วงจรไฟฟ้า

Electric Circuits

 1.1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยามและระเบียบวิธีที่ถือปฏิบัติในวิชาวงจรไฟฟ้า
1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการประยุกต์ใช้กฎเคอร์ชอฟฟ์ร่วมกับกฎของโอห์ม การวิเคราะห์วงจรตัวต้านทาน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าแบบวิธีแรงดันโนดและวิธีกระแสเมช
1.4 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่ใช้ในการลดรูปวงจรไฟฟ้าเพื่อให้ได้วงจรใหม่ที่วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น
1.5 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวิเคราะห์ผลตอบสนองของวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุ
1.6 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจสมบัติของวงจรอันดับหนึ่งของวงจรตัวต้านทานและตัวเหนี่ยวนำ วงจรตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุ
1.7 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจสมบัติของวงจรอันดับสองจำกัดเฉพาะวงจรที่ประกอบด้วยตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุ
1.8 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวิเคราะห์ผลตอบสนองที่สถานะอยู่ตัวของวงจรที่ถูกขับนำโดย แหล่งจ่ายพลังงานไซนูซอยด์ และการวิเคราะห์กระแสและแรงดันที่สถานะอยู่ตัวของกระแส และแรงดันไซนูซอยด์
1.9 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าสามเฟสแบบสมดุล 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานและเข้าใจในเรื่องกฎพื้นฐานของวงจรไฟฟ้า วิธีการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า ทฤษฏีวงจรไฟฟ้า การทำงานอุปกรณ์พาสซีพกับไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ การหาการตอบสนองต่อเวลาและความถี่ การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์
ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบวงจรไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรด้วยวิธีโนดและวิธีเมช ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า ค่าความต้านทาน ค่าความเหนี่ยวนำและค่าความจุ วงจรอันดับ หนึ่งและวงจรอันดับสอง เฟสเซอร์ไดอะแกรม วงจรไฟฟ้ากำลังกระแสสลับ ระบบไฟฟ้าสามเฟส
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์( เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นใน สังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่ เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
   (1) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
   (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
   (3) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นหมู่คณะ สามารถ แก้ไขข้อขัดแย้งตามลําดับความสําคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   (4) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรม ต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
   (5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมใน แต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น ในการสอนรายวิชาของสาขาวิชายังได้สอดแทรกเนื้อหาที่ เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จําเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทํากิจกรรมที่กําหนดมีการกําหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็น ส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา
กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝั่งให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายทที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษา ต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทํางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นํากลุ่มและการเป็นสมาชิก กลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทําดี ทําประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
   (1)  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
   (2)  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วม กิจกรรมเสริมหลักสูตร
   (3)  ปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบ
   (4)  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษา เพื่อนําไปใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนา สังคม ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
   (1)   มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
   (2)   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สําคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและ ปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
   (3)   สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง
   (4)  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการ ประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
   (5)   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไข ปัญหาในงานจริงได้
การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทําได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละ วิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และ ประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะ เรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
   (1) การทดสอบย่อย
   (2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
   (3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทํา
   (4) ประเมินจากโครงการที่นําเสนอ
   (5) ประเมินจากการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
   (6) ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิศวกรรม
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อ จบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิชา ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและ สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจํา นักศึกษาต้องมี คุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
   (1) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
   (2) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
   (3) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   (4) มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่าเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
   (5) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
   (1) กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิชา
   (2) การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและ รายงานหน้าชั้นเรียน
   (3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมิน จากการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จาก การแก้ปัญหา เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จัก มาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรก วิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชา ทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้
   (1)   สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย  และสามารถสนทนาทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
   (2)   สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกใน การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
   (3)   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
   (4)   รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งใน ฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อ ขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความ รับผิดชอบ
   (5) มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ใช้การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมให้มีการทํางานเป็นกลุ่ม การทํางานที่ต้อง ประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มี
ประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและ ความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
   (1) สามารถทํางานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
   (2)   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
   (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงาน ได้เป็นอย่างดี
   (4)   มีภาวะผู้นํา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคล ทั่วไป
   (5)   ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   (1) ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี
   (2)  ติดตามการทํางานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
   (3) ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
   (4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
   (1) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สําหรับการทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้ เป็นอย่างดี
   (2) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดง สถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
   (3) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
   (4) มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด  การเขียน  และการสื่อ ความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
   (5) สามารถใช้เครื่องมือการคํานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
   (1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ  ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ สถานการณ์จําลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนําเสนอการ แก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศใน หลากหลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
   (2) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนําเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสําคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
   (1) ประเมินจากเทคนิคการนําเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทาง เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทาง วิศวกรรมศาสตร์
   (2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจํากัด เหตุผลในการ เลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนําเสนอ ต่อชั้นเรียน
   (3) สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
การทํางานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้ เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสําคัญมากในการทํางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ จําเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่ของบัณฑิต ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึง ต้องให้ความสําคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรม ดังข้อต่อไปนี้
   (1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   (2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
   (1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
   (2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
   (3) สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
   (4) จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
   (5) สนับสนุนการทําโครงงาน
   (6) สหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมในสถานประกอบการ
   (1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
   (2) มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
   (3) มีการประเมินผลการทํางานในภาคปฏิบัติ
   (4) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
   (5) มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะ ทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคลและความ รับผิดชอบ 5.ด้านทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้าน ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEE101 วงจรไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษา เพื่อนําไปใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนา สังคม ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ (1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (2) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สําคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและ ปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (3) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง (4) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการ ประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (5) สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไข ปัญหาในงานจริงได้ การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทําได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละ วิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร 1. ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 2. สอบกลางภาค 3. ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 4. สอบปลายภาค 4 9 12 และ 18 5% 35% 5% และ 35%
2 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (1) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 3. ด้านทักษะทางปัญญา (1) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี (2) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (3) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่าเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม (2) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกใน การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ (3) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (4) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งใน ฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อ ขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความ รับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตวเลข การสื่อสาร และการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ (1) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สําหรับการทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้ เป็นอย่างดี (2) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดง สถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ (3) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (5) สามารถใช้เครื่องมือการคํานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 1. ให้นักศึกษา อ่านและสรุปบทความ วิเคราะห์กรณีศึกษา และค้นคว้าข้อมูลเพื่อการนำเสนอรายงาน การทำงานเป็นกลุ่มและการส่งงานตามที่มอบหมาย 2. การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
- มงคล เดชนครินทร์. คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536. - สุขุมวิทย์ ภูมิวุฒิสาร. การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 - เจษฎา ชินรุ่งเรือง. ทฤษฎีวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 - Leon O. Chua, Charles A. Desoer, and Ernest S. Kuh. Linear and Nonlinear Circuits. McGraw-Hill series in Electrical Engineering. Circuit and System. New York: McGraw-Hill, 1987. - Charles K. Alexander and Matthew N. O. Sadiku. Fundamentals of Electric Circuits (fifth edition), McGraw-Hill, 2013. - James W. Nilsson, and Susan A. Riedel. Electric Circuits (sixth edition). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hill, 1999.
เอกสารนำเสนอของอาจารย์ประจำวิชา 
เว็ปไซด์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อรายวิชา เช่น http://www.allaboutcircuits.com/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชาจัดทำโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดและเสนอความเห็น มีวิธีการดังนี้
   1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
   2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
   1. การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
   2. การทำแบบฝึกหัด
   3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในห้วข้อที่ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
   1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
   2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
   1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
   2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
   1. ปรับปรุงหัวข้องานที่มอบหมายและวิธีการสอน สื่อประกอบการสอนภาคการศึกษาที่ทำการสอนตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
   2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ