ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 1

Electronic Circuits 1 Laboratory

    1. ปฏิบัติการออกแบบและวิเคราะห์วงจรแหล่งจ่ายไฟแบบเชิงเส้นและแบบสวิตชิ่ง
    2. ปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรไบอัสทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์
    3. ปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรขยายสัญญาณด้วยระบบพารามิเตอร์ (2 port)
    4. ปฏิบัติการออกแบบและวิเคราะห์วงจรทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์ขยายสัญญาณ
    5. ปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรไบอัสทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า
    6. ปฏิบัติการออกแบบและวิเคราะห์วงจรทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าขยายสัญญาณ
    7. ปฏิบัติการวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงความถี่ของวงจรขยายสัญญาณและวงจรขยายสัญญาณหลายภาค
    8. ปฏิบัติการออกแบบและวิเคราะห์วงจรขยายกำลัง
    9. ปฏิบัติการออกแบบและวิเคราะห์วงจรขยายแบบป้อนกลับ
    10. ปฏิบัติการออกแบบและวิเคราะห์วงจรขยายความแตกต่างและวงจรขยายเครื่องมือวัด
    11. เห็นความสำคัญของวิชาปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 1
    เพื่อให้นักศึกษา มีทักษะในหลักการออกแบบและวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการแทนพฤติกรรมของอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งทางไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจในหลักการทำงาน การออกแบบและวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 1
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
     พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
     1.1.1  เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรมจริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
     1.1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
     1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
     1.1.4  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
     1.1.5  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.5)
     กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย การปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ มีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้นนอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม อาทิ การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แต่ส่วนรวม และเสียสละ
โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
     1.2.1  สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
     1.2.2  สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
     1.2.3  เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
     1.2.4  ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
     1.2.5  เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
     1.2.6  ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
     1.2.7  ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
     1.3.1  ประเมินจาการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
     1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     1.3.3  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
     1.3.4  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
     2.1.1  มีความรู้และความเข้าในในทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
     2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
     2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
     2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.4)
     2.1.5  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.5) โดยที่ในรายวิชา 32122213 ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 1 เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาและจะต้อง สามารถปฏิบัติการในเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบและวิเคราะห์วงจรขยายแบบป้อนกลับ วงจรขยายกำลังเทคนิคการให้ไบอัสทรานซิสเตอร์แบบกราฟิกคอล การวิเคราะห์ทรานซิสเตอร์ด้วยระบบพารามิเตอร์ วงจรขยายสัญญาณหลายภาค การตอบสนองความถี่ของการเชื่อมต่อแบบต่างๆ วงจรขยายสัญญาณด้วย
    การปฏิบัติการทดลอง  อภิปราย การทำใบการปฏิบัติการทดลองและการนำเสนอ Term Project ซึ่งเป็นงานที่มอบหมายให้ศึกษาและสร้าง เพื่อศึกษาค้นคว้าและบูรณาการความรู้จากรายวิชาดังกล่าวนี้ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     2.3.1  ผลการเตรียมการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง การบันทึกผลการทดลอง การสรุปผลการทดลอง ตลอดจนการอภิปรายผลการทดลองและการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและบูรณาการความรู้จากการสร้างและทดสอบ Term Project โดยใช้ใบการปฏิบัติการทดลองที่มีหัวข้อครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชา การปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 1 โดยเน้นการวัดความเข้าใจหลักการ การคำนวณเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์วงจร
     2.3.2  ประเมินจากการนำเสนอรายงาน
     3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
     3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
     3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.3)
     3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.4)
     3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.5)
     3.2.1  การมอบหมายใบปฏิบัติการทดลอง/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
     3.2.2  การมอบหมายงาน (Term Project) ให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
     3.2.3  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
     3.3.1  ประเมินผลจากผลการเตรียมการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง การบันทึกผลการทดลอง การสรุปผลการทดลอง ตลอดจนการอภิปรายผลการทดลองและการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและบูรณาการความรู้จากการสร้างและทดสอบ Term Project
     3.3.2  วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
     3.3.3  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
     4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
     4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่มรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
     4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
     4.1.4 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
     4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.5)
     4.2.1  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล โดยการดำเนินการปฏิบัติการทดลอง และการศึกษา สร้าง Term Project หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
     4.2.2  การนำเสนอรายงาน
     4.2.3  ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
     4.3.1  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา การมีส่วนร่วมในระหว่างการเรียนการสอน
     4.3.2  ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ 
     4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
     4.3.4  ประเมินพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
     5.1.1  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
     5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
     5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
     5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.4)
     5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.5)
     5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
     5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
     5.2.3  ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
     5.3.1  ประเมินรูปแบบรายงานการที่นำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
     5.3.2  ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
     5.3.3  ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
     5.3.4  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล
     การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดังข้อต่อไปนี้
     6.1.1  มีความรู้ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานได้เป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
     6.1.2  สามารถออกแบบวงจร วิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้เพื่อทำงานทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้ดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
     จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
     6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
     6.2.3  สนับสนุนการทำ Term Project
     6.3.1  ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
     6.3.3  ประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
     6.3.4  ประเมินผลงาน Term Project ของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 6.1 6.2
1 32122213 ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.4, 3.2, 5.5, 6.1, 6.2 1) ผลการเตรียมการทดลอง 2) ผลการปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง 3) การสรุปผลการทดลอง และการอภิปรายผลการทดลอง 4) การอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและบูรณาการความรู้จากการสร้างและทดสอบ Term Project ตลอดภาคการศึกษา 80%
2 1.5, 2.4, 4.5, 5.2, 6.1 1) การส่งใบปฏิบัติการทดลองตามที่มอบหมาย 2) การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.2, 4.1, 4.4 1) การเข้าชั้นเรียน 2) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
     1. Robert Boylested and Luis Nashelsky, ELECTRONICS DEVICES AND CIRCUIT THEORY, 8th Edition, 2002
     2. Robert T.Paynter, INTRODUCTORY ELECTRONIC DEVICES AND CIRCUITS, 4th Edition,1989
     3. Donald A.Neamen, MICROELECTRONICS: CIRCUIT ANALYSIS AND DESIGN, 3rd Edition, 2007
     5. Ali Aminian and Marian Kazimierczuk, Electronic Devices A Design Approach, 2004
     6. Theodore F. Bogart Jr., Jeffrey S. Beasley and Guillermo Rico, ELECTRONIC DEVICES AND CIRCUITS, 6th Edition, 2004
     7. Charles K.Alexander and Matthew N.O.Sadiku, FUNDAMENTALS OF ELECTRIC CIRCUITS, International Edition, 2000
     8. Stanley G. Burns and Paul R. Bond, PRINCIPLES OF ELECTRONIC CIRCUITS, Secound Edition, 1997
     9. Adel S. Sedra and Kenneth C. Smith, Microelectronic Circuits, 4th edition, HRW,1998, ISBN 0-19-511663-1.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
    1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
    1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
    2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
    2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
    2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
    3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
    3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
    4.1   มีการตั้งคณะกรรมการอาจารย์ประจำหลักสูตร  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
    4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร  หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
    จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
    5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
    5.2   ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4