พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ

Fundamentals of Information Technology

1.1 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันและในองค์กรด้านต่างๆ ได้
1.4 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจรูปแบบการใช้งานสารสนเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน
1.5 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมได้
1.6 เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาเว็บเบื้องต้นโดยใช้เอชทีเอ็มแอลรุ่น 5.0 ร่วมกับจาวาสคริปต์ได้
-
ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันและในองค์กรด้านต่างๆ รูปแบบการใช้งานสารสนเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ และการพัฒนาเว็บเบื้องต้น เอชทีเอ็มแอลรุ่น 5.0 จาวาสคริปต์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
การสอนแบบบรรยายพร้อมยกตัวอย่างและฝึกปฏิบัติงาน เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทำงาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายให้ถูกระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยไม่ทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านหรือผลงานของผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอนในรายวิชา
พิจารณาจากการส่งงานของนักศึกษาทั้งงานกลุ่มและเป็นรายบุคคลที่เป็นแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา การนำเสนองาน การสังเกตพฤติกรรม การเข้าห้องเรียน การแต่งกายถูกระเบียบของมหาวิทยาลัยและการทำงานเป็นกลุ่ม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติทั้งหมดในรายวิชาโดยใช้สื่อประกอบการสอน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาพร้อม ให้นักศึกษา วิเคราะห์ปัญหา ร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็น ให้นักศึกษาสืบค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาในชั่วโมงเรียน
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินผลจากแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ
3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติ การมอบหมายให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม นำเสนอผลการศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามเพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เป็นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ สังเกตพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบ
มอบหมายงานกลุ่มงานรายบุคคล และการนำเสนอรายงาน

 
ประเมินการเข้าชั้นเรียนและการตรงต่อเวลาของนักศึกษา ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการ นำเสนอ อย่าง เหมาะสม
การนำเสนองาน การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อทางเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (CognitiveSkills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communicationand Information Technology Skills)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบ 5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการ นำเสนอ อย่าง เหมาะสม
1 BSCCT101 พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค 9 และ 18 30% และ 25%
2 1.2, 1.6, 4.1, 4.4, 5.1, 5.3 การค้นคว้า และการส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 2.1, 2.2, 3.2, 3.3 สอบปฏิบัติการเขียนโปรแกรม 14 10%
4 3.2, 3.3, 4.1, 4.4, 5.1, 5.3 การนำเสนอรายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม และการทำงานกลุ่ม 16 15%
5 1.1, 1.2, 1.5, 1.6 จิตพิสัย, การเข้าชั้นเรียน และ การมีส่วนร่วมในการอภิปรายหรือการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- วิโรจน์ ชัยมูล และ สุพรรษา ยวงทอง, 2558, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น.
- กรีวุธ อัศวคุปตานนท์, 2556, เรียนรู้เทคนิคและพัฒนาเว็บไซต์ด้วย HTML5, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : เน็ตดีไซน์ พับลิชชิ่ง จำกัด.
-
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ด้านวิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการโดย
1.1 แบบประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอน โดยฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การพิจารณาผลงานที่มอบหมาย
2.3 การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน
หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยพิจารณาจากประเด็นในการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
3.2 การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบ และหลังการออกผลการเรียน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
4.2 ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนรายงานผลการเรียน
ผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป