การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงปริมาณ

Quantitative Analysis in Business

1. มีความเข้าใจในเทคนิคการสร้างรูปแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ
2. มีความเข้าใจในหลักการ วิธีการคำนวณประโยชน์และข้อจำกัด รูปแบบปัญหาที่จะไปใช้เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
3. มีความเข้าใจการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการต่างๆ ทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการศึกษาเทตนิคการสร้างรูปแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อการตัดสินใจ ทฤษฎี การตัดสินใจต่างๆ ในวงการธุรกิจ หลักการ วิธีการคำนวณประโยชน์ ข้อจำกัด และรูปแบบปัยหาที่จะนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจในวงการธุรกิจ ตลอดจนการวิเคราะห์และประมวลผลโครงการต่างๆ ทางธุรกิจ และเพื่อจัดทำรายละเอียดของรายวิชา มีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าตามยุคสมัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาได้นำความรู้ความเข้าใจไปเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน
 
การศึกษาเทคนิคการสร้างรูปแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อการตัดสินใจทฤษฎี การตัดสินใจต่างๆ ในวงการธุรกิจ หลักการ วิธีการคำนวณประโยชน์ ข้อจำกัด และรูปแบบปัญหาที่จะนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจในวงการธุรกิจ ตลอดจนการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการต่างๆ ทางธุรกิจ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ หรือ Social media
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
1.1.2 ความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
1.1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2 กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.2.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม
1.2.4 ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2.5 กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
1.2.6 มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
1.3.1 ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา มีการอ้างอิงทฤษฎีและเอกสารอย่างถูกต้องเหมาะสม
1.3.4 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
2.2.3 การศึกษาโดยใช้วิธีการ STAD (Student Team Achievement Divisions) และ Problem-based Learning โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอผลงานการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์
2.3.5 ประเมินจากความร่วมมือในการเรียนรู้แบบ STAD
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆรวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
3.1.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1 กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
3.2.3 มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข
3.2.4 เน้นถึงศาสตร์และศิลป์ รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงาน และให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานจริง
3.3.1 ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
3.3.2 ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
3.3.3 ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
4.1.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาเชิงธุรกิจ
4.2.2 มีการมอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานกับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.2.3 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.2.4 มีการนำเสนอรายงานและแบบฝึกหัด เพื่อกำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มอย่างชัดเจน
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
4.3.2 ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.3.3 มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5  สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
5.1.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม มีสถิติอ้างอิงและแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ
5.2.2 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
5.2.3 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ประเมินจากการทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาจากโจทย์หรือกรณีศึกษา
5.3.2 ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
5.3.3 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.4 ประเมินจากการทดสอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6,1.7,2.1,2.4-2.6,3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 5% 35% 5% 35%
2 1.1,1.6,1.7,2.1,2.4-2.6,3.2,4.1-4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.1-1.7,3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สุทธิมา ชำนายเวช. 2547. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. พิมพ์ซ้ำครั้งที่ 5. บริษัท วิทยาพัฒน์ จำกัด: กรุงเทพฯ
ดร. รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. 2555. การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงปริมาณ. เอกสารเรียบเรียง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
เกศินี วิทูรชาติ และคณะ.2546. การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร
นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์.2548.เอาตัวรอดด้วยทฤษฏีเกม.พิมพ์ครั้งที่ 6. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กทม.
อัจฉรา จันทร์ฉาย.2546. การจัดการเชิงปริมาณสำหรับนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร
Anderson, Sweeney and others .2001.Quantitative Methods for Business. Eight Editions. Quebecor World
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา             โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ