การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ

Traditional Northern Food Products Development

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงรูปแบบอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ ตลาดสำหรับอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ เครื่องเทศสำหรับอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ การคิดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ การทดสอบผลิตภัณฑ์และการทดสอบผู้บริโภค การประเมินความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ และการศึกษาดูงานนอกสถานที่
เพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติ่มเนื้อหาในรายวิชาให้ครอบคลุมครบถ้วน และทันสมัย สอดคล้องกับองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับงานพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านทางภาคเหนือ โดยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
รูปแบบอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ ตลาดสำหรับอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ เครื่องเทศสำหรับ อาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ การประเมินและทดสอบผลิตภัณฑ์ และการทดสอบผู้บริโภต การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด และการศึกษาดูงานนอกสถานที่
 
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศให้คำปรึกษาผ่านอีเมล์และเวบบอร์ดของมหาวิทยาลัย หรือ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
           ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ ตลาดสำหรับอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ เครื่องเทศสำหรับอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ
- เข้าใจและประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ การประเมินและทดสอบผลิตภัณฑ์และการทดสอบผู้บริโภค การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
           การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น รวมทั้งการสอนแบบ e-Learning หรือการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษา จากประสบการณ์จริงในเรื่องเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องสร้างความเข้าใจ เป็นต้น ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าว ขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
- การสอบวัดความรู้ เช่น สอบวัดผลแต่ละหน่วยเรียน
- ประเมินผลจากการทำรายงานรายบุคคล หรือ รายงานกลุ่ม
- ประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การสำรวจแนวโน้มของผู้บริโภคเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิต และการทดสอบผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านที่ผ่านการพัฒนา เป็นต้น
จัดกิจกรรมกลุ่มและมอบหมายงานเพื่อฝึกให้นักศึกษาระดมความคิดร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและตอบข้อซักถามต่างๆ ในกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อให้นักศึกษาภายในกลุ่มเสนอแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
           ประเมินจากการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลหรือกลุ่ม การตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบวัดผลแต่ละหน่วยเรียน
     สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
         สอนโดยให้มีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ และการมีการนำเสนอรายงาน
      ประเมินผลจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างทำงานกลุ่มและประเมินผลจากคุณภาพของผลงานของกลุ่ม
           การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบบ e-Learning และวีดีโอ เป็นต้น การนำเสนอข้อมูลของงานที่มอบหมายให้เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการทำงาน การใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มรวมทั้งการนำเสนอโครงการที่เสร็จสิ้น
           การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลที่ได้รับมอบหมายรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอโดยใช้ PowerPoint และวีดีโอ ประกอบการสอนในชั้นเรียน  การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
        ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
     มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
         การสอนโดกระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning) และสอนโดยการฝึกปฏิบัติการจริงในห้องปฏิบัติการ หรือการใช้เครื่องมือ การวิจัย เป็นทักษะทางปัญญา
        ประเมินจากพฤติกรรม/ผลจากการปฏิบัติงาน เช่น การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์       อาหารชนิดต่างๅจากการพัฒนา พร้อมการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3
1 24138305 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 2.4, 3.1, 5.2 การทดสอบแต่ละหน่วยเรียน 2-7, 9-15 70 %
2 2.1, 3.1, 4.1, .5.2, 6.3 การนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย รายงานประกอบ 8, 16 20 %
3 1..1, 2..2, 3..3, 4..1, 5.2 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ ในรายวิชาคะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย 1 - 8, 9 -17 10 %
 คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์. 2550. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์
           คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 420 น.                                           
 ทิพวรรณา งามศักดิ์. 2545. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ขอนแก่น.  175 น.  
 วิริยะจารี. 2545. หลักการทางเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชา พัฒนาผลิตภัณฑ์        
           คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ชียงใหม่. 436 น.
 คงเจริญเกียรติ และ สมพร คงเจริญเกียรติ. 2541. บรรจุภัณฑ์อาหาร. แพคเมทส์, กรุงเทพฯ.  358 น.
 รุ่งนภา วิสิฐอุดรการ. 2540. เอกสารคำสอน : การประเมินอายุการเก็บของอาหาร. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ,
           คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  169 น.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, จิรศักดิ์ จิยะจันทน์, ชวลิต ประภวานนท์, ณดา จันทร์สม และ วลัยลักษณ์
           อัตธีรวงศ์.  2540. การวิจัยตลาด. A. N. การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 310 น.
อนุวัตร แจ้งชัด. 2544. เอกสารประกอบการสอนวิชา 054-355 : สถิติและการวางแผนการทดลอง 
           สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Angle D. And V. Daniel. Design and Analysis of Experiments. Springer, New York. 740 p.
Anna V. A. Resurrection. 1998. Consumer Sensory Testing for Product Development.     
           AspenPublishers, Inc, Maryland. 254 p.
Bruce T. and K. G. Grunert. 1997. Product and Process Innovation in Food Industry.   
           Blackie Academic & Professional, USA. 242 p.
Fuller, G.W. 1994. New Food Product Development from Concept to Marketplace. CRC  Press, Inc.,
           Florida. 270p.
Hu, Ruguo. 1999. Food Product Design : A computer-Aided Statistical Approach.  nomic Publishng   
           Co., Inc. Pennsylvania, USA. 225 p.                               
C. M. D. and A. A., Jones. 1994. Shelf Life Evaluation of Food. Blackie Academic & Professional.London, 
           UK. 321 p.                                                                 
R. M. and D. C. , Montgomery. Response Surface Methodology: Process and Product  Optimization 
           Using Designed Experiments. John Wiley & Sons, Inc. New York, USA. 700 p.
http: //www.fda. moph .go. th
http://www.fda.com
http://www.nfi.or.th
และหนังสืออื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง
 
--
- เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ
     การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
          1. แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
          2. ข้อเสนอแนะผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น เว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
    2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน (ถ้ามี)
    2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา และผลงานโครงการที่สำเร็จตามเป้าประสงค์ของรายวิชา
    2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
        หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรม KM ระหว่างอาจารย์ผู้สอน หรือจากความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
        อาจารย์ผู้สอนมีการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนโดยใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติ
      อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้ร่วมสอน เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้    นำเสนอข้อมูลตามลำดับและหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป
  จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เพิ่ม / เปลี่ยน /สลับอาจารย์ผู้สอนหรือผู้สอนร่วม รวมทั้งอาจารย์พิเศษ เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือผู้ผลิตอาหารพื้นบ้านประเภทต่าง ๆ