การปรับปรุงพันธุ์ผัก

Vegetable Breeding

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
      1.1 มีความรู้และทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ผัก
      1.2 สามารถนำความรู้และทักษะด้านการปรับปรุงพันธุ์ผักไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้
      1.3 สามารถนำความรู้เกี่ยวกับวิชาสถิติและการวางแผนการทดลองมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ผัก
      1.4 มีความสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
      1.5 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
      1.6 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
      1.7 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีมได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ผัก อันเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ผัก ไปใช้ในทำงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ผัก จึงได้มีการปรับปรุงรายวิชาโดยมีการเพิ่มทักษะในด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชผักชนิดต่าง ๆ และการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาประยุกต์ใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์ผัก มาเพิ่มเติมในเนื้อหาของรายวิชา ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช
              ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของระบบสืบพันธุ์ การผสมเกสรโดยธรรมชาติ การผสมข้ามโดยมนุษย์ การควบคุมการผสมเกสร การผลิตเมล็ดจากการผสมพันธุ์ เป้าหมายของโปรแกรมปรับปรุงพันธุ์ การวางแผนและวิธีการปรับปรุงพันธุ์เฉพาะไปในแต่ละพืช เช่นพืชผักวงศ์กะหล่ำ พืชผักวงศ์ถั่ว พืชผักวงศ์แตง พืชผักวงศ์พริก-มะเขือเทศ และพืชผักวงศ์ข้าวโพด หญ้า เป็นต้น
1) นักศึกษาเข้าพบอาจารย์ผู้สอนเพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำได้ทุกวันพุธ เวลา 14.00 - 17.00 น. ณ ห้องพักอาจารย์พิชัย  สุรพรไพบูลย์  โทร. 081-8852265 (หมายเหตุ นอกจากวันดังกล่าวแล้ว หากพบอาจารย์อยู่ห้องพักสามารถเข้าพบเพื่อปรึกษาและขอคำแนะนำได้ตลอด)
 2) นักศึกษาขอคำปรึกษาและคำแนะนำได้ทาง e-mail: pichai-1234@rmutl.ac.th  
1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1)ทำการสอนแบบบรรยาย  โดย
     - สอดแทรก ปลูกฝัง และยกตัวอย่างเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจรรยาบรรณของนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ดี ในขณะเริ่มเรียนและสอดแทรกประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา
     -กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
2) มอบหมายงานรับผิดชอบทั้งงานกลุ่มและรายบุคคล  
     - ให้งานมอบหมายกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มเพาะกล้าผักชนิดต่าง ๆ ที่จะใช้ในการผสมพันธุ์
    - มอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบแปลงปลูกผักและฝึกทักษะการผสมพันธุ์ผัก
    - มอบหมายให้จัดทำรายงาน และกำหนดเวลาส่งรายงานตามเวลาที่กำหนด
ใช้วิธีการสังเกต จากพฤติกรรม
    - การเข้าเรียนตรงเวลา
    - การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
   - ไม่ทุจริตในการสอบ
   -ความมีวินัยต่อการเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
   -การให้ความร่วมมือกับกลุ่ม ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน
   - ความรับผิดชอบในการดูแลแปลงปลูกผักและทักษะการผสมพันธุ์ผัก และผลงานการผสมพันธุ์
1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
     - มอบหมายนักศึกษาไปค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2) การสอนแบบบรรยาย
3) การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการ
4) การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
1) การนำเสนองาน
       - ประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
2) ข้อสอบอัตนัย
        - ทดสอบโดยการสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
3) สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4) คุณภาพงานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1) การสอนแบบ  Project Based Learning โดยให้ทำโครงงานพิเศษ เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ผักที่นักศึกษาสนใจ ให้เป็นไปวัตถุประสงค์ที่กำหนด
2) การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)
   - ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา
3) การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
- ฝึกเรียนรู้จากงานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว โดยให้ไปค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ การค้นคว้าจากฐานข้อมูล และรายงานผลการค้นคว้า
1) งานที่ให้ปฏิบัติ
       - ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของโครงงานพิเศษ
2) สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนและการฝึกวิเคราะห์ปัญหา
3) คุณภาพงานที่ให้ปฏิบัติ
4) รายงานผลการการค้นคว้ากรณีศึกษา
1)  มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2)  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4)  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1) การสอนแบบ  Brain  Storming Group
2) การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
   -มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้นักศึกษาเป็นผู้แบ่งงานและกำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
1) การสังเกต
2) การประเมินตนเอง
3) การประเมินโดยเพื่อน
1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) การสอนแบบ  Project Based Learning โดยให้ทำโครงงานพิเศษ เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ผักที่นักศึกษาสนใจ ให้เป็นไปวัตถุประสงค์ที่กำหนด แล้วจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยกำหนดให้ตรวจเอกสารโดยการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือฐานข้อมูลอื่น ๆ และนำเสนองานด้วยวาจาและ PowerPoint
2) แนะนำและสาธิตการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
3) แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ผัก
1) รายงานโครงงานพิเศษและการนำเสนองาน
2) ประเมินความเหมาะสมและถูกต้องของ
        - สื่อที่ใช้
        - เนื้อหาที่นำเสนอ  
        - ภาษาที่ใช้          
        - การตอบคำถาม
3) การวิเคราะห์ข้อมูลในการปรับปรุงพันธุ์ผักโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
      
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 1 1 2 3 4 1 2 3
1 21035306 การปรับปรุงพันธุ์ผัก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) ใช้วิธีการสังเกต จากพฤติกรรม - การเข้าเรียนตรงเวลา - การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด - ไม่ทุจริตในการสอบ -ความมีวินัยต่อการเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด -การให้ความร่วมมือกับกลุ่ม ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน - ความรับผิดชอบในการดูแลแปลงปลูกผักและทักษะการผสมพันธุ์ผัก และผลงานการผสมพันธุ์ 1-17 10 %
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 1. การนำเสนองาน - ประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย 2. ข้อสอบอัตนัย - ทดสอบโดยการสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 3. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียน 4.คุณภาพงานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง - ประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย สัปดาห์ที่ 17 - ทดสอบโดยการสอบย่อย สัปดาห์ที่ 3, 6, 12 และ 14 - สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 - สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 18 50 %
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 1. งานที่ให้ปฏิบัติ - ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของโครงงานพิเศษ 2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนและการฝึกวิเคราะห์ปัญหา 3.คุณภาพงานที่ให้ปฏิบัติ 4. รายงานผลการการค้นคว้ากรณีศึกษา 1. งานที่ให้ปฏิบัติ - ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของโครงงานพิเศษ สัปดาห์ที่ 17 2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนและการฝึกวิเคราะห์ปัญหา ประเมินทุกสัปดาห์ 3. รายงานผลการการค้นคว้ากรณีศึกษา สัปดาห์ที่ 17 20 %
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา (Interpersonal Skills and Responsibility) 1. การสังเกต 2. การประเมินตนเอง 3. การประเมินโดยเพื่อน สัปดาห์ที่ 17 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) 1. รายงานโครงงานพิเศษและการนำเสนองาน 2. ประเมินความเหมาะสมและถูกต้องของ - สื่อที่ใช้ - เนื้อหาที่นำเสนอ - ภาษาที่ใช้ - การตอบคำถาม 3. การวิเคราะห์ข้อมูลในการปรับปรุงพันธุ์ผักโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สัปดาห์ที่ 17 10 %
พิชัย  สุรพรไพบูลย์.  2559.  เอกสารประกอบการสอนวิชาการปรับปรุงพันธุ์ผัก.  สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน. 
Bassett, M.J. 1986. Breeding Vegetable Crops. AVI Publishing. Connecticut. Fehr, W. R. 1987. Principles of Cultivar Development. Macmillan Publishing Company.            New York. Kalloo, D. 1988.  Vegetable Breeding Vol I. CRC Press, Florida. Operia, R.T., C. G. Kuo and J. Y. Yoon. 1988.  Breeding and Seed Production of Chinese Cabbage in the Tropics and Subtropics.  Asian Vegetable Research and Development Center (AVRDC), Tainan, Taiwan, R.OC. กมล  เลิศรัตน์.  2536.  การปรับปรุงพันธุ์พืชผสมข้าม.  ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น มณีฉัตร นิกรพันธุ์.  2538.  เอกสารคำสอน วิชาการจำแนกพืชผัก (Hort 721) วิชาการปรับปรุงพันธุ์ผัก (Hort 722).  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.  244 น. มณีฉัตร นิกรพันธุ์.  2546.  การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักลูกผสม.  ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. สุรีพร  เกตุงาม.  2546.  เครื่องหมายดีเอ็นเอในงานปรับปรุงพันธุพืช.  วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 5 (2): 37-58. อโณทัย ชุมสาย.  2529.  การปรับปรุงพันธุ์ผักเพื่อผลิตลูกผสมชั่วที่ 1.  สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
www.avrdc.org
         ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยฯลฯ
           ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน หรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์  ในสาขาวิชา หรือ การสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
         สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดเมื่อสอนจบภาคการศึกษา นอกจากนี้สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  และมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
        สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนนของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
        สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป