เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น

Introduction to Ceramics

     1.  เข้าใจความหมายประเภทและขอบเขตของงานเซรามิกและเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
     2.  เข้าใจวัตถุดิบและการเตรียมเนื้อดินสำหรับใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผา
     3.  เข้าใจกระบวนการขึ้นรูป การตกแต่ง น้ำเคลือบ เตาและการเผา
     4.  มีทักษะในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ การตกแต่งผลิตภัณฑ์
     5.  มีทักษะการเตรียมน้ำเคลือบ เตาและการเผา
     6.  มีเจตคติที่ดีในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านเครื่องปั้นดินเผา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา เข้าใจ ประวัติความเป็นมา รู้ถึงวัตถุดิบในการทำเครื่องปั้นดินเผา การผลิตเครื่องปั้นดินเผาทั้งแบบดั้งเดิม และการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในยุคปัจจุบัน เรียนรู้และปฏิบัติการออกแบบเครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น รู้ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เช่น การเผา การขึ้นรูป จนกระทั่งฝึกปฏิบัติการขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาด้วยมือ และด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการตกแต่งชิ้นงาน การเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา จดบันผลการและการรายงานผลการทดเครื่องปั้นดินเผาที่นักศึกษาผลิต
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้พื้นฐาน ความเข้าใจ หลักการและทักษะของเครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น ไปใช้ในการทำงานต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ  ความหมาย ประเภทและขอบเขตของงานเซรามิก วัตถุดิบ กระบวนการผลิต เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต การเตรียมเนื้อดิน การขึ้นรูป การตกแต่ง การเตรียมน้ำเคลือบ เตาและการเผา
-  อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
-  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัยมีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
     1.  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
     2.  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
     3.  มีภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
     4.  เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     5.  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
     6.  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     1.  บรรยายทฤษฏีโดยใช้สื่อการสอนและสอนปฎิบัติโดยการสาธิต
     2.  ให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
     3.  อภิปรายกลุ่ม
     1.  สังเกตความสนใจ
     2.  ซักถามรายบุคคล
     3.  สังเกตการอภิปราย
     4.  พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
     5.  สังเกตการปฏิบัติงาน
     6.  พิจารณาจากผลงานจากการปฏิบัติงานและจัดอันดับคุณภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเเละการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BTECE105 เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-8.8 สอบถามเพื่อพิจารณาความเข้าใจในเนื้อหาหลังจบแต่ละหน่วยการเรียน สังเกตความสนใจ, ซักถามรายบุคคลสังเกตการอภิปราย, สังเกตการปฏิบัติงาน , พิจารณาจากงานที่มอบหมายและพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานและจัดอันดับคุณภาพ ตลอดภาคเรียนการศึกษา 70 %
2 1.1-5.4 สอบกลางภาค 8 10 %
3 5.5-8.5 สอบปลายภาค 16 10%
4 1.1-8.5 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
กาญจนะ  แก้วกำเนิด. วัสดุทนไฟ.  เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเซรามิก  สถาบันวิจัยและพัฒนา
         วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.
การศึกษานอกโรงเรียน,กรม. การสร้างต้นแบบและแม่พิมพ์ด้วยวิธีการกลึง.
         กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าครุสภา, 2538.
โกมล  รักษ์วงศ์. เอกสารคำสอนน้ำเคลือบ 2 . กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร, 2538.
         .งานวิจัยเตาเผาและเครื่องปั้นดินเผา เตาเผาแม่น้ำน้อยเพื่อสืบสาน
         และอนุรักษ์ศิลปวัตถุโบราณของจังหวัดสิงห์บุรี,กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร,
         2538.
จีรพันธ์  สมประสงค์. เทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพมหานคร :       
         โอเดียนสโตร์, 2535.
ทวี   พรหมพฤกษ์. เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น..กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร, 2523.
       . เตาและการเผา..กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร, 2524.
นวลน้อย  บุญวงษ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
นพวรรณ  หมั้นทรัพย์. การออกแบบเบื้องต้น. โครงการตำราวิทยาเขตภาคพายัพ
         สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. : โกลบอลวิชั่นจำกัด, 2539.
บริษัท คอมพาวค์ เคลย์จำกัด. คู่มือเครื่องหล่อแบบแรงดันสูง. ม.ป.ป.
ปรีดา  พิมพ์ขาวขำ. เซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ปุณณรัตน์   พิชญไพบูลย์. เครื่องปั้นดินเผาเทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร :
         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ไพจิตร  อิ่งศิริวัฒน์. เนื้อดินเซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2541.
วิเชียร   ศิริประภาวัฒน์. ดินและเนื้อดินปั้น(เอกสารโรเนียว). กรุงเทพมหานคร :
         สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต เพาะช่าง, 2528.
วันชัย  เพี้ยมแตง. รายงานการฝึกอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น. เชียงใหม่ : สถาบันเทคโนโลยี
         ราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ, 2532
     1.  ใบความรู้เรื่องประเภทและขอบเขตของงานเซรามิก และเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
     2.  ใบความรู้เรื่องเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเซรามิก
     3.  ใบความรู้เรื่องวัตถุดิบที่ใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผา
     4.  ใบความรู้เรื่องกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
     5.  ใบความรู้เรื่อง เนื้อดินสำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์
     6.  ใบความรู้เรื่องการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
     7.  ใบความรู้เรื่องการตกแต่ง เครื่องปั้นดินเผา
     8.  ใบความรู้เรื่องน้ำเคลือบ
     9.  ใบความรู้เรื่องเตาและการเผา
     10. ใบงานการเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเซรามิก
     11. ใบงานฝึกปฏิบัติการการทดสอบวัตถุดิบที่มีความเหนียวกับวัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียวและการนำวัตถุดิบที่ใช้สำหรับทำเคลือบไปทดลอง                 เผาดูจุดหลอมละลาย
     12. ใบงานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
     13. ใบงานเกี่ยวกับเนื้อดินสำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์
     14. ใบงานเกี่ยวกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
     15. ใบงานเกี่ยวกับการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา
     16. ใบงานเกี่ยวกับน้ำเคลือบ
     17. ใบงานเกี่ยวกับเตาและการเผา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้
          1.  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          2.  แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
          3.  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้
          1.  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
          2.  ผลการเรียนของนักศึกษา
          3.  การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          1.  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          2.  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้รายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงการพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ โดยรวมได้ในรายวิชาดังนี้
          1.  การทวนสอบการให้คะแนน จากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
          2.  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนน                     สอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิ์ผลรายวิชา ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
          1.  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือ                            อุตสาหกรรมต่าง ๆ
          3.  อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ควรปรับปรุงใหม่หมด เช่นแป้นหมุนซึ่งเป็นหัวใจในการเรียนการสอนวิชาการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ควรจัด                   ซื้อใหม่ เนื่องจากของเดิมส่วนใหญ่ชำรุดและมีอายุการใช้งานมายาวนาน และการเตรียมดินสำหรับการขึ้นรูปควรมีเจ้าหน้าที่สำหรับ                           เตรียมดินคอยเตรียมให้