ภาษาจีนพื้นฐาน 1

Foundation Chinese 1

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางภาษาจีนในเบื้องต้น เน้นการออกเสียงอย่างถูกต้องตามมาตรฐานภาษาจีนกลาง การเขียนตัวอักษรจีนอย่างถูกต้องตามระบบ และการใช้คำ วลี ประโยคสำหรับชีวิตประจำวันทั่ว ได้ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความทักษะการใช้ภาษาจีนกลางทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนในระดับเบื้องต้น และนำไปต่อยอดสำหรับการศึกษาภาษาจีนในระดับสูงด้านวิชาการหรือวิชาชีพต่อไปได้
ศึกษาและฝึกพื้นฐานของภาษาจีน ได้แก่ ระบบการออกเสียงระบบสัทอักษร ศึกษาวิธีการเขียนอักษรจีนตามลำดับขีด วิธีการเขียนอักษรจีนให้ถูกต้อง ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนจากคำศัพท์ วลี และประโยคอย่างง่ายๆ
ทุกวันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 08:00 - 18:00 น. ผ่านการนัดล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.3 มีวิจัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 อธิบายและอภิปรายถึงจิตสำนึกสาธารณะและคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรมที่ช่วยสร้างสรรค์และจรรโลงโลกและสังคมโดยยกตัวอย่างหลักปรัชญาจีนโบราณ 1.2.2 อธิบายถึงความสำคัญและประโยชน์ของการมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมฝึกปฏิบัติ
1.3.1 การสังเกตพฤติกรรมส่วนบุคคลภายในช้ันเรียนและการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย 1.3.2 การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดเวลา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยาย อภิปราย การทำ งานเดี่ยว คู่ และกลุ่ม 2.2.2 ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากสถานการณ์ปัจจุบัน 2.2.3 ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ศึกษากับวิชาชีพและความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค 2.3.2 การฝึกปฏิบัติภายในช้ันเรียน 2.3.3 การมอบหมายงานภายนอกห้องเรียน
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การบรรยายและอภิปราย 3.2.2 การยกตัวอย่างประกอบ
3.3.1 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค 3.3.2 การฝึกปฏิบัติภายในชั้นเรียน 3.3.3 การมอบหมายงานภายนอกห้องเรียน
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 กำหนดกฎสำหรับรายวิชาภายในชั้นเรียน 4.2.2 ฝึกปฏิบัติภายในชั้นเรียน
4.3.1 การสังเกต
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 อธิบายการเลือกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 5.2.2 แนะนำแอพพลิเคชั่นบนเครือข่ายอินเตอร์เนทและบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองได้
5.3.1 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค 5.3.2 การฝึกปฏิบัติภายในชั้นเรียน 5.3.3 การมอบหมายงานภายนอกห้องเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวิจัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 13042001 ภาษาจีนพื้นฐาน 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.2, 5.1.1, 5.1.3 การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค 9 และ 18 30% และ 30%
2 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 4.1.1 การทดสอบย่อย การสังเกต การมอบหมายงาน 5, 10, 15, 17 30%
3 1.1.1, 1.1.3, 4.1.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การสังเกต ทุกสัปดาห์ 10%
刘珣 (主编). 张凯等 (编者). 2009. 新实用汉语课本. 第一册. 北京 : 北京语言大学出版社.
ไม่มี
http://www.zhongwen.com http://zh.wiktionary.org/ http://www.zdic.net https://www.hsk.academy/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนาเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน 1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์การสอนของอาจารย์ผู้สอนอื่น 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 นำเทคนิคการสอนและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน