การภาษีอากร 2

Taxation 2

  1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการบัญชีสำหรับรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประมวลรัษฎากร สำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทบุคคลธรรมดา การยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีและสิ้นปี
  1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวและความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของธุรกิจ และความเกี่ยวข้องกันกับการคำนวณภาษีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทนิติบุคคล ได้แก่
           - การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
           - การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
           - การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการ การจัดทำกระดาษทำการเพื่อปรับปรุงกำไรทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีและสิ้นปี
  1.3 เพื่อให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า การคำนวณภาษี และการแสดงแบบรายการทางภาษีของกิจการ รวมทั้งให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ภาษีสรรพากร
    2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านการคำนวณภาษีสรรพากร บันทึกรายการทางบัญชีและจัดทำเอกสารทางบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และสอดคล้องกับที่ประมวล รัษฎากรกรกำหนด
    2.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
    2.3 เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายประมวลรัษฎากรที่มีการประกาศใช้ในรอบปีพ.ศ.2561
       ศึกษาแนวคิดและความแตกต่างระหว่างเกณฑ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีและการภาษีอากร การจัดทำกระดาษทำการเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร การปรับปรุงกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษีอากร การจัดทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากรและการยื่นแบบแสดงรายงานภาษีสรรพากรเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง รวมทั้งศึกษาภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีระหว่างประเทศ การวางแผนภาษีและจริยธรรมของวิชาชีพ
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 6 ชั่วโมง/สัปดาห์ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 4 ห้องหลักสูตร
       นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
     1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
     2) ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการชำระภาษีสรรพากร
     3) สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
     4) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
 
     1.2.1 สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชี และยกตัวอย่างผลเสียหายของการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีที่ส่งผลต่อการเสียภาษีสรรพากร และให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อเสียภาษีอย่างไม่ถูกต้อง และนำมาอภิปรายกันในชั้นเรียนสัปดาห์ละ 3 เรื่อง โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีก่อนการเรียนเนื้อหารายวิชา
     1.2.2 กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
    1.3.1 ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปรายของนักศึกษา
    1.3.2 ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การประเมินผลการสอบกลางภาค โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ การตรวจสมุดบัญชี และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
   2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
   2.1.2  แนวคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเพื่อภาษีอากร ได้แก่ การคำนวณภาษี การ   บันทึกบัญชี และเอกสารทางภาษีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้นิติบุคคล
   2.1.3  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
   2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ การจัดทำแบบแสดงรายงานทางภาษีสรรพากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากร เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกิจการที่ได้รับบัตร BOI เป็นต้น
   2.1.5 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
   2.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากรในปัจจุบันที่มีต่อการบัญชีของธุรกิจ
   2.2.1 การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัด
   2.2.2 การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
   2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล เช่น งบการเงินระหว่างกาล เป็นต้น แล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน
   2.2.4 สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
   2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานและการทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
   2.3.2 การประเมินจากการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
   2.3.3 การประเมินผลการเรียนรู้จากการตรวจแบบฝึกหัด
3.1.1 สามารถพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบได้ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและพร้อมนำความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษาต่าง ๆ
  3.2.1 บรรยาย การฝึกปฏิบัติ การยกตัวอย่าง พร้อมการถาม – ตอบในชั้นเรียน
  3.2.2 ฝึกการคิด ฝึกการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัก หรือกรณีศึกษาต่าง ๆ
  3.2.3 การมอบหมายงานตามใบงานที่กำหนดขึ้น
  3.2.4 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่มหรืองานเดี่ยว
  3.3.1 การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัด
  3.3.2 การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
  3.3.3 สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
   4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
              - สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
   4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
              - สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม (การทำรายงานกลุ่ม) ได้โดยราบรื่น
   4.1.3 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง ในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
              - สามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานได้ด้วยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ
   4.2.1 มอบหมายงานกลุ่ม เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ แบ่งเป็น 6 ธุรกิจ ได้แก่
           - ธุรกิจธนาคารและธุรกิจเยี่ยงธนาคาร - ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
           - ธุรกิจรับประกันชีวิต - ธุรกิจแฟคเตอร์ริ่ง
           - ธุรกิจโรงรับจำนำ - ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์
        โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับสลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
      4.3.1 ประเมินจากแบบฝึกหัด
      4.3.2 ประเมินจากการนำเสนอกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม
   
5.1.1 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
          - สามารถนำเสนอรายงานที่ศึกษาค้นคว้า ทั้งในรูปแบบของการเขียนรายงาน และการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนโดยวาจาได้อย่างเหมาะสม
5.1.2 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
          - สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณภาษี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลรายงานทางการเงิน โดย การอธิบายวิธีการ แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ และคำนวณภาษีได้อย่างเหมาะสม     
 5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
          - สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงาน และเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
  5.2.1 มอบหมายงานให้ค้นคว้าด้วยตนเองจาก web site สื่อการสอน E-learning เป็นต้น
  5.2.2 การนำเสนอและยกตัวอย่างโดยใช้ Power point
  5.3.1 ประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
  5.3.2 การตรวจรูปเล่มรายงาน
-ไม่มี-
-ไม่มี-
-ไม่มี-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทัษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BACAC136 การภาษีอากร 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 3,4 10%
2 บทที่ 2,3,4 สอบกลางภาค 9 25%
3 บทที่ 5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 11,15 20%
4 บทที่6,7,8 สอบปลายภาค 18 25%
5 บทที่1-8 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา และการถาม – ตอบ ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา 20%
- ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว. การภาษีอากร 2. กรุงเทพฯ : สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 2560.
- ยุพดี ศิริวรรณ. การบัญชีภาษีอากร กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี จำกัด สมุทรสงคราม, 2560.
   - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2560) ภาษีเงินได้. กรุงเทพฯ : ธันวาคม, 2560.
   - มาตรฐานการบัญชีไทย
   - พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   - ประมวลรัษฎากร
   - พระราชกฤษฎีกา
   - กฎกระทรวง
   - ประกาศ
    ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี และภาษีสรรพากรที่ควรติดตาม ได้แก่ ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว็ปไซต์ ต่อไปนี้
   - Power Point Slide ประจำบทเรียน
   - www.Fab.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี
   - www.nukbunchee.com เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม
   - www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
   - www.rd.co.th เว็บไซด์กรมสรรพากร
   การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

             2.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ทุกภาคการศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
    2.1 ผลการสอบทั้งกลางภาคและปลายภาคเรียนของนักศึกษา
    2.2 การทบทวนผลการประเมิน เช่น การทดสอบย่อย
    2.3 จากการตรวจแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนของนักศึกษา
 หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
  3.1 ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
  3.2 ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา การทำกรณีศึกษา
 4.1 ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
 4.2 ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนของสาขาวิชา
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้นำไปใช้ในการเรียน การทำแบบฝึกหัดหรือในการประกอบอาชีพต่อไป
5.3 ปรับเปลี่ยนตารางสอน เพิ่มการสอนเสริม ตามที่นักศึกษาต้องการ