ศิลปะภาพพิมพ์ 5

Printmaking 5

 
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดโครงการเฉพาะตนทางศิลปกรรม วิชาเอกศิลปะภาพพิมพ์ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ระบบและขั้นตอนการทำงานและการนำเสนอผลงานศิลปะภาพพิมพ์ได้เป็นอย่างดี นักศึกษาสามารถค้นคว้า คลี่คลายหาแนวทางการแก้ปัญหาในกระบวนการทางศิลปะด้วยตัวเองประกอบด้วยภาคผลงานและภาคเอกสารการสร้างสรรค์ผลงานตามระเบียบปฏิบัติของการทำศิลปนิพนธ์ทางศิลปกรรมและการจัดนิทรรศการศิลปนิพนธ์ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และเห็นคุณค่าความงามเฉพาะตัวในผลงานศิลปะภาพพิมพ์ที่สร้างสรรค์
 
 
เพื่อปรับปรุงและปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามยุคตามสมัยในสังคมโลกแต่ยังคงสอดแทรกศิลปวัฒนธรรมของชาติ
ทำการค้นคว้าวิจัยและปฏิบัติในโครงการที่นักศึกษานำเสนอให้เข้าใจและแสดงออกถึงความสัมพันธ์กันในรูปแบบเนื้อหาจนถึงเทคนิควิธีการอันบ่งบอกถึงความรู้ ความชำนาญทางเทคนิคจนลักษณะเฉพาะตน
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะและเว็บไซต์เอกชน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2 ชั่วโมง/สัปดาห์ เฉพาะรายที่ต้องการขอคำปรึกษาหรือนักศึกษาที่มีปัญหา
พัฒนาผู้เรียนให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักในคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริตมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อีกทั้งยังให้มองเห็นคุณค่าในอาชีพทางศิลปะ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาในตัวบุคคลเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นในวงการศิลปะภาพพิมพ์
1.3.1. พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 
1.3.2. มีการจัดทำผลงานอย่างถูกต้องมอบหมายงานและเหมาะสมสมบูรณ์
มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ในแนวทางเฉพาะตน ทั้งในส่วนวิธีคิดในการสร้างรูปแบบ การลงมือปฏิบัติงาน ที่จะต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์
 
2.2.1.การบรรยายประกอบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจากแฟ้มภาพของผู้สอนหรือแฟ้มข้อมูลทางสื่อระบบออนไลน์และผลงานตัวอย่างในแต่ละเทคนิคทางกระบวนการภาพพิมพ์
2.2.2.การนำนักศึกษาไปศึกษาข้อมูลจากหอนิทรรศการศิลปกรรม โดยศึกษาผลงานศิลปินภาพพิมพ์ในเรื่องของเทคนิคทางศิลปะภาพพิมพ์
 
 
ประเมินจากการนำเสนอผลงานโดยดูทั้งเนื้อหาแนวทางเฉพาะตน รูปแบบผลงานในด้านทัศนธาตุองค์ประกอบศิลป์และความสมบูรณ์ทางเทคนิคภาพพิมพ์ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นเอกภาพ รวมถึงการนำเสนอผลงานทั้งที่เป็นงาน 2 มิติ , 3 มิติ หรือ ดำเนินการเป็น


2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ในแนวทางเฉพาะตน ทั้งในส่วนวิธีคิดในการสร้างรูปแบบ การลงมือปฏิบัติงาน ที่จะต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างสรรค์ผลงาน
 
2.2 วิธีการสอน
ใช้การบรรยายประกอบภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวจากแฟ้มภาพของผู้สอน,แฟ้มภาพทางสื่อระบบออนไลน์และผลงานตัวอย่างในแต่ละเทคนิคทางกระบวนการภาพพิมพ์
 
2.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินจากการนำเสนอผลงานโดยดูทั้งเนื้อหาแนวทางเฉพาะตน รูปแบบผลงานในด้านทัศนธาตุองค์ประกอบศิลป์และความสมบูรณ์ทางเทคนิคภาพพิมพ์ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นเอกภาพ รวมถึงการนำเสนอผลงานทั้งที่เป็นงาน 2 มิติ , 3 มิติ หรือ ดำเนินการเป็นโครงการ
2.3.1.ประเมินผลจากผลงาน 1 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 ชิ้นหรือ 1 โครงการ
2.3.2.ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการเข้าฟังการบรรยายแต่ละสัปดาห์
2.3.3.ประเมินผลจากการมีความรับผิดชอบในการใช้ห้องปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น
 


 
พัฒนาความสามารถในกระบวนการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานทั้งในส่วนของการสร้างภาพร่างและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตลอดจนการจัดลำดับการทำงานให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด
ให้นักศึกษาอภิปรายกลุ่มและวิเคราะห์ผลงานในแต่เทคนิค ว่ามีข้อดีและเหมาะสมกับรูปแบบตลอดจนเนื้อหา
ประเมินจากการนำเสนอหัวข้อผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานและการดำเนินการ อธิบายตอบคำถามในประเด็นการสร้างสรรค์ผลงานทั้งทางด้านกระบวนความคิดและกระบวนทางเทคนิคที่นำเสนอว่านักศึกษามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดและสามารถสร้างสรรค์ผลงานในเทคนิคภาพพิมพ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับหัวข้อที่นำเสนอไว้หรือไม่
4.1.1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2. พัฒนาการทำงานเป็นทีม
4.1.3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1.บรรยายหน้าชั้นเรียนทั้งกลุ่ม และ บรรยาย วิเคราะห์ผลงานในรายบุคคล
4.2.2.จัดกิจกรรมกลุ่มในการสร้างสรรค์ผลงานโดยการให้บริหารจัดการวัสดุ-อุปกรณ์ร่วมกันอย่างมีระบบ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มได้
4.3.1. ประเมินจากผลงานที่นำเสนอตลอด ภาคการศึกษา
4.3.2. พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3. พฤติกรรมการทำงานในห้องปฏิบัติงานทั้งในเวลาและนอกเวลาเรียน
4.3.4. ประเมินจากรการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ทางด้านศิลปะภาพพิมพ์ด้วยตนเอง
5.1.1.พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานงานศิลปะเช่น รูปแบบต่างๆรวมถึงทัศนธาตุในผลงานจากทางสื่อออนไลน์
5.1.2.ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การสืบค้นข้อมูลรูปภาพและข้อมูลด้านศิลปะที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลในการสร้างผลงานเฉพาะตน
5.1.1. อธิบายและวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนที่นำเสนอโดยภาพรวมและวิเคราะห์รายบุคคลด้วยระบบออนไลน์
5.1.2.แนะนำให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่างๆในวงการศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานศิลปะภาพพิมพ์ในรายบุคคล
5.3.1.ประเมินผลจากวิธีการนำเสนอผลงานศิลปะภาพพิมพ์ในเทคนิคที่สอดคล้องกับแนวความคิด
5.3.2.ประเมินผลจากทักษะทางเทคนิคภาพพิมพ์ในแนวทางเฉพาะตน
5.3.3.ประเมินจากการเข้าฟังบรรยายในแต่ละสัปดาห์
6.1.1.  นักศึกษามีความเข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ในเทคนิคเฉพาะตนนักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ได้ตามหัวข้อที่เสนอไว้
6.1.2. นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ได้ตามหัวข้อที่เสนอไว้
6.1.3.  นักศึกษามีจิตพิสัยที่ดีในการปฏิบัติงานและการใช้ห้องปฏิบัติงาน
 
ใช้การบรรยายประกอบภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวจากแฟ้มภาพของผู้สอน,แฟ้มภาพทางสื่อระบบออนไลน์และผลงานตัวอย่างในแต่ละเทคนิคทางกระบวนการภาพพิมพ์
 
ประเมินจากการนำเสนอผลงานโดยดูทั้งเนื้อหาแนวทางเฉพาะตน รูปแบบผลงานในด้านทัศนธาตุองค์ประกอบศิลป์และความสมบูรณ์ทางเทคนิคภาพพิมพ์ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นเอกภาพ รวมถึงการนำเสนอผลงานทั้งที่เป็นงาน 2 มิติ , 3 มิติ หรือ ดำเนินการเป็น


ประเมินจากการนำเสนอผลงานโดยดูทั้งเนื้อหาแนวทางเฉพาะตน รูปแบบผลงานในด้านทัศนธาตุองค์ประกอบศิลป์และความสมบูรณ์ทางเทคนิคภาพพิมพ์ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นเอกภาพ รวมถึงการนำเสนอผลงานทั้งที่เป็นงาน 2 มิติ , 3 มิติ หรือ ดำเนินการเป็นโครงการ
6.3.1. ประเมินผลจากผลงาน 1 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 ชิ้นหรือ 1 โครงการ
6.3.2.ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการเข้าฟังการบรรยายแต่ละสัปดาห์
6.3.3.ประเมินผลจากการมีความรับผิดชอบในการใช้ห้องปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.1,4,5,6 -การปฏิบัติงานสร้างสรรค์ตามจำนวนชิ้นงานที่กำหนด -การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์จำนวน6 หรือ 1 โครงการ -การนำเสนอภาคเอกสารประกอบผลงานสร้างสรรค์ ตลอดภาคการศึกษา โดยเก็บข้อมูลไว้เป็นระยะๆ 80%
2 1.1 – 1.7, 3.1,4.1,5,6 -การเข้าชั้นเรียน -การส่งงานตามที่มอบหมาย -การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา โดยเก็บข้อมูลในแต่ละครั้งที่มีการเรียนการสอนโดยการสังเกตจากจิตพิสัยในรายบุคคล 20%
1.1 ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบศิลป์.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2531
1.2 หนังสือที่เกี่ยวข้องกับผลงาศิลปกรรมในกระบวนการเทคนิคทางภาพพิมพ์ อาทิ ภาพพิมพ์โลหะ ภาพพิมพ์หิน ภาพพิมพ์แกะไม้เป็นต้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.3 วารสารทางศิลปกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ วารสาร FINE ART และ Art in America เป็นต้น 
1.4 สูจิบัตรผลงานศิลปินภาพพิมพ์และนิทรรศการศิลปกรรมในกระบวนการทางภาพพิมพ์ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ สูจิบัตรงานภาพพิมพ์นานาชาติประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีและโปแลนด์ เป็นต้น
ไฟล์รูปภาพสไลด์โชว์ตัวอย่างผลงานทัศนศิลป์ ในกระบวนการศิลปะภาพพิมพ์ในแต่ละประเภท อาทิ ภาพพิมพ์ 2 มิติ ภาพพิมพ์ 3 มิติ และ ภาพพิมพ์ในแนวอินสตอลเลชั่นอาร์ท เป็นต้น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชาศิลปะภาพพิมพ์ 5 อาทิเช่น
www.rama9art.org
 
www.art.com
 
www.labiennale.org
 
www.singaporebiennale.org
 
www.biennialfoundation.org
 
www.bacc.or.th
 
www.gettyimages.com
 
www.art.com 
 
www.mot-art-museum.jp 
 
www.artinamericamagazine.com
 
www.asianartnews.com
 
เป็นต้น
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดตามที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาในระบบออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 การศึกษาดูงานผลงานศิลปะภาพพิมพ์จากศิลปินภาพพิมพ์ที่นำผลงานมาจัดแสดงนิทรรศการที่หอศิลป์และสัมนานอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาที่ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการสร้างสรรค์ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจประเมินผลงานสร้างสรรค์ รายงาน การนำเสนอผลงาน  และการให้คะแนนพฤติกรรมในลักษณะจิตพิสัยในการเข้าชั้นเรียน
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ ในสาขา