การภาษีอากร 1

Taxation 1

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี รายรับของรัฐบาล นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากรในประเทศไทย การจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร ได้แก่  ภาษีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์  หลักและวิธีการจัดเก็บภาษีอากร  ภาษีศุลกากร  ภาษีสรรพาสามิต และภาษีเฉพาะอย่างอื่นที่เก็บตามสภาวะเศรษฐกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการ วิธีการ และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี รายรับของรัฐบาล นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากรในประเทศไทย การจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร
ศึกษาหลักการ วิธีการและความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี แหล่งรายรับของรัฐบาล  ความแตกต่างของรายรับอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากการภาษีอากร  นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากร  ปัญหาภาษีอากรที่เกิดขึ้นภายในประเทศ  วิธีการจัดเก็บตามประมวลรัษฎากร  ซึ่งได้แก่  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีเงินได้หัก  ณ ที่จ่าย  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  อากรแสตมป์  หลักและวิธีการจัดเก็บภาษีอากร  ศุลกากร  ภาษีสรรพสามิต  และภาษีเฉพาะอย่างอื่น ๆ  ซึ่งรัฐอาจกำหนดขึ้นตามความจำเป็นและ สภาวะเศรษฐกิจ
อาจารย์ผู้สอนกำหนดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและแบบฝึกหัดเป็นเวลา               3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพสามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
              - บรรยายโดยใช้กรณีศึกษาที่มีสาระเกี่ยวข้องกับความสำคัญของคุณค่าแห่งวิชาชีพ เช่น ความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี รายรับของรัฐบาล นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากรในประเทศไทย การจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร และแนวปฏิบัติที่ดีด้านจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
           -ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายถึงผลกระทบของการขาดจรรยาบรรณทางวิชาชีพ โดยการศึกษาค้นคว้าและยกตัวอย่างในการอภิปราย
              - ความมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
             -  ผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่ใช้เป็นตัวอย่างในการอภิปรายและใช้เป็นแบบทดสอบ
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักการ วิธีการและความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี รายรับของรัฐบาล  ความแตกต่างของรายรับอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากการภาษีอากร  นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากร  ปัญหาภาษีอากรที่เกิดขึ้นภายในประเทศ  วิธีการจัดเก็บตามประมวลรัษฎากร  ซึ่งได้แก่  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  อากรแสตมป์  หลักและวิธีการจัดเก็บภาษีอากร  ศุลกากร  ภาษีสรรพสามิต  และภาษีเฉพาะอย่างอื่น ๆ  ซึ่งรัฐอาจกำหนดขึ้นตามความจำเป็นและ สภาวะเศรษฐกิจ
2.2.1   อาจารย์ผู้สอนบรรยายเนื้อหา และยกตัวอย่างกรณีศึกษา มอบหมายแบบฝึกหัด
   2.2.2   ใช้วิธีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางประกอบด้วยโดยให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายจาก           
                          การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในเนื้อหาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
              2.2.3  การเรียนรู้จากสถานเอกสารจริง โดยมอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษาแบบพิมพ์ใช้ในการชำระภาษี กรณีต่าง ๆ จากสำนักงานสรรพากร      
                      -  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
                      -  ประเมินจากแบบฝึกหัดและกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
          -  ประเมินจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
ความสามารถในการวิเคราะห์หลักการ วิธีการและความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี รายรับของรัฐบาล  วิเคราะห์ความแตกต่างของรายรับอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากการภาษีอากร  นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากร  ปัญหาภาษีอากรที่เกิดขึ้นภายในประเทศ  วิธีการจัดเก็บตามประมวลรัษฎากร  ซึ่งรัฐอาจกำหนดขึ้นตามความจำเป็นและสภาวะเศรษฐกิจ
             -  มอบหมายแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษาและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
-  อภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา
            -  รายงานจากการนำเสนอแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา
             -  การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ในชั้นเรียน
             -  ผลการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
            -  เสริมสร้างความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจน
               -  เสริมสร้างทักษะในการติดต่อประสานงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ได้รับมอบหมาย
               -  เสริมสร้างความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
               - เสริมสร้างความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
 จัดกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน และมอบหมายงานในแต่ละบทเรียน
               -  ประเมินจากการส่งงานตามกำหนด
               -  ประเมินจากการรายงานผลความก้าวหน้างานที่มอบหมายเป็นระยะ
  -  ประเมินจากผลการประเมินตนเองและกลุ่ม
                       -  สามารถคำนวณภาษีที่ต้องชำระต่อสำนักงานสรรพากรในกรณีต่างๆ  ได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ
                       -  สามารถคำนวณภาษีกรณีต่าง ๆ ในโปรแกรมสำเร็จรูปที่ทางสรรพากรกำหนดได้อย่างถูกต้อง
                       -  จัดให้ทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบย่อยรายบุคคล
        -  มอบหมายกรณีศึกษารายกลุ่ม  
                         -  ประเมินจากผลการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบย่อย
                     -  ประเมินผลจากการวิเคราะห์และนำเสนอกรณีศึกษา
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC124 การภาษีอากร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม - ประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม - ประเมินผลจากการส่งงานตามกำหนด - ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน 1,5,12,13 10 %
2 ด้านความรู้ - ประเมินผลจากใบงานสรุปเนื้อหาที่ ต้องส่งก่อนเรียนในแต่ละหัวข้อ - ประเมินจากแบบฝึกหัดและ กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย - ประเมินจากการอภิปรายหน้าชั้นเรียน - ประเมินจากการทดสอยย่อย 1-16 20 %
3 ด้านทักษะ ทางปัญญา รายงานจากการทำกรณีศึกษา - การนำเสนอกรณีศึกษา - ผลการทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 5,6,7,10 50 %
4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ประเมินจากการส่งงานตามกำหนด - ประเมินจากการรายงานผลความ ก้าวหน้างานที่มอบหมายเป็นระยะ - ประเมินจากผลการประเมินตนเอง และกลุ่ม 5,67,10,12,13 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี - ประเมินจากผลการทำแบบฝึกหัดและ แบบทดสอบย่อย - ประเมินผลจากการวิเคราะห์และ นำเสนอกรณีศึกษา 1-16 1๐ %
   - เอกสารประกอบการสอน รวบรวม โดย อ.กรรณิการ์  ใจมา
   - ข้อมูลจากสำนักงานสรรพากร www.rd.go.th
   - มูลจาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม
      ฯลฯ
ไม่มี
วารสารนักบัญชี มาตรฐานการบัญชี เวปไซต์สภาวิชาชีพบัญชี
การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาในส่วนของนักศึกษาผู้เรียนในแต่ละหมู่นั้น ผู้สอนของทุกหมู่เรียนจะประชุมตกลงกันในกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้รับผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาที่สอนในแนวทางเดียวกัน และนำมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการปรับปรุงต่อไป
          กิจกรรมที่จะนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาโดยนักศึกษา  ได้แก่
          1.1  ผู้สอนจัดกิจกรรมพบนักศึกษาเป็นกลุ่มซึ่งใช้กลุ่มที่ได้จัดไว้ในการมอบหมายงานกรณีศึกษา   เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสาระเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
             1.2  ผู้สอนติดตามผลการมอบหมายงานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน
          1.3  ผู้สอนมอบหมายให้ นักศึกษาแต่ละคนเขียนบันทึกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
          1.4  จัดให้มีการประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชาโดยใช้แบบประเมินโดยส่วนกลางก่อนสอบกลางภาค เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบและสามารถปรับปรุงได้ในภาคการศึกษานั้น หากผลการประเมินพบว่าควรมีการปรับปรุง
การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนและผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการ ดังนี้
             2.1  การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนดำเนินการโดยให้ผู้สอนได้เข้าสังเกตการณ์การสอนของหมู่เรียนอื่น แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพร้อมข้อเสนอแนะ
          2.2  การประเมินการสอน โดยผู้ร่วมทีมการสอนร่วมกันออกข้อสอบและใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทดสอบผู้เรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่ระบุ
          2.3  การประเมินการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการทวนสอบข้อสอบก่อนนำไปใช้ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและเห็นชอบข้อสอบก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          3.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          3.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          4.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          4.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
จากผลการประเมินประสิทธิภาพในข้อ 1. และ ข้อ2. ดังกล่าวแล้วข้างต้น รวมทั้งการนำไปปรับปรุงการสอนในข้อ 3. แล้วนั้น เพื่อให้การสอนของรายวิชานี้มีคุณภาพอันนำไปสู่การผลิตบัณฑิตทางการบัญชีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชีและการเงิน ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          5.1  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน โดยการให้มีอาจารย์ผู้สอนเดิมอยู่อย่างน้อย ๑ คน แล้วจัดอาจารย์ผู้สอนใหม่เข้ามาหากสามารถดำเนินการได้ เพื่อให้ได้รับมุมมองใหม่จากอาจารย์ผู้สอนท่านใหม่
          5.2  ทบทวนและปรับปรุงหัวข้อการสอน กลยุทธ์การสอน วิธีการสอน วิธีการวัดผลและประเมินผล ฯลฯ ตามที่ได้รับจากผลการประเมิน