ออกแบบเครื่องเรือน 3

Furniture Design 3

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ รูปแบบและลักษณะการใช้งานของเครื่องเรือนประเภทติดตั้งถาวร
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวความคิดขั้นตอนการออกแบบ และประโยชน์ใช้สอยของเครื่องเรือนประเภทติดตั้งถาวร
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการจัดวางตำแหน่งของเครื่องเรือนที่สัมพันธ์กับการใช้ เนื้อที่ และขนาดสัดส่วนของเครื่องเรือนกับการใช้งานของมนุษย์
1.4 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจวัสดุ อุปกรณ์ โครงสร้าง กรรมวิธีการผลิต และการตกแต่งผิว สำหรับงานเครื่องเรือนประเภทติดตั้งถาวร
1.5 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการออกแบบ การแสดงแบบเครื่องเรือนประเภทติดตั้งถาวร และการทำหุ่นจำลอง
ปรับให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับอุดมศึกษา และคำอธิบายรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิต
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะการใช้งานของเครื่องเรือนประเภทติดตั้งถาวร แนวความคิด ขั้นตอนการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย  การจัดวางตำแหน่งของเครื่องเรือนที่สัมพันธ์กับการใช้เนื้อที่  สัดส่วนของเครื่องเรือนกับการใช้งานของมนุษย์ วัสดุ อุปกรณ์ และโครงสร้าง กรรมวิธีการผลิต การตกแต่งผิว การแสดงแบบเครื่องเรือน และการทำหุ่นจำลอง
2 ชั่วโมง/คน/สัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ เคารพในสิทธิของข้อมูลจากแหล่งที่ข้อมูล โดยอ้างอิงถึงผู้เขียน หรือ ภาพถ่ายที่นำมารายงาน
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าคุณธรรม และจริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างสอดแทรกจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าคุณธรรม และ จริยธรรม บรรยายพร้อมยกตัวอย่างสอดแทรกจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มอบหมายรายงาน, งานเดี่ยว, งานกลุ่ม ฝึกการมีวินัย ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและ สังคมและสิ่งแวดล้อม

บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษาหาเสนอเอกสารอ้างอิง แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมา รายงานจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สืบค้น  และ การนำข้อมูลมาเผยแพร่ การอ้างอิงถึงที่มา
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2   ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3   ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงาน และ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเขียนแบบและ การออกแบบเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร Build-in
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่ความเข้าใจกระบวนการออกแบบเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กิจกรรม ถาม-ตอบ สมาชิกในห้อง
2.3.3  ประเมินจากการงานในชั่วโมงที่ให้ฝึกปฏิบัติ ขั้นตอนกระบวนการคิดและแก้ไขปัญหา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ รู้จักการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1   มีการมอบงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และ ให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประกอบ แนวคิดในการออกแบบงานในแต่ละสัปดาห์
3.2.2  มอบหมายงานเดี่ยวในชั่วโมง ฝึกปฏิบัติด้านการออกแบบเครื่องเรือนประเภทติดตั้งถาวร  แนวความคิดและขั้นตอนการออกแบบ  กระบวนการออกแบบ  เขียนแบบ    โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย   การจัดวางตำแหน่ง  เนื้อที่  สัดส่วน  ความงาม  วัสดุ  โครงสร้าง  กรรมวิธีการผลิต
3.3.1   ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์
3.3.2   สอบกลางภาคและปลายภาค 
3.3.3   วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ความถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในห้อง
4.1.1   มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคม
4.1.2   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1  มอบหมายงานกลุ่ม ให้ทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อศึกษาข้อมูลวิเคราะห์วางแผนร่วมกันเป็นทีม
4.2.2   กำหนดให้มีการเก็บข้อมูลต้องประสาน ระหว่างบุคคล
4.2.3   กำหนดประเด็นปัญหา ให้นำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2 ประเมินจากผลงานที่มอบหมายให้  
4.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลา
5.1.1   สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2   สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3   สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง งานที่มอบหมายให้ โดยเน้นความถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบให้หาจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากงานที่มอบหมายให้ และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
    6.1.1.  สามารถออกแบบและใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองมิติ
    6.1.2.  สารารถสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
    6.1.3.  สามารถออกแบบโดยใช้ทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
มอบงานทุกสัปดาห์ให้นักศึกษาฝึกทักษะด้านเขียนแบบและออกแบบเครื่องเรือนประเภทติดตั้งถาวร  แนวความคิด  ขั้นตอนการออกแบบ   ประโยชน์ใช้สอย   การจัดวางตำแหน่งของเครื่องเรือนที่สัมพันธ์กับการใช้เนื้อที่  สัดส่วนของเครื่องเรือนกับการใช้งานของมนุษย์  วัสดุ อุปกรณ์ และโครงสร้าง  กรรมวิธีการผลิต การตกแต่งผิว การแสดงแบบเครื่องเรือน และการทำหุ่นจำลอง
6.3.1   ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์
6.3.2   สอบกลางภาคและปลายภาค 
6.3.3   วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ ความ ถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ
6.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในห้อง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2 6.3
1 43022344 ออกแบบเครื่องเรือน 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 9, 17 สอบกลางภาค, สอบปลายภาค 9, 17 15%, 15%
2 1-8, 10-16 การทดสอบตามเรียน แบบฝึกหัดตามบทเรียนด้วยตนเอง ผลงานการวิเคราะห์ตามบทเรียนด้วยกระบวนการกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1-8, 10-16 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กฤษฎา อินทรสถิตย์, รองศาสตราจารย์. การเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด, 2546.
2. กิติ สินธุเสก, รองศาสตราจารย์. การออกแบบภายในขั้นพื้นฐาน หลักการพิจารณาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
3. แจ่มจันทร์ ธรรมสุจริต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. ชุดความรู้เทคนิคการผลิตและเทคนิคทางวิศวกรรม สำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ “การอ่านแบบและการแยกชิ้นส่วนเครื่องเรือน”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2556.
4. จันทนี เพชรานนท์, รองศาสตราจารย์. การทำรายละเอียดประกอบโครงการการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2542.
5. ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. การทำหุ่นจำลอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ครองช่าง พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2547.
6. ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา, รองศาสตราจารย์. การนำเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ครองช่าง พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2556.
7. ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์. โครงการชุดหนังสือวิชาการเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เล่ม 4 “ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553.  
8. ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์. ตำราวิชาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ 3. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2554.
9. นภาพรรณ สุทธะพินทุ. ปฏิบัติการออกแบบตกแต่งภายใน 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2540.
10. นวลน้อย บุญวงษ์. หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
11. บุญสนอง รัตนสุนทรากุล, รองศาสตราจารย์. การออกแบบเฟอร์นิเจอร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2554.
12. บุญสนอง รัตนสุนทรากุล, รองศาสตราจารย์. โครงการชุดหนังสือวิชาการเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เล่ม 1 “ความรู้ทั่วไปเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553.  
13. บุญสนอง รัตนสุนทรากุล, รองศาสตราจารย์, ภาสิต ลีนิวา. โครงการชุดหนังสือวิชาการเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เล่ม 3 “การศึกษาวิจัยเพื่อการออกแบบ”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553.  
14. ปวิณ รุจิเกียรติกำจร. โครงการชุดหนังสือวิชาการเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เล่ม 2 “กระบวนวิธีการออกแบบ”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553.  
15. ประณต กุลประสูตร. เทคนิคงานสี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด, 2554.
16. ประณต กุลประสูตร. เทคนิคงานไม้. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด, 2555.
17. ภาสิต ลีนิวา. โครงการชุดหนังสือวิชาการเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เล่ม 5 “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และการใช้พื้นที่”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553.  
18. โมทนา สิทธิพิทักษ์. โครงการชุดหนังสือวิชาการเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เล่ม 6 “การนำเสนอผลงานการออกแบบเฟอร์นิเจอร์”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553.  
19. ยุทธการ อาจารีย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. ชุดความรู้เทคนิคการผลิตและเทคนิคทางวิศวกรรม สำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ “การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนพร้อมความน่ามอง”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2556.
20. วรรณิภัค สหสมโชค, รองศาสตราจารย์. ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2554.
21. วิรัตน์ พิชญไพบูรณ์, รองศาสตราจารย์. การออกแบบเครื่องเรือน สมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
22. วัฒนะ จูฑะวิภาต, รองศาสตราจารย์. ศิลปะการออกแบบตกแต่งภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จูนพับลิชชิ่ง จำกัด, 2546.
23. ศิระ จันทร์สวาสดิ์, ศานิต ปันเขื่อนขัติย์ และสุพัฒน์ ศรีพงษ์สุทธิ์. คู่มือช่างในบ้าน ทำสีให้เครื่องเรือน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2546.
24. สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ, รองศาสตราจารย์. วิวัฒนาการเฟอร์นิเจอร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2551.
25. สุรวงศ์ หาทรัพย์. การเขียนทัศนียภาพ. กรุงเทพมหานคร: เศรษฐศิลป์, 2553.
26. สาคร คันธโชติ. การออกแบบเครื่องเรือน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2528.
27. สาคร คันธโชติ. การออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2547.
28. อาชัญ นักสอน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. ศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด, 2558.
29. อุดมศักดิ์ สาริบุตร. ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2550.
1. Joseph De Chiara, Julius Panero and Martin Zelnik. Time-Saver Standards for Interior Design and Space Planning. International Edition. New York: Mcgraw-Hill, 1992.
2. Julius Panero and Martin Zelnik. Human Dimension and Interior Space: a source book of design reference standards. New York: Whitney Library of Design, 1979.
3. Ernst Neufert and Peter Neufert. Architects' Data. 3rd Edition. United States of America: John Wiley-Blackwell, 2002.
1. Jim Postell. Furniture Design. Second Edition. United States of America: John Wiley & Sons Inc., 2012.
2. Joanne Kellar Bouknight. Taunton’s All New Built-Ins Idea Book. Newtown: The Taunton Press, Inc., 2012.
3. Robert J. Settich. Built-Ins. Newtown: The Taunton Press, Inc., 2009.
4. Stuart Lawson. Furniture Design: An Introduction to Development, Materials and Manufacturing. London: Laurence King Publishing, 2013.
5. Will Holman. Guerilla Furniture Design: How to Build Lean, Modern Furniture with Salvaged Materials. China: R.R. Donnelley, 2015.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชาด้วยการประเมินการจัดการเรียนการสอนประจำภาคเรียน
ทำการการประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร จากการสังเกตขณะสอน และทำการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
หลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษาภาควิชา  กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
ทบทวนตามกระบวนการทวนสอบของคณะ
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจาก
- ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
- ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของหลักสูตร
- การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน
            ภายหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป