การบัญชีต้นทุน

Cost Accounting

เพื่อผลิตนักศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ             พ.ศ. 2552 นักศึกษาต้องมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม ด้านความรู้ ได้แก่ มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางการบัญชี  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี               โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชี และอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์  ด้านทักษะทางปัญญา ได้แก่ สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ  เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง  และ สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มการมอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษากระบวนการผลิตสินค้า จากกิจการจริงและนำมาคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าตามทฤษฎีที่ได้ศึกษา
ศึกษาและปฏิบัติวัตถุประสงค์ ความสำคัญและบทบาทการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ  ความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน  วิธีการบัญชีและการควบคุม  วัตถุดิบ  แรงงาน  ค่าใช้จ่ายการผลิต  ระบบบัญชีต้นทุนงาน สั่งทำ  ระบบต้นทุนช่วงการผลิต  ระบบต้นทุนมาตรฐาน  การบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้  ของเสีย  ของสิ้นเปลือง  งานที่บกพร่อง  เศษซาก  และต้นทุนฐานกิจกรรม
อาจารย์ผู้สอนกำหนดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและแบบฝึกหัดเป็นเวลา                      3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย
     1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
 
   กลยุททธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
    - ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีการเช็คชื่อนักศึกษาก่อนเรียน กำหนดให้นักศึกษาแต่งกายให้เรียบร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
- ประเมินผลโดยการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา ในการเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การแต่งกาย การส่งงานตามกำหนดและการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา
  2.1 มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางการบัญชี 
   2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
   2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชี และอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
    - อธิบายถึงแนวคิด และ ทฤษฎี เกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน ระบัญชีต้นทุนและการจัดทำงบการเงิน ส่วนประกอบที่สำคัญของต้นทุนการผลิตอาทิเช่น การบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบการบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน และการบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการเผลิตและระบบต้นทุนฐานกิจกรรม การบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ     การบัญชีต้นทุนกระบวนการ การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน รวมถึงการบัญชีและการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
กลยุททธ์การสอน
    -กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยกำหนดให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ลงพื้นที่ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ชุมชนตามที่กลุ่มสนใจ  จากนั้นแจ้งกลุ่มประชากรที่สนใจศึกษาให้กับอาจารย์ประจำวิชาทราบ
   2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชี และอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
กลยุททธ์การสอน
    -กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยกำหนดให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ลงพื้นที่ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ชุมชนตามที่กลุ่มสนใจ  โดยในการจัดทำรายงานนั้น นักศึกษาจะต้องทำการสอบถามผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในส่วนของข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต
  
วิธีการประเมินผล
   - แบบฟอร์มรายงานการจัดทำต้นทุนการผลิต ประจำกลุ่ม
- ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย
วิธีการประเมินผล
   - รายงานการจัดทำต้นทุนการผลิต
     3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ  เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง 
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
กลยุททธ์การสอน
     กำหนดให้นักศึกษา บันทึกบัญชีต้นทุน มาความสามารถแยกส่วนประกอบการผลิต ในแต่ละประเภท ได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนสามารถจัดทำรายงานทางการเงินได้ถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถวิเคราะห์ระบบต้นทุนของกิจการที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบต่างๆได้
กลยุททธ์การสอน
     จากการที่กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยกำหนดให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ลงพื้นที่ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ชุมชนตามที่กลุ่มสนใจ  โดยในการจัดทำรายงานนั้น นักศึกษาจะต้องทำการสอบถามผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในส่วนของข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต จากนั้น จะนำมาประเมินผลภายในกลุ่ม ถึงความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มา  และจัดทำต้นทุนการผลิต โดยใช้มูลเดิม รวมกับข้อมูลที่ต้องเพิ่มเติมไป เพื่อให้ครบถ้วน ในส่วนของต้นทุนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี ออกมาเป็นการจัดทำงบต้นทุนการผลิต งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงินของวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
วิธีการประเมินผล
   - ทดสอบโดยแบบฝึกหัด , กรณีศึกษา วิธีการประเมินผล
     - รายงานต้นทุนการผลิตของวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ
-
-
-
      5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
     จากการที่กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต โดยในการจัดทำรายงานนั้น นักศึกษาจะต้องทำการสอบถามผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในส่วนของข้อมูลดิบ ที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต โดยทำการจัดทำเก็บข้อมูลที่ไปสอบถามมา โดยบันทึกข้อมูลใส่ลงใน คลิปวีดีโอ เพื่อความครบถ้วน ในการจัดเก็บข้อมูล และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสานสนเทศ ให้เกิดประโยชน์ ต่อนักศึกษา  จากนั้น จะนำมาประเมินผลภายในกลุ่ม ถึงความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มา  และจัดทำต้นทุนการผลิต โดยใช้มูลเดิม รวมกับข้อมูลที่ต้องเพิ่มเติมไป เพื่อให้ครบถ้วน ในส่วนของต้นทุนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี ออกมาเป็นการจัดทำงบต้นทุนการผลิต งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงินของวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
- ซีดี การบันทึกการเก็บข้อมูล และ รายงานต้นทุนการผลิตของวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC123 การบัญชีต้นทุน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม - ประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม - ประเมินผลจากการส่งงานตามกำหนด - ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน 1,5,12,13 10 %
2 ด้านความรู้ - ประเมินผลจากใบงานสรุปเนื้อหาที่ ต้องส่งก่อนเรียนในแต่ละหัวข้อ - ประเมินจากแบบฝึกหัดและ กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย - ประเมินจากการอภิปรายหน้าชั้นเรียน - ประเมินจากการทดสอยย่อย 1-15 50 %
3 ด้านทักษะ ทางปัญญา - รายงานจากการทำกรณีศึกษา - การนำเสนอกรณีศึกษา - ผลการทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 5,6,7,10 30 %
4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - - -
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ประเมินจากผลการทำแบบฝึกหัดและ แบบทดสอบย่อย - ประเมินผลจากการวิเคราะห์และ นำเสนอกรณีศึกษา 1-15 1๐ %
    - เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชีต้นทุน กรรณิการ์ ใจมา 
ไม่มี
วารสารนักบัญชี มาตรฐานการบัญชี เวปไซต์สภาวิชาชีพบัญชี
การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาในส่วนของนักศึกษาผู้เรียนในแต่ละหมู่นั้น ผู้สอนของทุกหมู่เรียนจะประชุมตกลงกันในกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้รับผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาที่สอนในแนวทางเดียวกัน และนำมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการปรับปรุงต่อไป
          กิจกรรมที่จะนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาโดยนักศึกษา  ได้แก่
          1.1  ผู้สอนจัดกิจกรรมพบนักศึกษาเป็นกลุ่มซึ่งใช้กลุ่มที่ได้จัดไว้ในการมอบหมายงานกรณีศึกษา   เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสาระเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
             1.2  ผู้สอนติดตามผลการมอบหมายงานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน
          1.3  ผู้สอนมอบหมายให้ นักศึกษาแต่ละคนเขียนบันทึกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
          1.4  จัดให้มีการประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชาโดยใช้แบบประเมินโดยส่วนกลางก่อนสอบกลางภาค เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบและสามารถปรับปรุงได้ในภาคการศึกษานั้น หากผลการประเมินพบว่าควรมีการปรับปรุง
การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนและผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการ ดังนี้
             2.1  การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนดำเนินการโดยให้ผู้สอนได้เข้าสังเกตการณ์การสอนของหมู่เรียนอื่น แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพร้อมข้อเสนอแนะ
          2.2  การประเมินการสอน โดยผู้ร่วมทีมการสอนร่วมกันออกข้อสอบและใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทดสอบผู้เรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่ระบุ
          2.3  การประเมินการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการทวนสอบข้อสอบก่อนนำไปใช้ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและเห็นชอบข้อสอบก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          3.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          3.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          4.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          4.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
จากผลการประเมินประสิทธิภาพในข้อ 1. และ ข้อ2. ดังกล่าวแล้วข้างต้น รวมทั้งการนำไปปรับปรุงการสอนในข้อ 3. แล้วนั้น เพื่อให้การสอนของรายวิชานี้มีคุณภาพอันนำไปสู่การผลิตบัณฑิตทางการบัญชีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชีและการเงิน ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          5.1  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน โดยการให้มีอาจารย์ผู้สอนเดิมอยู่อย่างน้อย ๑ คน แล้วจัดอาจารย์ผู้สอนใหม่เข้ามาหากสามารถดำเนินการได้ เพื่อให้ได้รับมุมมองใหม่จากอาจารย์ผู้สอนท่านใหม่
          5.2  ทบทวนและปรับปรุงหัวข้อการสอน กลยุทธ์การสอน วิธีการสอน วิธีการวัดผลและประเมินผล ฯลฯ ตามที่ได้รับจากผลการประเมิน