การส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า

Electrical Power Generation Transmission and Distribution

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของระบบไฟฟ้ากำลัง แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า โครงสร้างระบบไฟฟ้ากำลัง คุณลักษณะของโหลด การส่งพลังงานไฟฟ้า อิมพีแดนซ์ของสายส่ง ความสัมพันธ์ระหว่างกระแส และแรงดัน การคงค่าแรงดันไฟฟ้า การส่งผ่านกำลังไฟฟ้าและการสูญเสีย การจ่ายพลังงานไฟฟ้า โครงข่ายระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า การจัดบัสในระบบไฟฟ้า การติดตั้งสายส่งและสายจ่ายอุปกรณ์ ในระบบไฟฟ้ากำลัง มาตรฐานและความปลอดภัย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจทางการส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการนำไปพัฒนา และประยุกต์ใช้งานในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตรกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของระบบไฟฟ้ากำลัง แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า โครงสร้างระบบไฟฟ้ากำลัง คุณลักษณะของโหลด การส่งพลังงานไฟฟ้า อิมพีแดนซ์ของสายส่ง ความสัมพันธ์ระหว่างกระแส และแรงดัน การคงค่าแรงดันไฟฟ้า การส่งผ่านกำลังไฟฟ้าและการสูญเสีย การจ่ายพลังงานไฟฟ้า โครงข่ายระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า การจัดบัสในระบบไฟฟ้า การติดตั้งสายส่งและสายจ่ายอุปกรณ์ ในระบบไฟฟ้ากำลัง มาตรฐานและความปลอดภัย
 - อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาโดยตรงกับผู้เรียนหรือผ่านระบบ Application
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/วันทำการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
มีการทำข้อตกลงและกฎเกณฑ์ในการแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา การมอบหมายแบบฝึกหัด การศึกษาวิชาการและงานวิจัยในสื่อ Online พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน การศึกษากฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานและจรรยาบรรณที่สัมพันธ์กับรายละเอียดเนื้อหาที่สอนตามความที่จำเป็น การมอบหมายการทำงานเป็นกลุ่มในรูปแบบระดมความคิดหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างพื้นฐานนิสัยการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ การสอดแทรกตัวอย่างประกอบในการนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับสังคมและศิลปวัฒนธรรม เช่น บ้าน วัด และสาธารณสถานต่างๆได้อย่างเหมาะสม
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มอบหมาย
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสอนโดยการมอบหมายการศึกษาตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียน โดยให้ผู้เรียนทำการสรุปประเด็นสำคัญและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การเสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับสภาพแวดล้อมที่สมมติ/สภาพภูมิศาสตร์/สภาพแวดล้อมใกล้เคียง
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นาเสนอ
2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และการตอบคำถาม
3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ใช้การสอนแบบมอบหมายงานศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้น พร้อมให้แสดงข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถาม การยกตัวอย่างข้อปัญหาและให้ประมวลความรู้ที่มีในการปรับใช้เพื่อการแก้ประเด็นปัญหา
3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
3.3.2 การเรียบเรียงขั้นตอนและการเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3.3.3 การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
3.3.4 การทดสอบ/การซักถามระหว่างเรียน/การซักถามระหว่างการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การยกตัวอย่างข้อปัญหาจากที่พบในเหตุการณ์จำลองแบบรูปต่างรวมถึงการแก้ไขปัญหาหน้างานระหว่างการมอบหมายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยนำทักษะทางวิชาการ คำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผล ความเหมาะสมต่อสภาพงานพร้อมทั้งให้แสดงความเห็นประกอบ
การประเมินผลจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงาน ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา การมีจรรยาบรรณและมารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ความสามารถในการถ่ายทอดหรือแนะนำผู้อื่น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 32022312 การส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 18 60%
2 1.2, 1.3, 5.2 รายงาน (ส่วนของการแนวทางงานวิจัยมาปรับใช้) การส่งงานตามที่มอบหมาย พฤติกรรมภายในและภายนอกห้องเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.3, 2.1, 2.2, 2.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน (ส่วนของการแนวทางงานวิจัยมาปรับใช้) ตลอดภาคการศึกษา 20%
- ดร.ชัด  อินทะสี. “การส่ง และจ่ายกำลังไฟฟ้า”
- โตศักดิ์  ทัศนานุตริยะ. “การผลิต การส่ง และจ่ายไฟฟ้า”
- Electrical Transmision and Distribution Reference Book
- Anthony J.Pansini. “Electrical Distribution Engineering”, 3rd Edition
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.1 แบบสอบถามประสิทธิผลรายวิชาโดยผู้เรียน
1.2 แบบประเมินความเห็นการแสดงออกทักษะของเพื่อนในชั้นเรียนในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ภายนอกห้องเรียน
2.1  แบบประเมินการสังเกตการณ์และการสอนของอาจารย์ โดยผู้บริหารหลักสูตร และ/หรือตัวแทนอาจารย์ประจำหลักสูตร และ/หรือ กรรมการประเมินผลการสอน
2.2  การสำรวจโดยแบบประเมินผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเทอม โดยผู้เรียน
2.3  แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนในระบบทะเบียนกลาง
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการสรุปข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานแนวทางการปรับปรุงใน มคอ.5
4.1. แบบประเมินความเห็นการแสดงออกทักษะของผู้เรียนภายหลังการเรียนการสอนในชั้นเรียน
4.2. การประเมินความสอดคล้องระหว่างแนวทางการวัดและประเมิลผล มาตรฐานการเรียนรู้ และคำอธิบายรายวิชา
4.3 แบบสอบถาม/การสัมภาษณ์ คณาอาจารย์และผู้เกี่ยวข้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ และผลลัพธ์ที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาของผู้เรียนที่แสดงออก
ผู้สอนสรุปผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อรายงานอาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงใน แบบ มคอ.7