ปฏิบัติการฮาร์ดแวร์

Hardware Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น เครื่องมือสำรับ การทำงานด้านระบบเครือข่าย และระบบสื่อสารข้อมูล 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น เครื่องมือสำหรับ การทำงานด้านระบบเครือข่าย และระบบสื่อสารข้อมูล 
ปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น เครื่องมือสำหรับการทำงานด้าน ระบบเครือข่าย ระบบสื่อสารข้อมูล 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบ มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยมีคุณธรรม และจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการลอกใบงานของผู้อื่น อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี เสียสละ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3  ปริมาณการกระทำทุจริตในการลอกใบงานของผู้อื่น
1.3.4  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ตามมาตรฐานความรู้ต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถปฏิบัติ และเข้าใจในระบบของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม สามารถออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการในระบบฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางด้านฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้จริง สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย และอภิปรายใบงาน การทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติตามใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำผลการทดลองจากการฝึกปฏิบัติมาสรุปและนำเสนอ
2.3.1   จากผลการทดสอบ ทดลองปฏิบัติใบงาน การเขียนผลการทดสอบ และสรุปผลการทดลอง
2.3.2   จากผลการสรุปข้อมูลที่นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ  มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น เครื่องมือสำรับ การทำงานด้านระบบเครือข่าย ระบบสื่อสารข้อมูล
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำใบงาน และนำเสนอผลการปฏิบัติงาน อภิปรายกลุ่ม
3.2.2   วิเคราะห์กรณีศึกษา ของเทคโนโลยีปฏิบัติการฮาร์ดแวร์                                              
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการปฏิบัติใบงาน
3.3.1   จากผลการการปฏิบัติใบงาน โดยใบงานที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
3.3.2   วัดผลจากการประเมินปฏิบัติใบงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา หรือข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น เครื่องมือสำรับ การทำงานด้านระบบเครือข่าย ระบบสื่อสารข้อมูล
4.2.3  การนำเสนอการปฏิบัติใบงาน
4.2.4  แทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างสอนโดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ
4.3.1  สังเกตพฤติกรรมการทำงาน และความรับผิดชอบ
4.3.2  มนุษย์สัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในกลุ่ม
4.3.3  ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย    
5.1.1   ทักษะการปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำใบงานและนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองโดยการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร  
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจาก  Website และสื่อการเรียน  E-learning ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูล  และทำใบงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3  ท้าทายเชิงวิชาการต่อนักศึกษาในระหว่างการสอนโดยการตั้งคำถามที่มาจากปัญหาจริงใน
5.3.1   ประเมินจากใบงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.3, 3.1, 3.3, 4.1,5.1-5.2, 6.2,7.1,8.3 ปฏิบัติใบงาน 1 ปฏิบัติใบงาน 2 - 4 ปฏิบัติใบงาน 5 – 7 ปฏิบัติงาน 8 4 8 12 17 20% 20% 20% 20%
2 2.1 – 2.3, 6.1-6.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม ปฏิบัติใบงานในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
            [1] จักรี รัศมีฉาย, เอกสารประกอบการสอนวิชา การสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอล. คณะครุศาสตร์
                   อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล , 2544
          [2] Ehrouz .A. Forouzan. Data Communication and Networking 2nd McGRAW-HALL
               International Edition. 2000
          [3] Stalling. William. Data and Computer Communication 5th ed. Prentice Hall  Publishing Company, 1996
          [4] Simon Haykin, "Communications System 4th ed", John Wiley & Sons, 2001.
- ใบงานเกี่ยวกับปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น เครื่องมือสำหรับ การทำงานด้านระบบเครือข่าย และระบบสื่อสารข้อมูล 
เว็บไซต์สืบค้น หรือสารานุกรม ได้แก่ Google, Wikipedia
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการปฏิบัติใบงาน
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบปฏิบัติใบงาน วิธีการให้คะแนน และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ