ศิลปะแนวทดลอง

Experimental Art

ศึกษาและปฏิบัติการค้นคว้าทดลองทางทัศนศิลป์ การใช้วัสดุและวิธีการต่างๆ มาสร้างสรรค์ศิลปะ การผสมผสานวิธีการทางจิตรกรรม ประติมากรรม หรือภาพพิมพ์ การเน้นการสอดคล้องกันทางรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิคที่แสดงออก มีการกำหนดแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาทางกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน และเป็นผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดรูปแบบ พร้อมทั้งกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะผ่านเทคนิคให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ และเข้าใจในตัววัสดุเป็นอย่างดี
ปฏิบัติการค้นคว้าทดลองทางทัศนศิลป์ การใช้วัสดุ และวิธีการต่างๆ มาสร้างสรรค์ศิลปะ การผสมผสานวิธีการทางจิตรกรรม ประติมากรรม หรือภาพพิมพ์ การเน้นความสอดคล้องกันทางรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิคที่แสดงออก มีการกำหนดแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาทางกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน และเป็นผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะ
Practice and experimentation with printmaking techniques , focusing on the creation process.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
š ข้อ 1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม š ข้อ 2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ˜ ข้อ 3มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอนและประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
˜ ข้อ 1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง š ข้อ 2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ š ข้อ 3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม   ข้อ 4 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ในด้านต่าง ๆ คือ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
5. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
6. ประเมินจากแผนการดำเนินงานศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ
7. ประเมินจาการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการณ์
  ข้อ 1 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )   ข้อ 2 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )   ข้อ 3 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) š ข้อ 4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
  ข้อ 1 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) š ข้อ 2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง   ข้อ 3 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
ข้อ 1 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) ข้อ 2 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) ข้อ 3 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูลการนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องจากการใช้ข้อมูลตัวและเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
  ข้อ 1 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )   ข้อ 2 ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) ˜ ข้อ 3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BFAVA120 ศิลปะแนวทดลอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 การประเมินย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค การประเมินย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 20% 10% 20% 10%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 ประเมินสรุปทุกชิ้นผลงาน วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานและผลงาน การส่งผลงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วาดเส้นด้วยดินสอ พิษณุ ประเสริฐผล 2549 กทม.  วาดเส้นพื้นฐาน วัชรพงษ์ หงส์สุวรรณ สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2552 กทม.  ประวัติศาสตร์ประติมากรรม ประเสริฐ วรรณรัตน์ สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2552 กทม.  ประติมากรรมหิน สุชาติ เถาทอง สำนักพิมพ์เกรทไฟน์อาร์ท 2549 กทม.  องค์ประกอบศิลปะ.ชลูด นิ่มเสมอ,กรุงเทพ:ไทยวัฒนาพานิช. 2531  ความรู้เกี่ยวกับศิลปะภาพพิมพ์.อัศนีย์ ชูอรุณ,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.:กรุงเทพ.2543
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. ผลงานการสร้างสรรค์
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การตรวจสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ ผลงานสร้างสรรค์ วิธีการให้คะแนนผลงาน และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาจากภายนอกสถาบัน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากผลงาน และข้อมูลการค้นคว้า