การบัญชีชั้นสูง 2

Advanced Accounting 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการต่างๆ ของการบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
     การบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การทำงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวม
1.2  เพื่อฝึกหัดการนำแนวคิด หลักการและวิธีการบัญชี ประยุตก์กับมาตรฐานรายงานทางการเงินในปัจจุบันไปใช้ในทางปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการบัญชีของบริษัทในระดับสูงได้
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายหลักการปฏิบัติและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ได้ ตลอดจนการบันทึกบัญชีสำหรับบริษัทร่วม
    บริษัทใหญ่ บริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าทั้งในประเทศต่างต่างประเทศ
2.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายหลักการปฏิบัติและจัดทำงบการเงินรวม งบกระแสเงินสดรวมได้
2.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายหลักการปฏิบัติและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
2.4 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฏิบัติการบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทำงบการเงินรวม การบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การทำงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวม
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3-5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ณ ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 4 ห้องพักอาจารย์สาขาการบัญชี
           นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น การรวมธุรกิจ รูปแบบของการรวมธุรกิจ มีหลักการและวิธีการปฏิบัติ รวมถึงการจัดทำงบการเงินอย่างไร
       ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
1.2.2 ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และความซื่อสัตย์ในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัทใหญ่ บริษัทย่อยและบริษัทร่วม รวมถึงการจัดทำงบการเงินอย่างไรให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27
       เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ,  ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่องการรวมธุรกิจ, ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม
       และฉบับที่ 1 เรื่อง การร่วมการงาน เป็นต้น
2.1.2 จัดทำงบการเงินของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดรวมและงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยได้
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ รวมถึงการแปลงค่างบการเงินได้
2.1.4 มีความรู้และความเข้าใจในการการบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ตลอดจนการร่วมการงานได้
2.1.5 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.2.1 การบรรยายและยกตัวอย่างจริงและกรณีศึกษาต่างๆ จากนั้นทำการฝึกปฏิบัติด้วยแบบฝึกหัด
2.2.2 การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล เช่น รูปแบบการจัดทำงบการเงินรวมของบริษัทมหาชนจำกัดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.4 ทดสอบย่อยเก็บคะแนน การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น งานที่มอบหมาย ผลคะแนนของการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน และความถูกต้องของการทำแบบฝึกหัดท้ายททเรียน
2.3.2 การประเมินจากการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
2.3.3 การประเมินผลการเรียนรู้จากการตรวจแบบฝึกหัด
3.1.1 สามารถพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบได้ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและพร้อมนำความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษาต่างๆ
3.2.1 บรรยายตามหน่วยเรียนพร้อมกับการยกตัวอย่างวิธีคำนวณ การบันทึกบัญชี การจัดทำงบการเงินรวม และมีการถาม – ตอบในชั้นเรียน
3.2.2 ฝึกการคิด ฝึกการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษาต่างๆ
3.2.3 ฝึกปฏิบัติโดยการมอบหมายงานตามใบงานที่กำหนดขึ้น
3.2.4 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่มหรืองานเดี่ยว
3.3.1 การฝึกปฏิบัติทำแบบฝึกหัด
3.3.2 การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
3.3.3 สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดเป็นรายบุคคล
4.2.2 มอบหมายให้ทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่มๆ ละ 3 – 5 คน เช่น การวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาตัวอย่างการรวมธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการรวมธุรกิจ เป็นต้น
4.3.1 ประเมินจากแบบฝึกหัด
4.3.2 ประเมินจากการนำเสนอกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม
5.1.1 สามารถรายงานผลการจัดทำงบการเงินของบริษัท เพื่ออธิบายถึงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทได้
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังหรือผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.1.4 สามารถนำความรู้และความเข้าใจทางธุรกิจไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ค้นคว้าด้วยตนเองจาก web site สื่อการสอน E-learning เป็นต้น
5.2.2 การนำเสนอพร้อมตัวอย่างโดยใช้ Power point ในรูปแบบต่างๆ
5.3.1 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 2 3 4 1 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC140 การบัญชีชั้นสูง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1, 2, 3 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 4,5 สอบปลายภาค 3,4,5 8 11,14 17 25% 15% 25% 15%
2 1,2,3,4,5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา งานทำงานกลุ่มค้นคว้า และการถาม – ตอบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
เอกสารคำสอน การบัญชีชั้นสูง 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สินีนาฏ วงศ์เทียนชัย
หนังสือ การบัญชีชั้นสูง 1 โดย ดุษฎี สงวนชาติ, วรศักดิ์ ทุมมานนท์, พงศ์พรต ฉัตราภรณ์
หนังสือ การบัญชีชั้นสูง 2 โดย ผกาพรรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร
หนังสือ การบัญชีชั้นสูง 2 โดย วรศักดิ์ ทุมมานนท์ และ ณัฐวุฒิ สุวรรณยั่งยืน
หนังสือ การบัญชีชั้นสูง 2 โดย สุรชัย เอมอักษร
และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 เรื่อง การร่วมการงาน
และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เวปไซต์ ต่อไปนี้
- www.Fab.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี
- www.nukbunchee.com
- เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม
- www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง