การภาษีอากร 1

Taxation 1

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรและการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีและสิ้นปี
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทำการค้นคว้า การคำนวณภาษี และการแสดงรายการทางภาษีของกิจการรวมทั้งให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
        2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฏากร และคำนวณภาษีเงินได้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฏากร
        2.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน
ศึกษาหลักการ  วิธีการ และความจำเป็นที่รัฐต้องเสียภาษี แหล่งรายรับของรัฐบาล ความแตกต่างของรายรับอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากการภาษีอากร นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากร ปัญหาภาษีอากรที่เกิดขึ้นภายในประเทศ วิธีการจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร  ซึ่งได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ หลักและวิธีการจัดเก็บภาษีอากร ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีเฉพาะอย่างอื่นๆ ซึ่งรัฐอาจกำหนดขึ้นตามความจำเป็นและสภาวะเศรษฐกิจ
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
3)  ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการชำระภาษีสรรพากร
4) สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
                 1) สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชี และยกตัวอย่างผลเสียหายของการปลอมแปลงเอกสารทางบัญชีที่ส่งผลต่อการเสียภาษีสรรพากร เช่น ใบกำกับภาษีปลอม และให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อเสียภาษีอย่างไม่ถูกต้อง และนำมาอภิปรายกันในชั้นเรียนสัปดาห์ที่2 ของภาคเรียน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีก่อนการเรียนเนื้อหารายวิชา
               2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
     1) ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปรายของนักศึกษา
    2) ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การประเมินผลการสอบกลางภาค โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ การตรวจสมุดบัญชี และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
 1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน
 2) โจทย์ปัญหา
 3) รายงานกลุ่ม
 4) มอบหมายงานให้นักศึกษาติดตามประกาศกรมสรรพากรและวิเคราะห์ผลกระทบที่มี
1) การตอบคำถามในชั้นเรียน
2) การทำโจทย์ปัญหาการรายงาน (งานกลุ่ม)
3) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
 4) คุณภาพของงานที่มอบหมาย
สามารถประยุกต์นำหลักการภาษีอากร ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคำนวณภาษีได้
บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
ทดสอบย่อย
 
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
               - สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
มอบหมายงานกลุ่ม โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลาก เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มตนเอง
 2) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
มอบหมายงานแบบกลุ่มย่อย เป็นกรณีศึกษาตัวอย่าง
1) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม
2) ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC124 การภาษีอากร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,4,5 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 4,12 8 17 20% 30% 30%
2 2,3 รายงาน และ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 16 10%
3 1,2,3 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. (2561). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2561. กรุงเทพฯ : พิมพ์
            ครั้งใหม่แก้ไขปรับปรุง.
นิพันธ์   เห็นโชคชัยชนะ และสิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์. (2558). การบัญชีภาษีอากร, พิมพ์ครั้งที่ 1 :
กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
ทัศนีย์  เหลืองเรืองรอง (2560). คู่มือศึกษาภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร. พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรุงเทพมหานคร :
บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด.
ทัศนีย์  เหลืองเรืองรอง (2560). ความรู้ทั่วไปกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากร. พิมพ์ครั้งที่ 3 : กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
สภาวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ กรุงเทพ:บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด 2553.
ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ  ศิริคุณโชติ, กำธร  สิริชูติวงศ์, อดิศักดิ์  สิบประดิษฐ์, ภิรัตน์  เจียรนัย. (2561). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1: กรุงเทพมหานคร: หจก.เรือนแก้วการพิมพ์.
เข้าถึงได้จากกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
เข้าถึงได้จาก http://www.fap.or.th/
เข้าถึงได้จาก http://www.jap.tbs.tu.ac.th/index.php?page=Article-List&sub=1&txt=266
เข้าถึงได้จาก hppt://www.nukbanchee.com
ใช้การทดสอบย่อย  ในแต่ละบท
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษี
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำเสนอข้อสอบ และ การตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และ เนื้อหารายวิชา