ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร

Food Safety Management System

1.1 มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกันคุณภาพอาหาร
1.2 มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมพื้นฐานในการจัดการสภาวะแวดล้อมสำหรับกระบวนการผลิต โดยเฉพาะระบบ GMP, HACCP และ ISO 22000 เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร และมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
1.3 นำความรู้ ทักษะเกี่ยวกับระบบคุณภาพต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกันคุณภาพอาหารไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง และการใช้ชีวิต
1.4 มีทักษะการปฏิบัติในการจัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในระบบการประกันคุณภาพ
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหารต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกันคุณภาพอาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกันคุณภาพอาหาร โปรแกรมพื้นฐานในการจัดการสภาวะแวดล้อมสำหรับกระบวนการผลิต โดยเฉพาะระบบ GMP, HACCP และ ISO 22000 เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร และมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
3.1 วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้อง FT 202 โทร. 084-1723714
3.2 e-mail; maliwankit@hotmail.com
˜1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
˜1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม
˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
š1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรม นักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในวิชา มีการตรวจเช็คการเข้าเรียน การแต่งกาย พฤติกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
(Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือการลงมือทำ ซึ่งความรู้ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา)
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดง ออกในชั้นเรียน และในสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลา การเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ โดยจัดให้มีการประเมินโดยตนเอง ประเมินโดยเพื่อน และประเมินโดยผู้สอน
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
š 2.2 มีความรู้ในสาขาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
š 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
˜ 2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) ศึกษาจากสถานการณ์จริง มีการอภิปรายกลุ่มย่อย มีการศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
การสอบวัดความรู้ ถาม-ตอบปัญหาในชั้นเรียน  ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การนำเสนองานที่ได้มอบหมายในชั้นเรียน
š3.1 มีความสามารถในการ ค้นหาข้อเท็จจริง  ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆโดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
š3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
˜3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
š3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบ การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
š 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม
š 4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š 4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
˜ 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ และการมีการนำเสนอรายงาน
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
š5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
š5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
š5.4 มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล
š5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
š5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนองานโดยใช้ PowerPoint และวีดีโอ การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน การนำเสนอความรู้ใหม่ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอเอกสารรายงานของนักศึกษา และการสอบ
š6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์ และวิธีการให้ได้มาซึ่งกระบวนการแก้ปัญหาทางด้านระบบประกันคุณภาพอย่างเหมาะสม
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 1.
1 24122303 ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 -1.5 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-16 10%
2 2.1 -2.4 สอบรายหน่วย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 1-17 60%
3 3.1 - 3.4 4.1 – 4.4 5.1 - 5.5 6.1 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งรายงานบทปฏิบัติการ การนำเสนองาน/การรายงาน 1-16 30%
ครูส่ง. 2547. การประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร. โครงการคณะอุตสาหกรรมเกษตร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ดี สแควร์อินเตอร์เนชั่นแนล. 196 น.

ศิริพร ขอพรกลาง. 2547. (พิมพ์ครั้งที่ 2). การควบคุมคุณภาพ. บริษัทสกายบุ๊กส์จำกัด.ปทุมธานี. 320 น.
สุวิมล กีรติพิบูล. 2546. ระบบประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารHACCP. ภาควิชา
เทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. 196 น.
รัตนา อัตตปัญโญ. 2544. หลักการควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 277 น.
Mahoney, D. 1994. Quality Technology Module 2 – HACCP. Advanced certificate in food
technology. Regency Institute of TAFE. South Australia. 40p.
Robere & Associates (Thailand) Ltd. ข้อกำหนดระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001-2015. แหล่งที่มา
http://wrp.pwa.co.th/attachment/topic/87/9001-2015_TH_Rev_00_-_Final.pdf วันที่
สืบค้น 15 ส.ค.2561
Sumner, J. 1995. A Guide to Food Quality Assurance. Deviot, Tasmania.
- เอกสารประกอบการสอน
- เอกสารบทปฏิบัติการ
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนด
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9024-2550
- E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น wikipedia คำอธิบายศัพท์ เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
1.1 นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดย.....
2.2 ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษา
การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหารในชั้นเรียน การแทรกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องในบทเรียน การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหารจากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง