การอ่านเพื่อความบันเทิง

Reading for Pleasure

เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะในการอ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ ที่นักศึกษาสนใจ เกิดสุนทรียรส เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์จากการอ่าน
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเภทของการอ่าน ประเภทของงานเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าเพื่อเพิ่มพูนการอ่าน
2.2 เพื่อบูรณาการกระบวนการเรียนการสอนกับผลการวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะ” เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการค้นคว้า
การอ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสนใจ เกิดสุนทรียรส เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
 
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สร้างชั้นเรียนใน Google Classroom เพื่อเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษา และเป็นพื้นที่สำหรับให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงงานมอบหมายต่าง ๆ
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับความรู้ทางวิชาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทนตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 สร้างความมีวินัย ความขยัน และความตรงต่อเวลา โดยกำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ รวมถึงการส่งงานตรงตามกำหนดเวลา
1.2.2 เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองให้กับนักศึกษา โดยการแจ้งเกณฑ์การประเมินผลงานให้นักศึกษาได้รับทราบล่วงหน้า เพื่อให้นักศึกษาได้ผลิตผลงานตามเกณฑ์ และรับผิดชอบต่อผลงานของตนเอง
1.3.1 ความมีวินัยและความขยัน วัดจากความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด
1.3.2 ความรับผิดชอบต่อตนเอง ดูจากผลการทำงานมอบหมายและการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้เกี่ยวกับทักษะการอ่านกับศาสตร์ต่างๆ ที่นักศึกษาสนใจอย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการอ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ ตามความสนใจของนักศึกษา
2.3.1 การสอบภาคทฤษฎี และการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3.2 ผลจากการอ่านงานเขียนที่นักศึกษาเลือกและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาในชั้นเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการอ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาเลือกงานเขียนในศาสตร์ที่สนใจ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อ่านงานเขียน และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานเขียนประเภทต่างๆเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชั้นเรียน โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบใช้งานเป็นฐาน (Task-Based)
ผลจากการอ่านงานเขียนที่นักศึกษาเลือกและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชั้นเรียน
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยการช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนประเภทต่างๆ
สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าเกี่ยวกับการอ่านอย่างเหมาะสม
นำผลจากการวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะ” มาบูรณาการ โดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการค้นคว้า
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในงานมอบหมายในและนอกชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13031025 การอ่านเพื่อความบันเทิง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 วินัยในชั้นเรียน และการทำงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.3, 3.3, 5.3 การสอบภาคทฤษฎี 4 15%
3 2.3, 3.3, 5.3 งานมอบหมายการอ่านรายบุคคล 5-16 75%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการอ่านเพื่อความบันเทิง
Blanchard, K and Root, C. 2005. Ready to Read Now. NY: Pearson Education, Inc. Craven, M. 2003. Extending Reading Keys. Oxford: Macmillan Education. Dyer, B. and Bushell B. 2003. Global Outlook 1. New York: McGraw-Hill Co. Dyer, B. and Bushell B. 2003. Global Outlook 2.New York: McGraw-Hill Co. Ellison, P. 2006. Focus on Comprehension 4. Australia: R I C Learners International Limited. Fry, E. B. 2000. Reading Drills: Elementary Level. Illinois: NTC/Contemporary Publishing Group, Inc . Fry, E. B. 2000. Reading Drills: Middle Level. Illinois: NTC/Contemporary Publishing Group, Inc. Fry, E. B. 2000. Reading Drills: Advanced Level. Illinois: NTC/Contemporary Publishing Group, Inc. Green, C. 2005. Creative Reading. Mcmillan Publishers Ltd. Green, M. 2006. Focus on Comprehension 3. Australia: R I C Learners International Limited. Gould, M. 2006. Focus on Comprehension 2. Australia: R I C Learners International Limited. Mather, P & McCarthy, R. 2005. The Art of Critical Reading. NY: McGraw-Hill, Inc. Mikulecky, B. S. and Jeffries, L. 1996. More Reading Power. USA: Addison-Wesley Publishing Company. Wiener H. S. and BazermanC.. 2006. Basic Reading Skills Handbook. 6th Edition. New York: Pearson Education, Inc. เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและแหล่งงานเขียน หนังสือ สิ่งพิมพ์ และอื่น ๆ ตามความสนใจของผู้เรียน
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา รวมถึงข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ดูจากผลการเรียนของนักศึกษา เกณฑ์การวัดผลและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล และการทวนสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชา
จัดทำสื่อการสอน ตัวอย่าง และบูรณาการกับกระบวนการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะ โดยสร้างพื้นที่แบบ cloud-based ให้นักศึกษาเข้าไปทบทวนเนื้อหาได้ตามต้องการ ในเวลาที่สะดวกต่อนักศึกษา และเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงส่งงานมอบหมาย
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4