การเงินธุรกิจ

Business Finance

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การพยากรณ์และการวางแผนทางการเงิน
การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน เครื่องมือทางการเงินที่นำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนและการจัดหาเงินทุน
เนื้อหาวิชาจะเป็นความรู้สาขาวิชาทางการเงินขั้นพื้นฐานที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานทางการเงินเพื่อให้
องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ศึกษาเป็นพื้นฐานทางด้านการบริหารการเงินธุรกิจ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถจัดหา
และจัดสรรทรัพยากร ให้เกิดมูลค่าสูงสุดต่อธุรกิจ ให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการบริหารการเงินที่
ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงิน เทคนิคในการวิเคราะห์
การพยากรณ์ และการควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน          
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
-  อาจารย์ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์/อีเมล์
มีความรู้และความเข้าใจในวิชาที่เรียน จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยและข้อตกลงในห้องเรียน สามารถบริหารเวลา สามารถทำงานที่มอบหมายภายในเวลาที่กำหนด ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและข้อตกลงในห้องเรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ และได้เรียนรู้จากการสอนจากกรณีศึกษา
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และการทำงานเป็นทีม ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1.มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการ อาทิ การวิเคราะห์งบการเงิน การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน  การบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น
2.มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการเงิน โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3.มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการเงินและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
 
ใช้วิธีการสอนโดยการบรรยาย และอภิปราย การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต และการสอนโดยใช้กรณีศึกษา การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน มอบหมายให้นักศึกษา โดยแบ่งเป็นกลุ่มค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น งานที่มอบหมาย รายงานการค้นคว้า การทดสอบย่อย สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการคิดวิเคราะห์แสดงความเห็นต่อการวิเคราะห์ปัญหาด้านการเงินได้ด้วยตนเอง โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
1) บรรยายเนื้อหาทฤษฎีและรูปแบบปัญหา
2) นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
1) ทดสอบย่อย
2) สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
2) สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้
มอบหมายงานแบบกลุ่มย่อย เป็นกรณีศึกษา
1) ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2) ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงานจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
สามารถนำวิธีวิเคราะห์เชิงตัวเลข ประยุกต์ในกรณีศึกษาทางบัญชี และเสนอวิธีการแก้ไข จากกรณีศึกษาและแบบฝึกได้ได้
บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
1) ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การทดสอบย่อย การสอบปลายภาค 6 9 12 19 15% 25% 15% 25%
2 1,4 กรณีศึกษา งานกลุ่ม (การมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความใฝ่รู้ศึกษาค้นคว้า) ตลอดทั้งภาคการศึกษา 10%
3 1 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามระเบียบและข้อตกลงในการเรียน ตลอดทั้งภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน การเงินธุรกิจ โดย ยพรัตน์  อิ่มพิทักษ์
การเงินธุรกิจ โดย ดร.ณิชากร  ดิษฐ์แก้ว
การเงินธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ฐาปนา  ฉิ่นไพศาล
การเงินธุรกิจ โดย นภาพร นิลาภรณ์กุล และคณะ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
เว็ปไซด์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
เว็ปไซด์ ธนาคารแห่งประเทศไทย  www.bot.or.th
ใช้แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย และสอบถามจากผู้เรียน การสนทนากลุ่มและการตอบประเด็นซักถามระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ใช้การประเมินจากผลการสอบของนักศึกษา ทั้งในการทดสอบย่อย ทดสอบประจำภาคเรียน และระดับผลการเรียนของนักศึกษา
วิเคราะห์ผลการสอนจาก แบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา และหาแนวทางการปรับปรุงจุดบกพร่องตามผลประเมิน
สรุปผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากผลการสอบ การทำกรณีศึกษา ปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น เน้นในเรื่องที่นักศึกษาขาดทักษะ โดยการเพิ่มแบบฝึกหัด
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
การตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
นำผลการประเมินและการทบทวนผลการเรียนในรายวิชา มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลในด้านอาจารย์ผู้สอน การจัดตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนและปรับปรุงเนื้อหา มาตรฐานข้อสอบ