การทำความเย็นและปรับอากาศ 1

Refeigeration and air - Conditioning

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานทางเทอร์โมไดนามิกส์ การทำความเย็นแบบอัดไอ วัฏจักร การทำความเย็นแบบอัดไอ คุณสมบัติของอากาศและกระบวนการปรับอากาศ อุปกรณ์ในระบบทำความเย็น สารทำความเย็น ภาระของการทำความเย็น
- เป็นรายวิชาที่ยังไม่เคยเปิดสอนโดยผู้สอนจึงยังไม่มีการพัฒนาปรับปรุง -
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานทางเทอร์โมไดนามิกส์ การทำความเย็นแบบอัดไอ วัฏจักร การทำความเย็นแบบอัดไอ คุณสมบัติของอากาศและกระบวนการปรับอากาศ อุปกรณ์ในระบบทำความเย็น สารทำความเย็น ภาระของการทำความเย็น
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความรับผิดชอบ ต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ ตลอดจนมีวินัย ความขยันอดทน การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) ปลูกฝังให้นักศึกษาให้ยึดถือ และนำจรรยาบรรณทางวิชาการ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่ได้นำไปใช้งาน
2) ปลูกนักศึกษาให้เป็นผู้มีวินัย ขยันอดทน การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2 วิธีการสอน
บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง เกี่ยวกับประเด็นทางด้านจรรยาบรรณทางวิชาการ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่สามารถพบได้สังคม และการทำงานปัจจุบัน
1) ทำรายงาน
2) การยกตัวอย่างโดยการแทรก
1.3 วิธีการประเมินผล
1) พฤติกรรมการเข้าเรียน พฤติกรรมในห้องเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงเวลา
2) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
3) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
1) มีความรู้ และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย การทำงานเดี่ยว การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล
1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ และทฤษฏี
2) ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
1) พัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ และความเขาใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2) พัฒนาทักษะของนักศึกษาให้เป็นผู้ใฝ่การเรียนรู้ และติดตามความกาวหน้าทางวิชาการ และเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งข้อมูลความรู้ออนไลน์
     3.2 วิธีการสอน
          1)  การมอบให้นักศึกษานำเสนอแนวความคิด และปัญหาที่สนใจ
          2)  มอบหมายให้นักศึกษาทำการค้นคว้าเทคโนโลยีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิชานี้ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
          3)  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติกรรมการสอบถาม และการตอบคำถามนะหว่างเรียน
     3.3 วิธีการประเมินผล
         1)  ทดสอบภายหลังจบรายหน่วย  โดยเน้นข้อสอบที่มีการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการเรียน
         2)  ประเมินผลงานจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย
         3)  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาจากการตอบคำถาม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
1) พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2) พัฒนาความเป็นผู้นำ และผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3) พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่มอบหมาย เพื่อนำเสนอผลที่ได้
4) พัฒนาการนำความรู้ที่ได้ในห้องเรียน นำไปใช้แก้ไขปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
1) จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้เรียน และการระดมความคิดเป็นกลุ่ม เพื่อถ่ายทอดข้อมูลการสังเคราะห์ผลที่ได้
2) จัดให้มีการนำเสนอผลงานภายในห้องเรียน
3) มอบหมายประเด็นปัญหาให้นักศึกษามีการค้นคว้า หาแนวทางแก้ไขปัญหา และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปผล
4.3 วิธีการประเมินผล
1) ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
2) ประเมินจากพฤติกรรมการระหว่างการเข้าร่วม และความสนใจ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
1) ทักษะในการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหา
5.2 วิธีการสอน
1) มอบหมายงานหัวข้อ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และงานวิจัยที่น่าสนใจ ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยให้นำเสนอผ่านการทำเล่มรายงานพร้อมการนำเสนอความคิดสนับสนุน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.3 วิธีการประเมินผล
1) ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2) ประเมินจากการสอบข้อเขียนทางด้านการพัฒนาทางความคิด จากโจทย์ปัญหาที่สมมุติ
 
6.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
1) ทักษะในการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหา
2) ทักษะในการออกแบบ วิเคราะหปญหา และประยุกต์ความรู้เพื่อการทำงานทางวิศวกรรมไฟฟ้า หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
6.2 วิธีการสอน
1) มอบหมายงานหัวข้อ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และงานวิจัยที่น่าสนใจ ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยให้นำเสนอผ่านการทำเล่มรายงานพร้อมการนำเสนอความคิดสนับสนุน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
6.3 วิธีการประเมินผล
1) ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2) ประเมินจากข้อมูลที่ใช้ตอบคำถามจากโจทย์ปัญหาที่สมมุติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 (ข้อ 1 และ 2), 2.1 (ข้อ 1 และ 3), 3.1 (ข้อ 1), 4.1 (ข้อ 4), 5.1 (ข้อ 1), 6.1(ข้อ 2) สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 35%, 35%
2 1.1 (ข้อ 1 และ 2), 2.1 (ข้อ 1 ถึง 3), 3.1 (ข้อ 2), 4.1 (ข้อ 1 ถึง 4), 5.1 (ข้อ 1), 6.1(ข้อ 1 และ 2) การนำเสนอผลการศึกษา และการตอบคำถาม การส่งงานตามที่มอบหมาย ทุกสัปดาห์ 20%
3 .1 (ข้อ 1 และ 2), การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ผศ. ชูชัย ต.ศิริวัฒนา. “การทำความเย็น และการปรับอากาศ”. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน. “คู่มือกาพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติ ด้านเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศ”. กรุงเทพ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
- กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมร้อนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
- ชุดควบคุมการระบายความร้อนที่คอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศโดยโปรแกรมอาดูโน่
- Wind Turbine Generator from Condenser Unit Split Type Air Conditioner
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ