การแปลงานเขียนทางวิชาการ

Academic Writing Translation

เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้รูปแบบ ลักษณะงานเขียนทางวิชาการ ฝึกทักษะการแปลงานเขียนทางวิชาการในสาขาต่างๆ ทั้งจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค2/2560) มาปรับปรุงในด้านการสอน ดังนี้
      ผลประเมินด้านการสอน

มีการแจ้งกำหนดการสอน วัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหา และวิธีการวัดและประเมินผล (4.83)

ปรับปรุงโดยชี้แจงเกณฑ์ในการประเมินผลงานแปล งานมอบหมาย พร้อมทั้งแนวทางปรับปรุงผลงานให้นักศึกษาทราบอย่างสม่ำเสมอ
2.2  จัดทำสื่อการสอนเพิ่มเติมตัวอย่างและบูรณาการกับกระบวนการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะโดยสร้างพื้นที่แบบ cloud-based ให้นักศึกษาเข้าไปทบทวนเนื้อหาได้ตามต้องการในเวลาที่สะดวกต่อนักศึกษา
การเรียนรู้รูปแบบลักษณะงานเขียนทางวิชาการ ฝึกทักษะการแปลงานทางวิชาการในสาขาต่างๆ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- แจ้งช่องทางติดต่อทาง social network เพื่อเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษาและส่งงาน
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1.1.1 ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพการแปลในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 สร้างความมีวินัย ความขยัน และความตรงต่อเวลา โดยกำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ รวมถึงการส่งงานตรงตามกำหนดเวลา
1.2.3 เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองให้กับนักศึกษา โดยการแจ้งเกณฑ์การประเมินผลงานให้นักศึกษาได้รับทราบล่วงหน้า เพื่อให้นักศึกษาได้ผลิตผลงานตามเกณฑ์ และรับผิดชอบต่อผลงานของตนเอง
1.3.1 ความเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาชีพ วัดจากการสอบกลางภาคและปลายภาค และจากผลงานข้อเขียนที่มอบหมาย
1.3.2 ความมีวินัยและความขยัน วัดจากความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด
1.3.3 ความรับผิดชอบต่อตนเอง ดูจากผลการทำงานมอบหมายและการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชา
2.1.1 ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องลักษณะของข้อเขียนทางวิชาการ หลักการแปลข้อเขียนทางวิชาการ ส่วนในทางปฏิบัติ เน้นการฝึกแปลข้อเขียนทางวิชาการประเภทต่าง ๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
2.1.2 ด้านการนำความรู้ทางการแปล ไปบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งสายสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ task-based learning โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกวิเคราะห์ ปฏิบัติการแปลตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน โดยผู้สอนให้คำอธิบายประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในบทเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจก่อนฝึกปฏิบัติ
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทางวิชาการประเภทต่างๆ ที่กำหนดให้และที่เลือกเอง
2.3.1 ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากผลการทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานการฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนทางวิชาการประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.3 ผลงานการนำความรู้และทักษะทางการแปล ไปบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งสายสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการแปลงานเขียนทางวิชาการประเภทต่าง ๆ ในระดับประโยค ย่อหน้า และข้อความ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยในการค้นคว้า
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งานแปลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานแปลงานเขียนทางวิชาการ
3.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารจริง โดยเลือกเอกสารต้นฉบับเอง
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
 3.3.2 ผลงานการแปลเอกสารทางวิชาการประเภทต่าง ๆ
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักนำความรู้ในศาสตร์ของตน มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
จัดให้นักศึกษาได้ทำฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทางวิชาการและนำผลงานมาเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ
ประเมินจากการฝึกปฏิบัติการแปลของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแปลอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแปลงานทางวิชาการประเภทต่างๆ โดยบูรณาการกับผลการวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานด้วยหลักการ 3 ระยะต่อเนื่อง”
ประเมินจากผลงานมอบหมายและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3
1 13031036 การแปลงานเขียนทางวิชาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.2,2.1 การสอบภาคทฤษฎี 4 10%
3 1.2,2.1 การสอบภาคปฏิบัติ 17 15%
4 1.2,2.1 กิจกรรมฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน 2-3,5,9,13 15%
5 2.3,3.3,5.3 งานมอบหมาย (การแปลเอกสารทางวิชาการ) 5-16 50%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการแปลงานเขียนเชิงวิชาการ
1.   ทิพา เทพอัครพงศ์. 2547. การแปลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2.   ประเทือง ทินรัตน์. 2543. การแปลเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3.   ปัญญา บริสุทธิ์. 2540. ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน.
4.   นเรศ สุรสิทธิ์. 2544. การแปลภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคง่ายๆ. กรุงเทพฯ บริษัทดวงกมลสมัย จำกัด.
5.   มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา. 2548. การแปล: หลักการและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6.   รัชนีโรจน์ กุลธำรง. 2552. ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล.  กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7.   วรรณา แสงอร่ามเรือง. 2542. ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8.   สิทธา พินิจภูวดล. 2539. “หลักการแปล” เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 15. กรุงเทพฯ  มสธ.
9.   สิทธา พินิจภูวดล. 2542. คู่มือนักแปลอาชีพ. กรุงเทพฯ บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด.
10.  สุพรรณี  ปิ่นมณี. 2546. การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. สุพรรณี ปิ่นมณี. 2555. แปลผิด – แปลถูก: คัมภีร์การแปลยุคใหม่. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. Gurdial Singh, K.K. 2005. “A competent translator and effective knowledge transfer,” Translation Journal. http://accurapid.com/journal/34edu.htm
13. Osimo, B. 2004. Translation. http://www.logos.it/translation_course/index_en.html
14. Razmjou, L. “To be a good translator,” http://www.translationdirectory.com/
15. Rubrecht, B. 2005. “Knowing before learning,” Translation Journal. http://accurapid.com/journal/32edu.htm
16. เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการแปลภาษา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา รวมถึงข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนดูจากผลการเรียนของนักศึกษา เกณฑ์การวัดผลและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล และการทวนสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชา
3.1 นำผลประเมินการสอนที่ได้จากภาคเรียนที่ 2/2560 มาปรับปรุงในด้านการชี้แจงเกณฑ์ประเมินคุณภาพของงานมอบหมาย โดยจัดทำเป็น Rubrics มีการแจ้งเกณฑ์การตรวจสอบผลงานให้นศ.ทราบล่วงหน้า และมีการให้ feedback ผลงานให้นศ.ทราบอย่างสม่ำเสมอ
3.2 จัดทำสื่อการสอน เพิ่มเติมตัวอย่าง และบูรณาการกับกระบวนการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะ โดยสร้างพื้นที่แบบ cloud-based ให้นักศึกษาเข้าไปทบทวนเนื้อหาได้ตามต้องการ ในเวลาที่สะดวกต่อนักศึกษา
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา ข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งกลางภาคและปลายภาคและเกณฑ์การประเมินผลงาน
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4