การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี

Business Finance for Accountant

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายในการบริหารการเงิน
2. มีความรู้ในหลักการบริหารงานการเงินที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน นโยบายเงินปันผล
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพของการบริหารเงินทุน การวางแผนทางการเงิน และการวิเคราะห์ทางการเงิน
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางการเงิน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ความ
เข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันได้
2. อธิบายความสำคัญของการบริหารการเงินได้ในระดับเหมาะสม
3. อธิบายเป้าหมายและเทคนิคการวิเคราะห์การจัดการทางการเงินธุรกิจได้
4. สามารถวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินและนำไปอธิบายเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานอุตสาหกรรม
ของแต่ละธุรกิจได้เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ทางการเงินของกิจการนั้นได้
5. สามารถวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบัน มูลค่าอนาคต และคำนวณดอกเบี้ยได้ทุกกรณี
6. สามารถพยากรณ์ทางการเงิน และจัดทำงบประมาณเงินสดได้อย่างถูกต้อง
7. สามารถวิเคราะห์งบประมาณลงทุนและตัดสินใจสำหรับการจ่ายเงินลงทุนของกิจการได้
8. สามารถจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนได้อย่างถูกต้อง
9. สามารถอธิบายโครงสร้างทางการเงินได้อย่างถูกต้อง
ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่างๆ เทคนิคในการวิเคราะห์การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจต้นทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุน นโยบายเงินปันผล
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 4
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการการเงิน
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการเงิน โดย สามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการเงินและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.1.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2.2.2 การถาม – ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
2.2.4 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การ ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ
2.3.2 การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
2.3.3 การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
2.3.4 การประเมินความรู้ของบัณฑิต โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการเงินและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาการตัดสินใจ
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.2.2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มาขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3.3.3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางการเงินของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อย โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านการเงิน โดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.2.3 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม
4.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5.2.3 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
5.2.4 มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.2 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC122 การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3,4 9 11,15 18 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 3,4 10 11,15 18 20% 25% 20% 25%
2 ทุกสัปดาห์ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา และการถาม – ตอบ ทุกสัปดาห์ 10%
ผศ.ดร.เพ็ญพิมล ลีโนทัย. การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2558.
การเงินธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ฐาปนา ฉิ่นไพศาล
การเงินธุรกิจ โดย นภาพร นิลาภรณ์กุล และคณะ
การเงินธุรกิจ โดย อภิชาติ พงศ์สุพัฒน์
- Power Point Slide ประจำบทเรียน
- www.Fab.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี
- www.nukbunchee.com เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม
- www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- www.rd.go.th กรมสรรพากร
- www.dpd.go.th กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- www.financial online.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ