การจำแนกวัสดุพืชพรรณ

Classification of Plant Materials

   เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1 เพื่อให้ทราบถึงชนิดประเภทของพืชพรรณที่นามาใช้ในงานภูมิทัศน์
   1.2 เพื่อให้ทราบถึงวิธีการจำแนกพืชพรรณตามหลักพฤกษศาสตร์
   1.3 เพื่อให้ทราบถึงวิธีการจำแนกพืชพรรณตามวงศ์ สกุลและชนิด
   1.4 เพื่อให้ทราบถึงวิธีการจำแนกพืชตามลักษณะนิสัยและสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต
เพื่อให้สอดคล้องกับผลการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านที่กำหนดไว้ จึงมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติเกียวกับ ความรู้ทั่วไปเกียวกับวัสดุพืชพรรณ การจำแนกวัสดุพืชพรรณตามหลักพฤกษศาสตร์การจำแนกวัสดุพืชพรรณตามวงศ์สกุลและชนิดการจำแนกพืชพรรณตามลักษณะนิสัยและสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต
Study and practice about general knowledge. About plant material. Classification of plants by botanical materials. Identification of the material and the type of vegetation along the descent. Classification of plants according to the character and environment of growth.
ปรึกษาได้ตลอดเวลา ผ่านทาง Facebook กลุ่ม และ เข้าพบที่ห้องพักอาจารย์ อาคาร 9 (สาขาวชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์)
1.1 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
1.2 มีน้ำใจ มีจิตอาสาจิตสาธารณะ   เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 
1.3 มีความพอเพียง   
1.4 มีความซื่อสัตย์  กตัญญู เที่ยงธรรม  สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.5 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ  เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรและสังคม  
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบในการเข้าเรียนและการส่งงานตรงเวลา เป็นผู้มีความสุภาพและมารยาทดี แต่งกายเหมาะสมกับสถานภาพนักศึกษา ฝึกฝนภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม รวมถึงการเคารพสิทธิ และการรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นในการปฏิบัติงาน มีการสอดแทรกความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการเรียนการสอน ทั้งในด้านการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และการประกอบอาชีพชีพ โดยเน้นในเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการเป็นสำคัญ มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ทางการ ศึกษาทั้งทางทฤษฎี ทางปฏิบัติ 
มีการประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ทั้งระหว่างกำลังศึกษา และภายหลังสำเร็จการศึกษา ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต  การใช้แบบประเมิน  โดยประเมินในด้านต่างๆ ดังนี้

 ประเมินจากการมีวินัยในการเรียน การตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน การทำงานเสร็จและส่งงานตามกำหนด  ประเมินจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติมอบหมาย  ประเมินจากความซื่อสัตย์ และจรรยาบรรณในการสอบ

 
    2.1 มีความรอบรู้อย่างกว้างขวางในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้
    2.2  มีความรู้ตามหลักการ ทฤษฎีทางด้านความรู้ทั่วไปเกียวกับวัสดุพืชพรรณ การจำแนกวัสดุพืชพรรณตามหลักพฤกษศาสตร์การจำแนกวัสดุพืชพรรณตามวงศ์สกุลและชนิดการจำแนกพืชพรรณตามลักษณะนิสัยและสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต
    2.3  มีความรู้ในสาขาอื่น เช่น คอมพิวเตอร์  วิทยาการด้านสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง การนำความรู้มาบูรณาการ จากรายวิชาอื่น ที่เรียนมาก่อน
    2.4  รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพ และการนำมาใช้ประโยชน์ต่อสังคม
        2.5  มีความรู้ในเทคนิค ด้านการการจำแนกวัสดุพืชพรรณและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทาง ด้านการในการจำแนนกพืชพรรณที่ใช้ในงานภูมิทัศน์ได้
เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนในรูปแบบต่างๆ และมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจศาสตร์และผสมผสานให้นำไปสู่วิธีการดำเนินการที่เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน  โดยการจัดการการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้จากสถานการณ์จริง มีการเรียน รู้ทั้งในชั้นเรียน ห้องปฏิบัติการ มีการศึกษานอกสถานที่   และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองได้ มีอิสระในการแสวงหาความรู้โดยไม่ยึดติดกับการรับข้อมูลจากผู้สอนเพียงวิธีเดียว กระตุ้นให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยตนเอง ให้มีการนำเสนองาน ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม เพื่อสนับ สนุนให้คิดเป็นและมีนิสัยใฝ่รู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ให้ครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งโดยการทดสอบย่อย  ผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน การนำเสนอผลงาน การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ รวมไปถึงการสอบประมวลความรู้ 
    3.1  เป็นผู้ใฝ่รู้ และมีความ สามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    3.2 สามารถคิด และตัดสินใจบนพื้นฐานของ เหตุผลได้  มีวิสัยทัศน์ และความคิดสร้างสรรค์
    3.3  นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
    3.4  สามารถค้นหาข้อเท็จจริง สรุป ทำความเข้าใจได้
    3.5  สามารถศึกษาวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ไข
ใช้หลักและวิธีการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดและการแก้ไขปัญหา มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการปฏิบัติงานจริง สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านต่างๆ กับสถานการณ์จริง โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษามีความพร้อมในการปรับตัวได้ และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตได้เป็นอย่างดี
ประเมินจากการแสดงออกของนักศึกษาทางการกระบวนการคิดและการแก้ไขปัญหา ผลการปฏิบัติงาน ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การอธิบาย การตอบคำถาม การโต้ตอบสื่อสารกับผู้อื่น
4.1  มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
    4.2  ตระหนักถึงสิทธิของตนและผู้อื่น และยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ 
    4.3  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย  ปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ
    4.4  สามารถวางแผนและรับผิดชอบการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เน้นการเรียนการสอนที่มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนและผู้สอน การเรียนรู้และการปฏิบัติงานเป็นทีม การแสดงออกถึงภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การมี มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน การวางตัวที่เหมาะสมต่อกาลเทศะ การทำกิจกรรมเพื่อสังคม การประสานงานกับผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบัน การศึกษา และความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในหลายๆ ด้าน ระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น พฤติกรรมความสนใจ ตั้งใจเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง การแสดงบทบาทภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบในการเรียนและงานที่ได้รับมอบหมาย และการร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคม
5.1  สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
5.2  สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลข  ระบุเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมายได้
5.3  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร  ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และคัดเลือก
5.4  สรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการเขียน การพูด รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ
ฝึกนักศึกษาให้ได้ฝึกทักษะทั้งด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าและนำเสนองานทางวิชาการ และมีกิจกรรมการเรียนการสอนอื่นๆ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ เหล่านี้ ทั้งด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่น การอภิปราย และการวิเคราะห์ปัญหาจริงในการเรียนรู้
ประเมินผลตามกิจกรรมการเรียนการสอน และการนำเสนองานโดยใช้แบบประเมินทักษะในด้านต่างๆ เหล่านี้ การทดสอบความรู้และเทคนิคการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลองเสมือนจริง  ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนการเขียนรายงาน และการนำเสนอผลงาน
6.1 มีทักษะปฏิบัติ  และสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานตามสภาพจริงได้
ใช้ตัวอย่าง  รูปภาพ หรือกรณีศึกษาให้นักศึกษาฝึกทักษะด้านการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ เหล่านี้ ทั้งด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่น การอภิปราย และการวิเคราะห์ปัญหาจริงในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหา การปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการ
ประเมินผลตามกิจกรรมการเรียนการสอน และการนำเสนองานโดยใช้แบบประเมินทักษะในด้านต่างๆ เหล่านี้ การทดสอบความรู้และเทคนิคการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลองตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนการเขียนรายงาน และการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 6. ทักษะปฏิบัติ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 5.4 6.1
1 21041101 การจำแนกวัสดุพืชพรรณ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การแต่งกายเหมาะสม 1-15 10%
2 ความรู้ การทดสอบย่อน 1-15 60
3 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การนำเสนองาน/การรายงาน/การทำงานเป็นที่่ม 2-15 30
1.1.อิศร์ สุปินราช 2558 เอกสารประกอบการสอนวิชาการจำแนกวัสดุพืชพรรณ สาขาวิชา เทคโนโลยีภูมิทัศน์   คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง
1.2 กองบรรณาธิการวารสารบ้านและสวน 2524 สารานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทย อมรินทร์   การพิมพ์ กรุงเทพฯ
1.3 กองบรรณาธิการวารสารบ้านและสวน 2525 สารานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ เล่มที่ 2,3 อมรินทร์การพิมพ์ กรุงเทพ4
1.4 สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์ 2544 สรีรวิทยาของพืช สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
2.1 เอื้อมพร  วีสมหมาย  ทอง  เจนจิตติกุลและอรุณ  วงศ์พนาสิน. 2541. พฤกษาพัน โรงพิมพ์เอช เอน กรุ๊ป จำกัด กทม.
2.2 เอื้อมพร  วีสมหมาย  ศศิยา  ศิริพานิช อลิศรา  มีนะกนิษฐา และณัฎฐ  พืชกรรม. 2540. พรรณไม้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. สมาคมภูมิสถาปนิกแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ.
3.1 วารสารทางวิชาการ และรายงานการประชุมวิชาการ สัมมนา เกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับทั้งระดับชาติและนานาชาติ
3.2 วารสารต่างประเทศ เช่น Hortscience
3.3Website เกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับ
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน    ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ฯลฯ
 มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรจากการ สัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา ดูผลการเรียนของนักศึกษา
 
1) หลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์ วิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา และผลการประเมินอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษา และให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาตามแบบ มคอ. 2) มีการประชุมอาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางการแก้ไข
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน ทั้งทางด้านเนี้อหาที่สอน กลยุทธ์ การสอน แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชา เพื่อเสนอต่อหัวหน้าภาคและคณะกรรมการพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปเพื่อวางแผนปรับปรุงในปีการศึกษาถัดไป