ชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม

Biology for Environmental Engineers

รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาพื้นฐานสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นิเวศวิทยาพื้นฐาน จุลชีววิทยาพื้นฐาน และจุลชีววิทยาประยุกต์ ได้แก่ จุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม การแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศของจุลินทรีย์ในการหมุนเวียนแร่ธาตุ ตลอดจนการนำจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้โดยวิศวกรสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เทคโนโลยีในบำบัดน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การบำบัดน้ำเสียและของเสียชุมชน รวมถึงรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับภาคปฏิบัติการชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเก็บรวบรวม และรักษาน้ำตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์บ่งชี้เพื่อใช้บอกคุณภาพทางด้านทางด้านแบคทีเรียในน้ำและน้ำเสีย เป็นต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานวิชาชีพเกี่ยวกับชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปใช้ศึกษาต่อในวิชาชีพทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติต่อไปได้อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง
ศึกษาเกี่ยวกับเซล และโครงสร้างของเซล หลักพื้นฐานด้านแบคทีเรีย วิธีการรวบรวม และตรวจสอบทางแบคทีเรียในน้ำและน้ำเสีย การทำงานของเอนไซม์ สารอินทรีย์และการย่อยสลายทางชีวภาพของสารอินทรีย์ เมตาบอลิซึมของเซลมีชีวิต แนวคิดพื้นฐานของนิเวศวิทยา ได้แก่ พลังงาน ห่วงโซ่อาหาร ผลผลิต และปัจจัยจำกัด การเปลี่ยนแปลงกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในระบบบำบัดน้ำเสียชีวภาพ
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษานัดหมาย - นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียนและนอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์ หรือ ติดต่อทาง e-mail address ที่ rungnapha@rmutl.ac.th
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนทุกครั้งทั้งภาคบรรยายและปฏิบัติการ 1.2.2 แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก 1.2.3 แนะนำเอกสารและตำราหลักที่ใช้ประกอบการเรียน และแจ้งกำหนดการทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการตลอดภาคเรียน ตลอดจนวันทดสอบย่อยของแต่ละบทปฏิบัติการ 1.2.4 มอบหมายรายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงานกลุ่ม ติดตามผล 1.2.5 แจ้งสัดส่วนการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 1.3.2 การพิจารณาจากรายงานที่มีคุณภาพ ซึ่งแสดงพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มที่รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม 1.3.3 มีการอ้างอิงเอกสารในรายงานอย่างถูกต้องเหมาะสม 1.3.4 การกระทำซื่อสัตย์สุจริตในการสอบหรือลอกรายงานของผู้อื่น
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวพื้นฐานวิชาชีพด้านชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ศึกษาต่อในวิชาชีพอื่นๆ ในหลักสูตรวิศวกรรม สิ่งแวดล้อมต่อไป 2.1.2 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.2.1 บรรยาย อภิปราย นักศึกษาเรียนรู้จากสื่อประกอบการสอน การเรียนรู้ด้วยตนเองจากหนังสืออ่าน ประกอบการทำงานกลุ่ม การทำรายงาน การนำเสนอผลงานกลุ่ม
2.3.1 ทดสอบย่อยแต่ละบทปฏิบัติการ และสอบภาคปฏิบัติการ 2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการ 2.3.3 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอผลงานกลุ่มตามที่ได้มอบหมาย
3.1.1 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้ความรู้พื้นฐานวิชาชีพชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อมไปใช้ในวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม เช่น การพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1 อภิปรายกลุ่ม 3.2.2 นักศึกษาลงมือปฏิบัติการ โดยอาจารย์สาธิตเทคนิคต่างๆ ที่ต้องใช้ เพื่อฝึกทักษะการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาพื้นฐาน และตรวจวิเคราะห์น้ำตัวอย่างที่ไปเก็บจากแหล่งน้ำจริงตามที่ได้มอบหมาย และมีการนำเสนอผลงานกลุ่ม
3.3.1 สอบปฏิบัติการกลางภาคและปลายภาค 3.3.2 สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน 3.3.3 วัดผลจากการประเมินรายงาน และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการปฏิบัติการเก็บน้ำและตรวจวิเคราะห์น้ำทางชีววิทยาตามที่ได้รับมอบหมายแต่ละกลุ่ม 4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคลในการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ 4.2.3 มอบหมายรายงานกลุ่มและการนำเสนอรายงานกลุ่ม
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงออกในการร่วมกิจกรรม 4.3.2 ประเมินจากรายงานกลุ่มที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับงานวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาสำหรับการทำงานด้านวิชาชีพได้ สื่อสารข้อมูล สื่อความหมายโดยการใช้สัญลักษณ์ และการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
5.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากหนังสือประกอบในห้องสมุด สื่อการสอนที่ใช้สอนในห้องเรียน และเวปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา 5.2.2 กิจกรรมเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงที่เป็นเทคนิคเฉพาะสำหรับงานวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา โดยให้รวมเป็นกลุ่มและการแก้ปัญหาที่เหมาะสมในงานวิเคราะห์ตัวอย่างจริง
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และการอภิปรายผล
6.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สนับสนุนการทำโครงงาน
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการประเมินผลงานของนักศึกษา
6.3.3 มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติตามเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGEV103 ชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 3.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 และ 4 สอบปลายภาค 4 7 9 12,13 17 5% 5% 30% 10% 30%
2 4.1, 5.3 รายงานบุคคล รายงานกลุ่มและผลงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 5% 10%
3 1.1, 1.3, 3.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
ชื่อหนังสือ “ชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม” ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ชื่อผู้แต่ง ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ
ชื่อหนังสือ : Microbiology for Environmental Scientists and Engineers. ชื่อผู้แต่ง : Gaudy,A.F. and Gaudy,E.T. (1980) ชื่อหนังสือ : จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ชื่อผู้แต่ง : วีรานุช หลาง (2554) ชื่อหนังสือ : Microbiology. ชื่อผู้แต่ง : Pelczar,M.J. et al.(1980) ชื่อหนังสือ : Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 20th edition. ชื่อผู้แต่ง: APHA,AWWA,WEF. (1980)
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 2.3 ผลงานที่มอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย สอดคล้องกับหลักสูตร 3.2 ปรับปรุงกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นพื้นฐานวิชาชีพในด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา ได้แก่ รายงานภาคปฏิบัติการของรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อดูพัฒนาการของนักศึกษาในการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียน ตลอดจนมีทักษะในด้านปฏิบัติการได้ดี 4.2 มีการแจ้งผลคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคในเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ 5.2 ปรับปรุงสื่อการสอนให้ทันสมัยและน่าสนใจตลอดเวลา 5.3 การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ทำทดลองในห้องปฏิบัติการให้ทันสมัย เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงต่อไป