การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

Food Product Development

1.1 รู้ถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
1.2 เข้าใจกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
1.3 เข้าใจการทดสอบ การควบคุมคุณภาพ และการวิจัยตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร
1.4 มีทักษะในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.5 มีเจตนคติที่ดีต่อการศึกษาค้นคว้าและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
เพิ่มเติมเนื้อหา/ตัวอย่างเกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยใช้ข้อมูลเพิ่มเติมจากงานของนักศึกษา วท.บ. 5.7 ก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 และจากมหาวิทยาลัยอื่นๆที่ส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการ Food Innovation Contest 2018 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ภายใต้ Theme : Local Identity to Healthy Product จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย รวมทั้งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีการนำเข้าสู่ตลาด
ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์การสำรวจวัตถุดิบและความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มผลิตภัณฑ์ที่ควรพัฒนา การพัฒนาสูตรกรรมวิธีการผลิต และบรรจุภัณฑ์ การทดสอบและการควบคุมคุณภาพ การคิดต้นทุนและประเมินการวิจัยตลาดผลิตภัณฑ์
ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ให้นักศึกษาตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรม นักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ  เพิ่มการสอนนอกชั้นเรียนโดยให้ศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจและหาข้อมูลเชิงประจักษ์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้พบรวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อย่างมีจรรยาบรรณและถูกต้องตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย และความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้าง กลั่นกรอง และพัฒนาแนวความคิดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาสูตร กรรมวิธีการผลิต และบรรจุภัณฑ์ การทดสอบผู้บริโภค และการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การคิดต้นทุนการผลิตและจุดคุ้มทุน และการประเมินตลาดผลิตภัณฑ์
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ  Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้นทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค)
ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทราบในชั้นเรียนหรืองานที่มอบหมายให้ค้นหาคำตอบเพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องแก้ปัญหาตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้ โดยใช้แนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือ
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน  การสอบย่อย (Quiz)  การสอบกลางภาคและปลายภาค  การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงาน
เน้นการทำงานเป็นทีมความรับผิดชอบ และการตรงต่อเวลา โดยสามารถทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบตามเวลาที่กำหนด
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตรหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน การตอบข้อซักถามของอาจารย์และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-Learning และ วีดีโอเป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงานการนำเสนอข้อมูลของงานที่มอบหมายให้เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น การใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมโดยเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษาโดยใช้เทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติการสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 5 1 2 3 4 5 6 7 1
1 24128301 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยเรียน 1-9 การทดสอบย่อย (Quiz) 1-8, 10-16 5%
2 หน่วยเรียน 1-9 การเขียนรายงานกลุ่มตามบทปฏิบัติการที่มอบหมาย (ปฏิบัติการที่ 1-13) 1-8, 10-16 40%
3 หน่วยเรียน 1-5 การสอบกลางภาค 9 20%
4 หน่วยเรียน 6-9 การสอบปลายภาค 17 25%
5 หน่วยเรียน 1-9 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ ในรายวิชา คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย 1-8, 10-16 10%
เฉลิมพล ถนอมวงค์.  2557.  การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก.
-ไม่มี-
คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  2545. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.  (อัดสำเนา)
จิระพันธ์  ห้วยแสน.  2550. เอกสารคำสอนวิชา 03–630–403 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร(Food Product Development).  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์.
ทิพย์วรรณา  งามศักดิ์.  2545.  หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร.  หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.
มานิต (บรรณาธิการ), การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร.  299-324. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  โดยสาขาวิชาจัดการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนและหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้ร่วมสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป
     จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
     5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ4
     5.2 เพิ่มจำนวนผู้สอนร่วมในบางหน่วยเรียน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ