วิศวกรรมการแปรรูปอาหาร

Food Process Engineering

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารทางอุตสาหกรรม           
1.2 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงหลักการและวิธีการในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารที่เป็นแนวใหม่ในระดับอุตสาหกรรม รวมถึงได้แนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารใหม่ๆ ในระดับชุมชนจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ และทักษะทางวิชาชีพเชิงปฏิบัติการเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และนวัตกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบันมากขึ้น
กระบวนการให้ความร้อนกับอาหาร คลอบคลุมการทำอาหารกระป๋อง การทำแห้งอาหาร การแช่เยือกแข็งอาหาร กระบวนการแยกด้วยการสัมผัสสมดุล การแยกด้วยเมมเบรน การแปรรูปโดยการบีบอัดผ่านช่องทางที่มีขนาดจำกัดและมี รูปทรงจำเพาะ เทคโนโลยีการแปรรูปอื่นๆ  เช่น การให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟการให้ความร้อนแบบโอมมิค การแปรรูปภายใต้ความดันสูง อายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอนโดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) : ทุกวันจันทร์และวันศุกร์ของสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีจิตสาธารณะ ช่วยเหลือผู้อื่น
1.1.2 มีจรรยาบรรณในวิชาการที่ได้รับ และวิชาชีพของตนเมื่อจบการศึกษา
1.1.3 มีวินัย  ขยัน อดทนตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 เน้นย้ำให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ให้การเข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2.2 เน้นย้ำกับนักศึกษาเรื่องการแต่งกายให้ตรงระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
1.2.4 ยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ จากประสบการณ์การทำงาน พร้อมแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวที่ดีในสังคมของการทำงาน
1.3.1 คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตในงานที่ได้รับมอบมาย และการสอบถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสม
1.3.4 ผลการทดสอบทางภาคทฤษฎี และการปฏิบัติการ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 การสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีการให้ผู้เรียนได้ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ มานำเสนอระหว่างการเรียนการสอนและการทำรายงานด้วยการค้นคว้าทางสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
2.2.2 การสอนด้วยวิชาปฏิบัติในเนื้อหากระบวนการแปรรูปอื่น ควบคู่ไปการเรียนการสอนภาคทฤษฎีโดยปฏิบัติการจะจำลองจากระบบการทำงานในอุตสาหกรรม และมีการศึกษาดูงานในอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องในรายวิชา เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้เรียน
2.3.1   ประเมินจากแบบทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและ สอบปลายภาค
2.3.2 ประเมินจากการฝึกปฏิบัติ ทำรายงานการฝึกปฏิบัติ การตอบคำถามระหว่างการปฏิบัติ และการนำเสนองานหลังจากการฝึกปฏิบัติ โดยการตอบคำถาม การนำเสนอต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้องตามหลักการและงานที่ฝึกปฏิบัติ
2.3.3   ประเมินจากการทำปฏิบัติการ และการทำรายงานผลการทดลองวิชาปฏิบัติการโดยในรายงานต้องประกอบไปด้วยหัวข้อตามที่กำหนด และมีการสรุปวิเคราะห์ผล นำเสนอการวิจารณ์ผล ข้อคิดเห็นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3.1.1    มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2    มีทักษะในการนําความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา และ โจทย์จากสถานประกอบการจริงหรือใกล้เคียง
4.1.1     มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2     มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม
4.1.3     สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4     สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์กำหนดบทบาทในการทำงาน และให้นำเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ความเห็นกับผลงานของคนอื่น หรือกลุ่มอื่น
4.3.1   ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
4.3.4   ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
5.1.1   เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2   สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3   ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
6.1.1 นักศึกษามีการพัฒนาทางด้านร่างกาย สุขภาพแข็งแรง
6.1.2 นักศึกษามีพัฒนาการด้านระบบต่างๆของร่ายกาย
6.1.3 นักศึกษามีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
6.2.1 ใช้การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ทุกคาบเรียน
6.2.2 มีการสอดแทรกการสอบถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.2.3 ,uการแนะนำเรื่องบุคลิกภาพในการนำเสนองานกับนักศึกษาทุกครั้งที่มีการนำเสนอผลงาน
6.3.1 ประเมินผลจากประสิทธิภาพในการปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสม
6.3.2 ประเมินผลจากความสามารถและไหวพริบของนักศึกษาในการตอบคำถามและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
6.3.3 6.3.3 ประเมินจากบุคลิกภาพที่นักศึกษาแสดงออกมาระหว่างการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3.
1 52011308 วิศวกรรมการแปรรูปอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 ,2.1, 3.1, 4.1, 5.1 สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 4 9 14 18 50
2 1.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5
3 3.1, 5.1 งานกลุ่ม (การนำเสนอการศึกษาดูงาน) ตลอดภาคการศึกษา 10
4 2.1, 5.1 - รายงานผลการปฏิบัติการ - การทำปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 25
5 1.1 ทักษะการปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 10
วิไล รังสาดทอง. 2543. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. นนทบุรี
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2544. หลักการแปรรูปอาหารเบื้องต้น.โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพฯ
คณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2543. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. ISBN 974-553-767-5
P.G. Smith, “Introduction to Food Process Engineering”, 2nd Edition, Springer New York Dordrecht Heidelberg, London, 2011.
ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
https://www.researchgate.net/publication
http://www.foodnetworksolution.com
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษาและผลสอบ
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษารวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา