การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม

Beverage Product Development

1. รู้และเข้าใจความหมายของเครื่องดื่ม และสามารถจำแนกชนิดของเครื่องดื่มต่างๆ ได้
2. รู้และเข้าใจหน้าที่ของส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ และสามารถอธิบายถึงส่วนประกอบที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มได้
3. อธิบายสาเหตุและการป้องกันการเสื่อมเสียของเครื่องดื่ม
4. สามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่มไปใช้ในการพัฒนาสูตร และกระบวนการผลิตเครื่องดื่มต่างๆ ได้ถูกต้องตามกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ และสอดคล้องความต้องการของผู้บริโภคและตลาด
5.  มีทักษะในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ จนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการของเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่มในระดับอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง ที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีระบบที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หลังจากการจบการศึกษาไปแล้ว
2. เพื่อให้เนื้อหารายวิชาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
3. เพื่อปรับเนื้อหารายละเอียดของรายวิชาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีระบบที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานหรือนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารหลังจากการจบการศึกษาไปแล้ว
ศึกษาเกี่ยวกับชนิดและองค์ประกอบของเครื่องดื่ม วิธีการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มน้ำผลไม้เข้มข้น เครื่องดื่มน้ำผลไม้ผง เครื่องดื่มไวน์ผลไม้ การสำรวจแนวโน้มของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิต  การทดสอบผลิตภัณฑ์และการทดสอบผู้บริโภค  
Study on types and composition of beverages; production process of beverages such as fruit juice, concentrated fruit juice, fruit juice powder, wine and fruit wine; survey of consumer trend for beverage product; formula and production process development; product and consumer testing.
4 ชั่วโมง
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2.  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4.  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. การสอนแบบบูรณาการ และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ที่มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมทั้งในเนื้อหาทั้งภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติ กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการ เข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์และการเสียสละแก่ส่วนรวม
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนการส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
4. พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจ ซักถามประเด็นด้านจริยธรรม
1.  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
š3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงเป็นวิทยากรพิเศษ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. สอนแบบบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ให้นักศึกษาฝึกการแก้ไขโจทย์ปัญหาจาก Problem – based Learning และสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. มอบหมายงานกลุ่มเพื่อศึกษากรณีศึกษาพร้อมอภิปราย
3. การอภิปรายกลุ่มจากผลการปฏิบัติ
4. ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ หรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอนแบบบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยการสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตรหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้น เรียน การตอบข้อซักถามของอาจารย์และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริงแล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
1. สามารถบริหารจัดการด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2. สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
3. มีทักษะการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์และวิธีการให้ได้มาซึ่งกระบวนการแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างเหมาะสม
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 1.
1 24138307 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 2.3, 3.1, 4.3, 6.2, 6.3 1. การเข้าชั้นเรียน 2. การส่งรายงานตรงเวลา 3. การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4. การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
2 2.1, 2.3, 3.1 การทดสอบย่อย 3 ครั้ง 4, 6, 10 30%
3 2.1, 2.3, 3.1 การสอบกลางภาค 9 25%
4 2.1, 2.3, 3.1, 4.3, 6.2, 6.3 การนำเสนองาน/การรายงาน ทุกสัปดาห์ 15%
5 2.1, 2.3, 3.1 การสอบปลายภาค 17 25%
1. กรรณิการ์ สิริสิงห์. 2525. เคมีของน้ำโสโครกและการวิเคราะห์. บริษัทประยูรวงศ์จำกัด, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 2.  387 น.
2. งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. 2546. เอกสารประกอบการฝึกงานนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
3. ธีรวัลย์  ชาญฤทธิเสน.  2543.  เรียนรู้การทำไวน์ผลไม้ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2, บริษัทบาร์โค้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, กรุงเทพฯ.  85 หน้า.
4. ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน  ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ ณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม และวิมลศรี สิริพัฒนากุล. 2545. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลกระทบของสายต้น ความสุกแก่และกระบวนการแปรรูปที่มีต่อคุณภาพของน้ำมะม่วงและไวน์มะม่วงจากมะม่วงสามปี (Mangifera indica L.). สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ.
5. ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน นิอร โฉมศรี ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา พยุงศักดิ์  มะโนชัย และวสันต์ เจ้ากลดี. 2547. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การผลิตไวน์ลำไยในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ.
6. ปรรัตน์ ศุภมิตรโยธิน. 2556. เทคโนโลยีผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. 280 น.
7. ไพบูลย์  ธรรมรัตน์วาสิก. 2532. กรรมวิธีแปรรูปอาหาร. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
8. ไพโรจน์  วิริจารี. 2535. เครื่องดื่ม. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
9. ไพโรจน์  วิริจารี. 2535. วิธีทางอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
10. ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ  ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน  รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา  พยุงศักดิ์ มะโนชัย  และณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม. 2548. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลของกระบวนการแปรรูปกระชายที่มีต่อสารฟลาโวนอยด์และคุณภาพบางประการในผลิตภัณฑ์กระชาย (Boesenbergia pandurata Holtt.). สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และคณะเกษตรศาสตร์บางพระ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กระทรวงศึกษาธิการ.
11. ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ  ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน  พยุงศักดิ์ มะโนชัย  รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา    และณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม. 2548. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลของวิธีการเก็บรักษาเนื้อมะม่วงสามปี (Mangifera indica L.) บดที่มีต่อปริมาณแคโรทีนและคุณภาพของเครื่องดื่มน้ำมะม่วงและไวน์มะม่วง. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ.
12. รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535. วิศวกรรมแปรรูปอาหาร: การถนอมอาหาร. ภาควิชา      อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพ ฯ.
13. วราวุฒิ ครูส่ง. 2538. จุลชีววิทยาในขบวนการแปรรูปอาหาร. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์ กรุงเทพฯ
14. วิไล  รังสาดทอง. 2552. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด,กรุงเทพฯ. 500 น.
15. ศิริลักษณ์ สินธวาลัย. 2522. ทฤษฎีอาหาร เล่ม 2 : หลักการถนอมอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหาร.  โรงพิมพ์ บำรุงนุกูลกิจ. กรุงเทพฯ.
16. ศิวาพร  ศิวะเวช. 2529. วัตถุเจือปนในอาหาร 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
17. อรพิน  ภูมิสมร.  2526.  จุลินทรีย์ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง.  ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
18. อรพิน ภูมิภมร. 2526.  ระบบชีวภาพที่สำคัญต่อเทคโนโลยีชีวภาพ  เล่มที่ 2: จุลินทรีย์ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
19. Abilio, F.Z.  2001. The Port Wine Guide.  Norprint-Artes Graficas, S.A.  Portugal.
20. Alan, H.V. and Jane, P.S. 1994. Beverages Technology, Chemistry and Microbiology.  Chapman & Hall. London. 464 P.
21. Amerine, M.A., Berg; H.W. and Cruess; W.V. 1972.  The Technology of Wine Making. 3 rd. Westport  Connecticut.
22. Amerine, M.A. and Ough, C.S. 1974. Wine and Must Analysis. New York : John Willey & Sons.
23. Arts, I.C, Hollman, P.C, Feskens, E.J, Bueno de Mesquita, H.B, Kromhout, D. 2001. Catechin intake might explain the inverse relation between tea consumption and ischemic heart disease: the Zutphen Elderly Study. Am J Clin Nutr. 74 (2): 227 - 32.
24. Astill, C., Birch, M.R., Dacombe, C., Humphrey, P.G, Martin, P.T. 2001. Factors affecting the caffeine and polyphenol contents of black and green tea infusions.      J Agric Food Chem., 49(11): 5340 – 5347.
25. Branen, A.L., Davidson, P.M., and Salminen, S. 1990. Food Additives. Marcel Dekker, Inc.  New York and Basel. 736 p.
26. Chomsri, N., T. Chanrittisen, P. Srisamatthakarn, Schmitz, C., and W. Jaokondee. 2003.  Effects of Composition in Longan Must on the Growth Rates, Cell Biomass, and Fermentation of Wine Yeasts. Proceeding CD-ROM, The 1st International Symposium and Workshop on “Insight into the World of Indigeneous Fermented Foods for Technology Development and Food Safety” August 13-15, 2003, Kasetsart  University, Bangkok. Thailand.
27. Daris, B. and Stone, S. 1988. Food and Beverage Management. Redwood Bura Ltd., Trowbridge, Wiltshire.
28. Gavin, A. and L.M. Wedding, 1995. Canned Foods: Principles of Thermal Process control, Acidification and container Closure Evaluation, 6th Ed. The Food Processor.
29. Graham, H.N. 1992. Green tea composition, consumption, and polyphenol chemistry. Prev Med. 21 (3): 334 – 350.
30. Hammerstone, J.F, Lazarus, S.A, Mitchell, A., Rucker, R., Schmitz, H.H. 1999. Identification of procyanidins in cocoa (Theobroma cacao) and chocolate using high-performance liquid chromatography/mass spectometry. J Agric Food Chem.,          47: 490-6.
31. Henk,  M. 1991. Volatile Compounds in Foods and Beverages. Marcel Dekker,Inc. New York.
32. Imura, N. and Matsuda, O. 1992. Volatile aroma recovery from roasted coffee by steaming and its effects on soluble coffee products. Nippon Shokuhin Kogyo Gakkaishi, (39): 531-535.
33. Lakenbrink, C., Lapczynski, S., Maiwald, B., Engelhardt, U.H. 2000. Flavonoids and other polyphenols in consumer brews of tea and other caffeinated beverages. J Agric Food Chem., 48(7): 2848 – 2852.
34. Lea,  A.G.H. and Piggott, J.R. 1995. Fermented Beverage Production. Blackie Academic & Professional. London. 428 P.
35. Marian, W. and Baldy. 1994. The University Wine Course. San Francisco. The Wine Appreciation Guild.
36. Minifie, B.W. 1989. Chocolate, Cocoa and Confectionery Science and Technology. 3rd edition.  Van Nostrand Reinhc.
37. Nagy. S., P.E. Shaw and M.K. Veldhis.  1977.  Citrus Science and Technology. Vol.2.  The AVI Publishing Co. Inc., Westport, Connecticut.
38. Patric, I., Andrew, E.. and John, S. 1993.  Techniques for Chemical Analysis and Stability Test of Grape Juice and Wine.  Patric Iland Wine Promotions, Campbell Town, South Australia.
39. Pederson, C.S. 1979. Microbiology of food fermentation, 2nd Ed. AVI Publishing Co., Westport, Connecticut.
40. Persson, P.O. and G. Londahl. 1993. Freezing Technology: In Frozen Food Technology. Mallet, C.P. (Editor) Blackie Academic & Professional, London.
41. Petter, N.N. and J.H. Hotchkiss. 1995. Food Science,  5th Ed. Chapman & Hall., New York.
42. Rankine, B.  1989.  Making Good Wine. Pan Macmillan Publisher.  Australia.
43. Ranganna, S. 1986. Handbook of Analysis and Quality Control for Fruit and Vegetable Products.  Second Edition.  Tata Mcgraw-Hill Publishing Co. Ltd., New Delhi.
44. Reed, J.D. 1995. Nutritional toxicology of tannins and related polyphenols in forage legumes.  J. Anim. Sci. (73): 1516-1528.
45. Rombouts, F.M. and Pilnik, W. 1978. Enzymes in fruit and vegetable juice technology.  Process Biochemistry, 13: 8,9, -13.
46. Sivetz, M. and Desrosier. N.W. 1979. Coffee Technology. The AVI Publishing Co. Inc., Westport, Connecticut.
47. Srisamatthakarn, P., T. Chanrittisen and  E. Buranawijarn. 2003.  Effects of Sampee Mango (Mangifera indica L.) Ripening Stage and Flesh Ratio on Mango Wine Quality. Proceeding CD-ROM, The 1st International Symposium and Workshop on “Insight into the World of Indigeneous Fermented Foods for Technology Development and Food Safety” August 13-15, 2003. Kasetsart University, Bangkok. Thailand.  
48. Srisamatthakarn, P., Rauhut, D., & Brückner, H. 2010. Impact of commercial yeast strains on wine fermentation and formation of metabolites of yellow passion fruit juice (Passiflora edulis Sims f. flavicarpa Degner). International Conference on the Role of Universities in Hands-On Education, Rajamangala University of Technology Lanna, Chiang-Mai, Thailand 23-29 August 2009.
50. Srisamatthakarn, P., Rauhut, D., & Brückner, H. 2010. Impact of commercial yeast strains on wine fermentation and formation of metabolites of yellow passion fruit juice (Passiflora edulis Sims f. flavicarpa Degner). Asian Journal of Food and Agro-Industry, 3 (2), 282-292.
51. Srisamatthakarn, P., Rauhut, D., & Brückner, H. 2010. Effect of commercial yeast strains on fermentation and metabolic compounds of yellow passion fruit (Passiflora edulis Sims f. flavicapa Degner) wines. 28th International Specialized Symposium on Yeast”, 15-18 September 2010, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Montien Riverside Hotel, Bangkok, Thailand.
52. Srisamatthakarn, P. 2011. Improvement of varietal aroma in grape and tropical fruit wines by optimal choice of yeasts and nutrient supplements. Doctoral Thesis. Justus-Liebig-University Giessen, Germay, 275 p.
53. Srisamatthakarn, P., Kapaklis, A., Kürbel, H., Brückner, H., and Rauhut, D., 2012. Effect of commercial yeast strains snd nutrient supplements on SO2-binding and aroma compounds of yellow passion fruit (Passiflora edulis Sims f. flavicapa Degner) wines. Asian Journal of Food and Agro-Industry, 5 (3): 213-225.
54. Srisamatthakarn, P., Chanrittisen, T., and Kidchai, N. 2013. Effects of processing on antioxidant properties of the Gymnema inodorum (Lour.) Decne. health drink. Proceedings of AFHW 2013 International Symposium on Agri-Foods for Health and Wealth, pp. 303-310, August 5-8, 2013, Golden Tulip Sovereign Hotel, Bangkok, Thailand.
55. Vernam, A.H. and Sutherland, J.P. 1994. Beverages Technology, Chemistry and Microbiology. Chapman & Hall, London.
56. Vine, R.P. 1991. Commercial Wine Making. The AVI Publishing Company Inc. Westport Connecticut.
57. Voragen, A.G.J. and Van den Brock, L.A.M. 1991. Fruit Juices in Biotechnological innovation in food processing., M.C.E. Van Dam-Mieras, et al. pp 187-210.
58. Woodroof, J.G. and Phillips, G.F. 1981. Beverage: Carbonate and Non-carbonate. Revised Edition. The AVI Publishing Co. Inc., Westport, Connecticut.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรฐานเครื่องดื่ม
1. เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น www.foodnetworksolution.com/wiki, Wikipedia คำอธิบายศัพท์
2. เว็บไซด์ และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรฐานเครื่องดื่ม
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  เพื่อให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ พร้อมข้อเสนอแนะ
2. ให้นักศึกษากรอกแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ในระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
3. ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ช่วงก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับภาควิชา และ/หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมีการวิเคราะห์ผล การประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาโดย
1. ผลการทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค และรายงานตามบทปฏิบัติการ
2. การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
3. การสังเกตการณ์ของผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร และ/หรือทีมผู้สอน
4. ประเมินการสอนโดยนักศึกษาในแต่ละวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1. ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อเสริมพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3. หลักสูตร/ภาควิชา/คณะ มีการกำหนดกลไกและวิธีการปรับปรุงการสอน เช่น สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ฯลฯ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจงานที่มอบหมาย ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ และรายงานผลการปฏิบัติการในแต่ละสัปดาห์ เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม พิจารณาคะแนนข้อสอบสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค หรืองานที่มอบหมาย มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา
1. ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมการเรียน-การสอนให้มีความหลากหลาย
2. รวบรวมข้อเสนอแนะ/ข้อมูลจากการประเมินจากนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิ
3. วิเคราะห์ทบทวนข้อมูลข้างต้น โดยผู้รับผิดชอบหลักสูตร 1 ประธานหลักสูตร
4. เสนอการปรับปรุงหลักสูตรและแผนกลยุทธ์ โดยปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4