การวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
Food Process Planning and Control
1.1 เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและกระบวนการบริหารการผลิตและการบริหารด้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร
1.2 เพื่อให้เข้าใจและสามารถวางแผนกำลังการผลิตและจัดตารางการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารได้
1.3 เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการควบคุมและจัดการปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
1.4 เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการวางแผนและควบคุมการผลิตอาหาร การควบคุมคุณภาพ การบริหารผลิตภาพ ตลอดจนเทคนิคและเครื่องมือในการจัดการกระบวนการการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารได้
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน และเพื่อเพิ่มเติมสื่อการเรียนการสอนให้เข้ากับตำราเรียน ที่มีตัวอย่างที่ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น
ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร การพยากรณ์ การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผน การผลิต การวางแผนความต้องการวัสดุและกําลังการผลิต การจัดสมดุลของสายงานผลิต การจัดลําดับงานและตารางการผลิต การจัดการและควบคุมคุณภาพ การจัดการการผลิตขั้น สูง โลจิสติกส์และโซ่อุปทานอาหาร และการจัดการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน อุตสาหกรรมอาหาร
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ (•)
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (•)
1.1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
1.2.2 สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
1.2.3 สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1.3.1 การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3.3 ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.4 ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร (•)
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิศวกรรมกระบวนการอาหารและอุตสาหกรรมอาหารได้ (•)
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยายโดยใช้ Power point และกระดานดำ ให้แบบฝึกหัดทำในห้อง การบ้าน ทำการทดสอบย่อย
2.2.2 ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบ ศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนแบบ e-Learning
2.2.3 ใช้การสอนโดยการฝึกปฏิบัติจริงในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษา
2.2.1 บรรยายโดยใช้ Power point และกระดานดำ ให้แบบฝึกหัดทำในห้อง การบ้าน ทำการทดสอบย่อย
2.2.2 ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบ ศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนแบบ e-Learning
2.2.3 ใช้การสอนโดยการฝึกปฏิบัติจริงในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษา
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาคและ สอบปลายภาค
2.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมายที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
2.3.3 พิจารณาจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ และการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนําความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง และใช้การยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้านและแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำประจำสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆ
3.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวกับความรู้ที่ศึกษา
3.3.3 การทำรายงานและนำเสนอรายงานในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับความรู้ที่ศึกษา
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม (•)
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม (•)
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.2.5 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.2.6 มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
4.3.4 ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหา เช่น ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน เช่น การใช้ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอด ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้ที่เรียนมาทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย โดยให้ความสําคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3 พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ใน รูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม | 2. ด้านความรู้ | 3. ด้านทักษะทางปัญญา | 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5. ด้านทักษะการ วิเคราะห์เชิงตัวเลข การ สื่อสาร และการ ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ | 6. ทักษะพิสัย | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1. | 2. | 3. | 4. | 1. | 2. | 3. | 4. | 1. | 2. | 1. | 2. | 2. | 3. | 1. | 2. | 3. | 1. | 2. | 2. |
1 | 52013301 | การวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 2, 3, 5 | สอบกลางภาค สอบปลายภาค | 9 18 | 35% 30% |
2 | 1-5 | การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย | 1-18 | 35% |
3 | 1-5 | การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน | 1-18 | 5% |
บรรหาญ ลิลา. 2553. การวางแผนและควบคุมการผลิต. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
ยุทธ์ ไกยวรรณ์. 2553. การวางแผนและควบคุมการผลิต. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, กรุงเทพฯ
บุษบา พฤษาพันธุ์รักษ์. 2552. การวางแผนและควบคุมการผลิต. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
เสาวนีย์ เลิศวรสิริกุล. 2552. การวางแผนและควบคุมการผลิต. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
-
Chase, RB, NJ Auilano and FR Jacobs. 2001. Operation Management for competitive Advantage. 9th Edition. McGraw Hill New York, USA
Hax A.C. and D. Candea. 1984. Production and Inventory Management. Englewood Cliffs, New Jerssy, USA.
Bedworth DD. and JE Bailey. 1978. Intergrated Production Control System, Management, Analysis Design. John Wiley & Sons Inc. New York, USA.
Thuesen G.J. and JE. Fabrycky. 2001. Engineering Economy. 9th Edition, Prentice Hall International Inc. New Jessy, USA.
Vollmann T., W.L. Berry, D.C. Whybark, and F.R. Jacobs. 2005. Manufacturing Planning & Control Systems for Supply Chain Management. 5th ed, McGraw-Hill: New York.
Stevenson, W.J. 2005. Operations management. McGraw-Hill, USA.
Nahmias S. 2005. Production and Operations Analysis. McGraw-Hill.
Reid R.D and N. R. Sanders. 2005. Operations Management : An Integrated Approach. Second Edition. John Wiley & Sons Inc., USA.
Chase R.B. and N.J. Aquilano. 1995. Production and Operations Management : Manufacturing and Services. Seventh Edition. Irwin/ McGraw-Hill, USA.
Russell R.S. and W.T. Bernard. 2009. Operations management: Quality and Competitiveness in a Global Environment. John Wiley & Sons, USA.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดกาสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
3.2 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.3 ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
วิธีการทวนสอบ สรุปผล - การพิจารณาความตั้งใจเรียนของนักศึกษาจากจำนวนการมาเรียนทุกครั้ง การส่งผลงานที่ตรงต่อเวลาและครบตามใบงานทำให้นักศึกษาผ่านงานปฏิบัติ
- การประเมินจากผลงานที่มอบหมาย ว่ามีการสืบค้นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง
- พิจารณาจากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในรายวิชา
- ระดับคะแนนของนักศึกษาจะผ่านเกณฑ์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติมีผลทำให้มีผลการเรียนที่ผ่านรายวิชานี้ได้
- นักศึกษามีการค้นคว้าและอ้างอิงที่มาได้อย่างถูกต้อง
- จากคะแนนประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในรายวิชา ทำให้ทราบว่านักศึกษามีความรู้สามารถในการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา
วิธีการทวนสอบ สรุปผล - การพิจารณาความตั้งใจเรียนของนักศึกษาจากจำนวนการมาเรียนทุกครั้ง การส่งผลงานที่ตรงต่อเวลาและครบตามใบงานทำให้นักศึกษาผ่านงานปฏิบัติ
- การประเมินจากผลงานที่มอบหมาย ว่ามีการสืบค้นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง
- พิจารณาจากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในรายวิชา
- ระดับคะแนนของนักศึกษาจะผ่านเกณฑ์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติมีผลทำให้มีผลการเรียนที่ผ่านรายวิชานี้ได้
- นักศึกษามีการค้นคว้าและอ้างอิงที่มาได้อย่างถูกต้อง
- จากคะแนนประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในรายวิชา ทำให้ทราบว่านักศึกษามีความรู้สามารถในการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
5.3 ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
5.4 นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยนักศึกษามาประมวล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป