการทดลอง 2) ผลการปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง 3) การสรุปผลการทดลอง และการอภิปรายผลการทดลอง 4) การอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและบูรณาการความรู้จากการสร้างและทดสอบ Term Project ตลอดภาคการศึกษา, ตลอดภาคการศึกษา, ตลอดภาคการศึกษา, 16 50%, 10:
5 1.3, 2.1, 3.1, 5.2 การส่งใบปฏิบัติการทดลองตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
     1. Cadence Design Systems, Inc., PSpice Schematics: Schematic Capture Software: User’s Guide, 2nd edition, 2000
     2. Cadence Design Systems, Inc., Orcad® Capture: User’s Guide, 2nd edition, 2000
     3. Cadence Design Systems, Inc., PSpice® : User’s Guide, 2nd edition, 2000
     4. OrCAD, Inc., OrCAD PSpice® A/D: User’s Guide, 1st edition, 1998
     5. Paul Tobin, PSpice for Circuit Theory and Electronic Devices, 1st edition, 2007
     6. Robert Boylested and Luis Nashelsky, ELECTRONICS DEVICES AND CIRCUIT THEORY, 8th Edition, 2002
     7. Robert T.Paynter, INTRODUCTORY ELECTRONIC DEVICES AND CIRCUITS, 4th Edition, 1989
     8. Donald A.Neamen, MICROELECTRONICS: CIRCUIT ANALYSIS AND DESIGN, 3rd Edition, 2007
     9. Ali Aminian and Marian Kazimierczuk, Electronic Devices A Design Approach, 2004
     10. Adel S. Sedra and Kenneth C. Smith, Microelectronic Circuits, 4th edition, HRW, 1998, ISBN 0-19-511663-1.
     11. J. Vlach and K. Singhal, Computer Methods for Circuit Analysis and Design, Van Nostrand Reinhold Co., 2nd Edition, 1994
 
     1. http://www.orcad.com/resources/orcad-downloads
     2. http://www.ni.com/multisim/
     3. https://www.youtube.com/watch?v=7ukDKVHnac4
     4. เนื้อหาในหัวข้อที่มอบหมายให้ศึกษาด้วยตนเองที่ผ่านการแนะนำจากผู้สอน
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชาที่จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
     ก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับสาขาวิชา และ/หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา โดยการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
     2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
     หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพรายวิชาและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน
     3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
     ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1 มีการตั้งคณะกรรมการอาจารย์ประจำหลักสูตร  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร  หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1  ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
     5.2  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4