เทคนิคการแสดงแบบ 2

Presentation Techniques 2

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การเขียนภาพสองมิติ สามมิติ ด้วยเทคนิคต่างๆ และทัศนียภาพ เข้าใจการเขียนภาพระบายสี ทัศนียภาพชุมชน สิ่งก่อสร้างทางศาสนา วิวทิวทัศน์ มีความซาบซึ้ง ตระหนักในคุณค่าของการศึกษาเขียนภาพระบายสี และวิธีการทำหุ่นจำลอง
เพื่อพัฒนาเนื้อหาของรายวิชาให้มีความทันสมัย พัฒนาวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับการนำเอา ทักษะการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสามารถนำไปใช้ผลิตสถาปนิกนักปฏิบัติ ตามความที่ระบุไว้ในเหตุผลและความจำเป็นในการปรับปรุงหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555) ดังนี้
2.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม
เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
2.2 ด้านความรู้
เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ ในเนื้อหาที่ศึกษา
2.3 ด้านทักษะทางปัญญา
เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการ หรือทางด้านวิชาชีพ
2.4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเทคนิคการนำเสนอผลงาน ในลักษณะ 2 มิติ 3 มิติ และการทำหุ่นจำลอง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะฯ และสาขาฯ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ผู้เรียน มีวินัย ขยันอดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.2.1 เช็คชื่อเข้าเรียน และอบรมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาก่อนการเรียนสอน เป็นเวลา 5 นาทีทุกสัปดาห์
1.2.2 จัดกลุ่มนักศึกษาช่วยงานอาจารย์ ในแต่ละสัปดาห์ เช่น เตรียมและเก็บวัสดุทำงาน ตัดแบ่งและแจกกระดาษทำงาน จัดกลุ่มนักศึกษาเพื่อดูแลเรื่องความสะอาดก่อนเรียนและหลังเลิกเรียน เป็นต้น
1.2.3 จัดให้นักศึกษาส่งงานที่ทำเสร็จแล้วด้วยตัวเอง ณ ชั้นส่งผลงานที่ผู้สอนจัดไว้ให้ ตามเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมิน ผลการเข้าเรียนตรงเวลา มาสาย และขาดเรียนของนักศึกษา (โดยพิจารณาร่วมกับ ระบบการศึกษาตามความในข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ที่ระบุไว้ว่า นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาในแต่ละรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
1.3.2 ประเมินจากสภาพห้องเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอน ตลอดจน การช่วยเหลืออาจารย์ในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอนของนักศึกษาในแต่ละสัปดาห์
1.3.3 ประเมินผลจากการส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์สุจริตในการทางานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 ผู้เรียน มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ ในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2.1 บรรยายตามบทเรียนที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์
2.2.2 บรรยายภาคทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ เป็นลำดับขั้นตอน ของเทคนิคการแสดงแบบสถาปัตยกรรมทั้งเทคนิคการ drawing painting และการตัดโมเดล เป็นต้น
2.2.3 กำหนดให้นักศึกษา ฝึกปฏิบัติการแสดงแบบทางสถาปัตยกรรมด้วยเทคนิค drawing painting และการตัดโมเดล ทั้งในระหว่างชั่วโมงการเรียนและมอบหมายให้เป็นการบ้าน (ในบางสัปดาห์) เพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนอกเวลาเรียน
2.3.1 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานสอบวัดผล ทั้งการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเทคนิคที่ใช้
2.3.2 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานที่ให้ฝึกปฏิบัติในชั่วโมงเรียนแต่ละสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากเนื้อหาทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติด้วยเทคนิคการนำเสนอที่บรรยายไปในสัปดาห์นั้นๆ ตลอดจนการส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
3.1.1 ผู้เรียน มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2.1 ฝึกปฏิบัติตามบทเรียนที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์
3.2.2 กำหนดเนื้อหาของงานที่ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานแสดงแบบ อยู่ในขอบเขตของงานสถาปัตยกรรมและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เช่น การนำเสนองานแบบ vernadoc, Fotomo ย่านชุมชน เป็นต้น
3.2.3 สอดแทรกการบรรยายเชิงยกตัวอย่างประกอบ ถึงการจะนำเอาองค์ความรู้จากเทคนิคแสดงแบบสถาปัตยกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพได้อย่างไร
3.3.1 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานสอบวัดผล ทั้งการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเนื้อหาของงาน และเทคนิคการแสดงแบบ
2.3.2 ประเมินผลจากคะแนนเก็บตลอดทุกสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเนื้อหาของภาพที่เขียนแสดง
2.3.3 ใช้เกณฑ์การประเมินผลนักศึกษา ตามกฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) และการวัดผลการศึกษา ที่กำหนดไว้ตาม มคอ.2
4.1.1 ผู้เรียน มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
4.2.1 พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันเอง โดยการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละคนให้ทราบขณะตรวจให้คะแนน พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยในการตรวจงานแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้นำแนวทางไปปรับปรุงพัฒนางานปฏิบัติของตนเอง โดยเทียบกับระดับงานปฏิบัติของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
4.2.2 ฝึกให้นักศึกษาปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับกาละเทสะเมื่ออยู่ภายในสถานศึกษา หรือเมื่อมีการออกไปปฏิบัติงานภายนอกสถานศึกษา
4.3.1 ประเมินพัฒนาการของผลงานนักศึกษาแต่ละคนว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร โดยดูได้จากแนวโน้มคะแนนซึ่งเป็นตัวชี้วัดความตั้งใจเรียนที่มีต่อผู้สอน การมีส่วนร่วมกับเพื่อนภายในห้องเรียนและการศึกษาด้วยตนเองนอกเวลาเรียน
4.3.2 ประเมินจากการสังเกต การปฏิบัติตนของนักศึกษาให้ถูกกาละเทสะ ทั้งในและนอกสถานศึกษาในระหว่างการเรียนการสอน
5.1.1 ผู้เรียน สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2.1 กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ทางระบบ Internet ผ่านช่องทาง platform และ website ต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาทักษะฝีมือตนเอง โดย ผู้สอนอาจสั่งงานฝึกปฏิบัติเป็นการบ้านที่ทำนอกเวลาเรียน
5.3.1 คะแนนและแนวโน้มคะแนน ของงานฝึกปฏิบัติการบ้านของนักศึกษาแต่ละคน ที่ทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ผ่านช่องทางเครื่องมือสื่อสารที่กำหนด 
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42002102 เทคนิคการแสดงแบบ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้/ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สอบกลางภาค/ สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9/ สัปดาห์ที่ 17 15% / 15%
2 ด้านทักษะทางปัญญา/ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานเดี่ยวและการบ้านในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- Arnheim ,Rudolf. Art and Visual Perception. Berkeley : University of California Prcss,1965
- Francis D.K. Dhing. ARCHITECTURE : FORM-SPACE & ORDER. Van Nostrand Reinhold Company. New York 1979
- Nithi Sthapitanoda.ลายเส้น Renderings In Perspectives. 1969-1989, First Published In 1989 By Blue Square Ordinary Partnership.
- 20 Best small gardens โดย Tim Newbury
- 25 Best Planting plants ของ Noel Kingsbury
- 20 Best garden designs โดย Tim Newbury
- Thurgau gezeiehnet von Jacques scheduler ของ Von Regierungsrat Rudolf
- ไม่มี –
- Vernadoc เทคนิคการการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการเก็บข้อมูลแบบพื้นฐาน
- เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 สังเกตและวิเคราะห์จากผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานของอาจารย์