เทคนิคแสดงแบบทางสถาปัตยกรรม

Architectural Presentation Techniques

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การเขียนภาพสองมิติ สามมิติ ด้วยเทคนิคต่างๆ และทัศนียภาพ เข้าใจการเขียนภาพระบายสี ทัศนียภาพชุมชน สิ่งก่อสร้างทางศาสนา วิวทิวทัศน์ มีความซาบซึ้ง ตระหนักในคุณค่าของการศึกษาเขียนภาพระบายสี และเทคนิควิธีการนำเสนอผลงาน และเข้าใจความสำคัญและวิธีการทำหุ่นจำลอง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการแสดงนำเสนอผลงานสถาปัตยกรรมสองมิติและสามมิติ และการนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนสาขาสถาปัตยกรรม
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการสื่อสารทางเรขนิเทศ การใช้วัสดุและเทคนิคการนำเสนอผลงาน 2 มิติ และ 3 มิติ การตกแต่งแบบผังบริเวณ แปลน รูปด้าน รูปตัด ทัศนียภาพ และการจัดทำหุ่นจำลอง
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 อบรมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาก่อนสอนเป็นเวลา  5  นาทีก่อนสอนทุกสัปดาห์
1.2.2 จัดกลุ่มนักศึกษาช่วยงานประจำสัปดาห์
1.2.3 จัดให้นักศึกษาส่งงานที่ทำเสร็จแล้วด้วยตัวเอง ณ ชั้นส่งผลงานที่ผู้สอนจัดไว้
1.2.4 จัดกลุ่มนักศึกษาเพื่อดูแลเรื่องความสะอาด ก่อนเรียนและหลังเลิกเรียน
1.3.1 ประเมินผลจากการส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
1.3.2 สังเกตจากการช่วยเหลือในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอนของนักศึกษาในแต่ละสัปดาห์
1.3.3 ประเมินจากสภาพภายในห้องเรียนก่อนสอนและหากนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ผู้สอนจะหักคะแนนจิตพิสัย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติ ในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2.1 อธิบายวิธีการ ขั้นตอนต่างๆ เกี่ยวกับเทคนิคการลงสีน้ำ ปากกาหมึกแห้งและปากกาเคมี ในงานสองมิติ และการทำหุ่นจำลอง
2.2.2 ฝึกปฏิบัติการเขียนทัศนียภาพด้วยเทคนิคต่างๆ และฝึกการทำหุ่นจำลอง
2.3.1 ตรวจผลงานของนักศึกษาทุกสัปดาห์ด้วยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาทุกคนในการช่วยจัดกลุ่มผลงานของเพื่อนในชั้นเรียน
2.3.2 ตรวจให้คะแนนจากผลงานที่ได้จากกลุ่มแล้ว ประเมินและให้คะแนน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
พัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถมองเห็นคุณค่าทางความงามของงานที่นำเสนอ
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2.1 อธิบายพร้อมยกตัวอย่างการนำความรู้เรื่ององค์ประกอบศิลปะ ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพ
3.2.2 ฝึกปฏิบัติตามบทเรียนที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์
3.3.1 วัดผลจาก งานสอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นปฏิบัติในการเขียนทัศนียภาพ ด้วยเทคนิคต่างๆ และผลงานการทำหุ่นจำลอง
3.3.2 ประเมินผลจากคะแนนเก็บตลอดทุกสัปดาห์
3.3.3 วัดผลและให้คะแนนจากการส่งงานตรงต่อเวลาที่กำหนด
มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2.1 พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยการพูดคุยและติดต่อกันในห้องเรียนและนอกห้องเรียน (ผ่าน platform social เว็บไซด์ต่างๆ)
4.2.2 ฝึกให้นักศึกษาเก็บตัวอย่างผลงานและหุ่นนิ่งหลังจากฝึกปฏิบัติแล้วเสร็จ
4.3.1 ผู้เรียนประเมินตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากการสังเกตความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการช่วยเก็บตัวอย่างงานและอุปกรณ์การสอน
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2.1 ฝึกการแลกเปลี่ยนความคิดในการทำหุ่นจำลอง โดยผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media) ต่างๆ
5.3.1 จากการตรวจสอบการโพสข้อความใน โซเชียลมีเดีย (Social Media) และการสุ่มสอบถาม
6.1.1 มีทักษะการทำตามแบบและสามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.2.1 บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างงาน พร้อมแนวทางปฏิบัติที่ดี
6.3.1 ดูจากผลงานและการซักถามวิธีการ ขั้นตอนที่นักศึกษาเลือกปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARCC402 เทคนิคแสดงแบบทางสถาปัตยกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมในการทำงานในห้องเรียนตราที่มอบหมาย การทำงานให้ห้องเรียน/ 2. การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ไม่มาสาย ทุกสัปดาห์ตอลดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ 1. ประเมินจากการทดสอบย่อย/ 3. ประเมินจากการปฏิบัติงานที่มอบหมายให้ทำทุกสัปดาห์ ทุกสัปดาห์ตอลดภาคการศึกษา 45%
3 ด้านทักษะทางปัญญา 1. ประเมินจากการสังเกตุว่านักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ทางหลักการไปปฏิบัติงานได้หรือไม่/ 2. ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการช่วยเหลือกันในการทำงานในชั้นเรียนที่ได้มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. ประเมินจากพฤติกรรมการใช้สารสนเทศเพื่อการสื่อสารระหว่างเพื่อนในชั้นเรียน และผู้สอน เช่น การสอบถามปัญหาระหว่างกันใน Social Media เช่นกลุ่มในเฟสบุค หรือกลุ่มไลน์ ของกลุ่มวิชานี้ ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 ด้านทักษะพิสัย 1. ประเมินจากผลงานที่นักศึกษาทำได้ตามคำแนะนำของผู้สอน/ 2. ประเมินจากผลงานนักศึกษาที่ทำด้วยตนเองและมีความเหมาะสม ถูกต้อง ตลอดภาคการศึกษา 5%
- โกศล พิณกุล. 2546 ภาพเส้นระบายสี Line And Wash
- โกศล พิณกุล. 2546 เทคนิคระบายสี ดอกไม้ หุ่นนิ่ง ทิวทัศน์
- รศ. สุชาติ เถาทอง. 2536 การเขียนภาพสีน้ำ
- วิศิษฐ พิมพิมล. 2546 การวาดเส้น Drawing
- นิธิ สถาปิตานนท์. 2532 ลายเส้น RENDERINGS IN INK AND PERSPECTIVES
- 20 Best small gardens โดย Tim Newbury
- 25 Best Planting plants ของ Noel Kingsbury
- 20 Best garden designs โดย Tim Newbury
- Thurgau gezeiehnet von Jacques scheduler ของ Von Regierungsrat Rudolf Schumperli
- ไม่มี -
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลทำโดยการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ตามกิจกรรมได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์