การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี

Business Finance for Accountant

      1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ความหมายของการเงินธุรกิจ และ เป้าหมายของการจัดการทางการเงิน
         ธุรกิจ
      2. เพื่อให้รู้และเข้าใจเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน การพยากรณ์ และ การควบคุมทางการเงิน
      3. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์งบการเงินและพยากรณ์ทางการเงินได้
      4. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน และ เข้าใจในการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
      5. เพื่อให้รู้และเข้าใจการจัดทำงบจ่ายลงทุน
      6. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ และ โครงสร้างทางการเงิน
      7. เพื่อให้รู้และเข้าใจการจัดทำต้นทุนของเงินทุน
      8. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง  5 ด้านตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  
 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
        ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ เทคนิคในการวิเคราะห์ การพยากรณ์ และการควบคุมทางการเงิน การจัดการเงินทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุน และ โครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1)    บรรยายพร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
2)    ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3)  ให้นักศึกษาแบ่งกันรับผิดชอบติดตั้งและเก็บอุปกรณ์ในการเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้แสดงการมีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1)    ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2)    ประเมินการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยการเช็คชื่อ และประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3)    ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1)    ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2)    การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3)    มอบหมายให้นักศึกษาเข้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้การเงินการลงทุนแบบดิจิทัล ผสมผสานเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จาก SET e-Learning
4)    ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ โดยการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จาก SET e-Learning
 
1)    ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค การสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ  งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ
2)    การประเมินจากการตอบคำถามในห้องเรียน และการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3)    การประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
4)    การประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษานำเสนอ
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3  สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1)   ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษาค้นคว้าจาก SET e-Learning หรือ โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2)   สอนโดยให้นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ไปแก้ไขปัญหาของธุรกิจ และ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทาง การเงิน
3)   สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1)   ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2)   ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญา การสอบข้อเขียน
3)   ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1)   มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2)   มอบหมายงาน ข่าว บทความที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3)   มอบหมายงานกลุ่มเพื่อฝึกความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
 4)   มอบหมายงานกลุ่มเพื่อฝึกความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1)   ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2)   ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3)   ประเมินจากการให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
 4)   ประเมินจากการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบ  การนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ 
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข เช่น การวิเคราะห์งบการเงิน ในการอธิบายความแตกต่างใน ฐานะการเงินและผล การดำเนินงาน เป็นต้น
1)   ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ การสอบข้อเขียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC122 การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย เข้าเรียนโปรแกรม e-learning ของตลาดหลักทรัพย์และจัดทำรายงานกลุ่ม 9 17 3 11-12 30% 35% 10% 15%
2 1,2,3,4,5 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถามในห้องเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
หนังสือการเงินธุรกิจ ผู้เรียบเรียง เสรฐสุดา ปรีชานนท์
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิเคราะห์งบการเงิน พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง 2551
www.sec.or.th
ใช้แบบประเมินผลอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
ประเมินการสอนจากผลสอบของนักศึกษา
ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบ การวิเคราะห์ปัญหา และกรณีศึกษา
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิรายวิชาของนักศึกษา
ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลประเมินข้อ 1 ข้อ3  ข้อ4 มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เรื่องผู้สอน ตารางเรียน การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ