การทำหุ่นจำลอง

Model Making

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของหุ่นจำลอง หลักการสร้างหุ่นจำลอง การเลือกวัสดุที่เหมาะสม การย่อและขยายสัดส่วน การขึ้นรูปหุ่นจำลองโดยวิธีการต่างๆ การปรับแต่ง การตกแต่งหุ่นจำลองทางบรรจุภัณฑ์
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของหุ่นจำลอง
2.2  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการสร้างหุ่นจำลอง การเลือกวัสดุที่เหมาะสม และการย่อ ขยายสัดส่วน โดยนำไปประยุกต์ใช้ในการขึ้นรูปหุ่นจำลองโดยวิธีการต่างๆ
2.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการทำหุ่นจำลองทางบรรจุภัณฑ์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับประเภทของหุ่นจำลอง หลักการสร้างหุ่นจำลอง การเลือกวัสดุที่เหมาะสม การย่อและขยายสัดส่วน การขึ้นรูปหุ่นจำลองโดยวิธีการต่างๆ การปรับแต่ง การตกแต่งหุ่นจำลองทางบรรจุภัณฑ์ การนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม

พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคลการไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุตามคุณสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์  
- อภิปรายกลุ่ม
- กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆตามเนื้อหา
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
สอนโดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังจรรยาบรรณของนักออกแบบ ปลูกฝังงานพื้นฐานเพื่อฝึกความมีวินัย อดทน ตรงต่อเวลา ให้นักศึกษาทำงานรายเดี่ยว หรือฝึกความรับผิดชอบ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น   
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าเรียนและการแต่งกาย
1.3.2   ประเมินจากการพฤติกรรมการปฏิบัติการและการสอบ
1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในการส่งงาน หน้าที่ที่ได้รับ การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 ใช้วิธีการฝึกปฏิบัติตามเนื้อหาของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งโดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการนำไปใช้
2.2.2  เน้นให้นำความรู้ทางด้านวัสดุศาสตร์ดั้งเดิม และทันสมัย เทคโนโลยีมาเชื่อมโยง
2.2.3 จัดกิจกรรมการเรียนในการบูรณาการความรู้ในวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3.1  ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี
2.3.2  การปฏิบัติประเมินจากการทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ค้าปลีก และบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์ในการออกแบบ ให้ตอบสนองกับผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้บริโภคเป็นไปตามคุณสมบัติ ประเภท ชนิด อย่างสร้างสรรค์
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- การมอบหมายให้นักศึกษาออกแบบบรรจุภัณฑ์  ทำรายงาน และนำเสนอผลการศึกษา
- อภิปรายเฉพาะบุคคล
ฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยประยุกต์จากองค์ความรู้ในรายวิชา จัดการเรียนรู้โดยการแก้ปัญหาจากการปฏิบัติจริง
ตรวจสอบกระบวนการคิดของนักศึกษาจากแนวความคิด และผลการปฏิบัติงาน
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
- พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
          4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          - จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
          - มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการ
            ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
- การนำเสนอรายงาน
          4.3 สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
          - ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
          - รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- รายงานการศึกษาด้วยตนเอง
4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 


4.2.1   จัดกิจกรรมรายบุคคล และกิจกรรมที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม
4.2.2   สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบ การมีมนุษยสัมพันธ์ การเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร


 
 
 
4.2.3  สอดแทรกกรณีศึกษา ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม
4.3.1  สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษารายบุคคล หรือขณะร่วมกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2  ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ งานที่ได้รับมอบหมาย


 
 
 
4.3.3  การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือการประสานงาน หรือความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
          - พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
          - พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
          - พัฒนาทักษะในการสืบค้น ทั้งแหล่งให้ความรู้และข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
          - ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
          - มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงาน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
          - นำเสนอโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          - การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
          - การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 


5.2.1   จัดการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยทักษะคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสาร
5.2.2   จัดการเรียนการสอนที่สืบค้นข้อมูล และเทคโนโลยีในการนำเสนองาน


 
 
 
5.2.3   จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน การนำเสนอผลงาน
   


 
 
    5.3.1   ตรวจสอบกระบวนการคิดจากการปฏิบัติการ
    5.3.2   ตรวจสอบข้อมูลที่สืบค้น และการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
    5.3.3  ทักษะการฟัง และการพูด จากการทำงานรายเดี่ยว หรือกลุ่มในการปฏิบัติการ ทักษะการเขียน การอ่านจากการเขียนรายงานภาคเอกสาร และผลการปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 44012010 การทำหุ่นจำลอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 15% 15%
2 1.3,2.1, 2.2,3.1, 3.2,4.3,5.1,5.2 การฝึกปฏิบัติงานตามใบงานที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์ การปฏิบัติงานโครงงานที่มอบหมาย 1,2,3,4,5,6 7,8,10,11,12 13,14,15,16,17 20% 20% 10%
3 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2, 4.1-4.6,5.3-5.4 ศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงานการทำงานกลุ่มและผลงานการอ่านการส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.1-1.7,3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา, 2547, "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นจำลอง", การทำหุ่นจำลอง (MODEL MAKING), หน้า2.
- วัลลภ ไชยพรหม, 2530, "การทำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์หลายชิ้น", ปูนปลาสเตอร์ ศิลปะและการประดิษฐ์, หน้า42.
- สุวิทย์ วิทยาจักษุ์, 2555, "วัสดุที่ใช้ในการหล่อรูป", การสร้างสรรค์งานหล่อ, หน้า11.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
          - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          - การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
          - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          - ข้อเสนอแนะผ่านเวปบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
          - การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
          - ผลการสอบ
          - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          - การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ
ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหา
ที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ