การจัดนิทรรศการศิลปกรรม

Art Exhibition Design

1.ศึกษาทฤษฎีกระบวนการจัดการนิทรรศการด้านศิลปกรรม
2.นักศึกษาสามารถเรียนรู้ระบบและขั้นตอนการจัดนิทรรศการ การวางแผนดำเนินการจัด
3.นิทรรศการในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมและการนำเสนอผลงานศิลปกรรมต่อสาธารณชน
4.นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และมองเห็นประโยชน์ของการนำเสนอผลงาน
5.นักศึกษาได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการดำเนินการจัดนิทรรศการ
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชาการจัด
นิทรรศการศิลปกรรม สำหรับนักศึกษาหลักสูตรทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกียวกับกระบวนการจัด
นิทรรศการศิลปกรรมในรูปแบบต่างๆให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
 
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาทฤษฏีกระบวนการทางด้านศิลปกรรม การวางแผนดำเนินการจัดนิทรรศการในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมตามยุคสมัย
 
  2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา บรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติ การศึกษาด้วยตนเอง 45 ชั่วโมง
  สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะกลุ่มย่อย 12 ชั่วโมง การศึกษาด้วยตนเอง
6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ 3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะและเว็บไซต์เอกชน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะและเว็บไซต์เอกชน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

พัฒนาผู้เรียนให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักในคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริตมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อีกทั้งยังให้มองเห็นคุณค่าในอาชีพทางศิลปะ
วิธีการสอน

บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นในวงการ
ศิลปกรรม การจัดนิทรรศการศิลปกรรม และการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดนิทรรศการ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 การเสนอโครงการนิทรรศการและจัดทำผลงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 การให้ความร่วมมือในการดำเนินงานกลุ่ม
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
  มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์ในแนวทางเฉพาะตน ทั้งในส่วนวิธีคิดในการสร้างรูปแบบ การลงมือปฏิบัติงาน ที่จะต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนการจัดทำโครงงานนิทรรศการเฉพาะบุคคล โครงการนิทรรศการกลุ่ม การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ประกอบงานนิทรรศการ เป็นต้น
2.2.1 การบรรยายประกอบภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวจากแฟ้มภาพของผู้สอน แฟ้มภาพทางสื่อระบบออนไลน์และผลงานตัวอย่างในแต่ละเทคนิคทางกระบวนการภาพพิมพ์
2.2.2 การอภิปราย ทำงานกลุ่ม นำเสนอรายงาน วิเคราะห์ สรุปผล
2.2.3 การปฏิบัติงานจัดทำสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับงานงานนิทรรศการ เช่น แผ่นพับ การ์ดเชิญ โปสเตอร์ เป็นต้น
2.3.1 ประเมินจากการนำเสนอผลงานโดยดูทั้งเนื้อหาแนวทางเฉพาะตน รูปแบบผลงานในด้านความงาม ความเหมาะสมสอดคล้องกับผลงานสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบแฟ้มผลงานส่วนบุคคล
2.3.2 ประเมินจากการจัดนิทรรศการกลุ่มมอบหมายรายงานกลุ่ม รายงานความก้าวหน้าของงาน
2.3.3 ประเมินผลการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ประเมินผลงาน/รายงาน
    พัฒนาความสามารถในกระบวนการคิด วิเคราะห์ พัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ และการแก้ปัญหาระหว่างการดำเนินการทั้งในส่วนของการสร้างสรรค์ผลงานและการนำเสนอผลงานให้มีความเป็นเอกภาพ ตลอดจนการจัดลำดับการทำงานให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด
    ให้นักศึกษาอภิปรายกลุ่มและวิเคราะห์ผลงานในแต่รูปแบบของการจัดนิทรรศการ ว่ามีข้อดีและเหมาะสมกับรูปแบบตลอดจนเนื้อหาที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
3.3.1 ประเมินจากการนำเสนอผลงานโดยดูทั้งเนื้อหาแนวทางเฉพาะตน รูปแบบผลงานในด้านความงาม ความเหมาะสมสอดคล้องกับผลงานในรูปแบบแฟ้มผลงานส่วนบุคคล
3.3.2 ประเมินจากการจัดนิทรรศการกลุ่มมอบหมายรายงานกลุ่ม รายงานความก้าวหน้าของงาน
3.3.3 ประเมินผลการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ประเมินผลงาน/รายงาน
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการเฉพาะตนและกลุ่ม เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ และสูจิบัตร เป็นต้น โดยการบรรยาย อภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ผลงาน โดยการให้พูดคุญแลกเปลี่ยนความคิดทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.2 ประเมินจากการสอบข้อเขียนปลายภาคเรียน
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
4.3.4 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการเรียน
4.3.5 ประเมินจากการผลสัมฤทธิ์ในการจัดนิทรรศการกลุ่มต่อสาธารณะชน
 
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานงานศิลปะในรูปแบบต่างๆรวมถึงการจัดนิทรรศการศิลปกรรมในลักษณะ 2 มิติ 3 มิติ และInstallation Art จากทางสื่อออนไลน์
5.1.2 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การดาว์นโหลดรูปภาพเพื่อที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลในการสร้างผลงานศิลปกรรม การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ
5.2.1นำเสนอผลงานตัวอย่างทั้งที่เป็นภาพนิ่งและคลิปวิดิโอศิลปะจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์
5.2.2แนะนำให้นักศึกษาสืบค้นและค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่างๆในวงการศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนในแต่ละบทเรียน
ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและหยิบยกข้อมูลในการค้นคว้ามาอธิบายร่วมทั้งในลักษณะกลุ่มและส่วนบุคคล
6.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
6.1.2 พัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
6.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการเฉพาะตนและกลุ่ม เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ และสูจิบัตร เป็นต้น โดยการบรรยาย อภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ผลงาน โดยการให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกัน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี
6.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
6.3.2 ประเมินจากการสอบข้อเขียนปลายภาคเรียน
6.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
6.3.4 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการเรียน
4.3.5 ประเมินจากการผลสัมฤทธิ์ในการจัดนิทรรศการกลุ่มต่อสาธารณะชน
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.1,4.1 การปฏิบัติงานสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ตามจำนวนชิ้นงานที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 1.1 – 1.7, 3.1,4.1,5.1 การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การจัดนิทรรศการกลุ่ม การสอบกลางภาคและปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา 70%
1.หนังสือการจัดนิทรรศการศิลปกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.หนังสือสูจิบัตรงานนิทรรศการศิลปกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงงานนิทรรศการศิลปกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.1 เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับงานนิทรรศการศิลปกรรมในรูปแบบต่างๆ
2.2 สื่ออิเล็กทรอนิกซ์ เว็ปไซต์ต่างๆที่เป็นตัวอย่างการจัดนิทรรศการศิลปกรรมในรูปแบบต่างใน ประเทศและต่างประเทศ
2.3 แหล่งการเรียนรู้นอกสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดนิทรรศการศิลปกรรมเช่นหอนิทรรศการ
ศิลปกรรมทั้งส่วนของภาครัฐบาลและหอศิลปกรรมเอกชน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา การจัดนิทรรศการศิลปกรรมเช่น
www.rama9art.org
 
www.art.com
 
www.labiennale.org
 
www.singaporebiennale.org
 
www.biennialfoundation.org
 
www.bacc.or.th
www.mot-art-museum.jp   http://museum.menard.co.jp
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4 ผลการสำรวจความพึ่งพอใจของผู้เรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมความคิดเห็น และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 การศึกษาดูงานงานนิทรรศการศิลปะกรรมทั้งในและต่างประเทศเพื่อศึกษาดูความพัฒนาในองค์ความรู้ด้านการจัดนิทรรศการในระดับสากล
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์