คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน

Mathematics and Statistics in Daily Life

1.1  เพื่อให้มีทักษะกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ตรรกศาสตร์
1.2  เพื่อให้มีทักษะการคิดและคำนวณทางคณิตศาสตร์การเงิน
1.3  เพื่อให้มีทักษะการคิดและคำนวณเบี้ยประกัน
1.4  มีทักษะในการสืบค้นข้อมูล  เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  และแปลความหมาย
1.5  สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
1.6  สามารถนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และสถิติได้
นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติ มาช่วยในการตัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพได้  รวมถึงฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินโดยใช้ตรรกศาสตร์  คณิตศาสตร์การเงินและเบี้ยประกัน นำความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และสถิติ
Study about decision making process by using logic, financial mathematics and insurance premium ; use the knowledge of mathematics and statistics in daily life ; and use computer program for data processing in mathematics and statistics.
3 ชั่วโมง / สัปดาห์  โดยนักศึกษาสามารถมาขอคำปรึกษาได้ในวันพุธ  เวลา 15.00 – 18.00 น.
1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1  ให้ความสำคัญในวินัย  การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.2  สอดแทรกการมีจิตสำนึกสาธารณะระหว่างการเรียนการสอน เช่น การรักษาความสะอาดห้องเรียน
1.2.3  ยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม  และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
1.2.4  ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนและนักศึกษาเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ในชั้นเรียน
1.3.1  ให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และคะแนนความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินโดยใช้ตรรกศาสตร์  คณิตศาสตร์การเงินและเบี้ยประกัน นำความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และสถิติ
2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1  ใช้การสอนหลายรูป เช่น แบบบรรยาย อภิปรายในชั้นเรียน กรณีศึกษา 
2.2.2  ให้นักศึกษาสืบค้นตัวอย่างการนำความรู้ในวิชาไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม  พร้อมทั้งสรุปและนำเสนอ
2.2.3  วิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
2.3.1  การทดสอบย่อย  ทดสอบกลางภาค  ทดสอบปลายภาค
2.3.2  พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย
2.3.3  พิจารณาให้คะแนนจากการนำเสนองาน   
3.1.1  มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2.1  บรรยาย อภิปรายในชั้นเรียน การสอนแบบตั้งคำถาม  การสอนแบบกรณีศึกษา
3.2.2  ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์  พร้อมทั้งสรุปและนำเสนอ
3.3.1  การทดสอบย่อย  ทดสอบกลางภาค  ทดสอบปลายภาค
3.3.2  พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย
3.3.3  พิจารณาให้คะแนนจากการนำเสนองาน   
4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1  มอบหมายงานเป็นกลุ่ม  โดยให้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำ  และผู้นำเสนอ
4.2.2  ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.3  ส่งเสริมการเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
4.3.1  พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย
4.3.2  พิจารณาให้คะแนนการจากนำเสนองาน
4.3.3  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานเป็นกลุ่ม
5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1  มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2  กำหนดให้นักศึกษานำเสนองาน  โดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเนื้อหา
5.3.1  พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย
5.3.2  พิจารณาให้คะแนนจากการนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.3  มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าเนื้อหาที่เรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSC101 คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4 - มารยาทและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - พฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2 การทดสอบ - การทดสอบย่อย - สอบกลางภาคเรียน - สอบปลายภาคเรียน 2,5,13 9 18 20% 20% 20%
-
กมล เอกไทยเจริญ. คณิตศาสตร์ ม.6 . กทม. ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด . 2521
กัลยา วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ กทม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539
ผ่องศรี คุ้มจอหอ, พัศนีย์ พันตา และลำดวน ยอดยิ่ง . สถิติธุรกิจ . กทม. สำนักพิมพ์เอมพันธ์. 2540
ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. หลักสถิติเบื้องต้น. กทม. สุวีริยาสาส์น ,2539
 บทความเกี่ยวกับสถิติ  จากเวบไซต์ต่างๆ และอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบการประเมิน  ระบบสารสนเทศ  และ/หรือ ระบบการเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
- การประเมินการสอน สอดคล้องกับวิธีการสอน และวิธีประเมินการสอนที่ปรากฏในหมวด 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
- จำนวนหรือร้อยละของผู้เข้าเรียนแต่ละคาบ และการสังเกตพฤติกรรม
- คำถาม หรือแบบทดสอบ ผลการเรียนรู้ ทั้งห้าด้าน
การปรับปรุงการสอนในภาคการศึกษา 1/2561 นี้ ได้ปรับการเรียงลำดับเนื้อหา โดยให้เรียนเนื้อหาส่วนสถิติก่อน เพื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการนำไปใช้ในการเรียนเรื่องคณิตศาสตร์การเงินได้ ทั้งนี้การปรับปรุงการสอนจะกระทำทุกปีการศึกษา โดยพิจารณาจากผลประเมินรายวิชาโดยผู้เรียน และผลประเมินการสอนและปัจจัยอื่นๆ  โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ซึ่งได้แก่ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษามีการดำเนินการทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน ในเรื่องต่อไปนี้
- ทวนสอบจากการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน
- การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ที่ได้เรียนผ่านไปแล้ว
จากผลการประเมินและการทวนผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดรายวิชา  โดยมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุก 5 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา