สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล

Architecture for All

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเป็นมาของสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล  ประเภทผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงและใช้งานอาคาร  หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล ศึกษาข้อกำหนด เกณฑ์มาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  มีทักษะ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารสถานที่ ให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงและใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจถึงความเป็นมาของสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล และประเภทผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงและใช้งานอาคาร 
2.2 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล  พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารอาคารสถานที่ให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน  ปราศจากอุปสรรค เบาแรง ปลอดภัย
ศึกษาความเป็นมาของสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล ประเภทผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงและใช้งานอาคาร  หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล  ฝึกปฏิบัติการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารอาคารสถานที่ให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน  ปราศจากอุปสรรค เบาแรง ปลอดภัย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)โดยระบุวัน เวลา ด้วยการแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจาการตรวจสอบแผนการสอนเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ  โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน  โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ  นอกจากนี้ อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง  ตลอดจนการฝึกประสบการณีหรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่างๆ คือ
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.4 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิขาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมหรือการจัดทำนิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรม โดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ การเคารพสิทธิและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
6.1.1 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี  เพื่อแก้ไข้ปัญหาอย่างเหมาะสม
6.1.2 ใช้ภาษาไทยและต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง  ตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
       ใช้วิธีการสอน  ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
       ประเมินตามสภาพจริง โดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทัหษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT503 สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 ด้านความรู้ - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9 17 25% 25%
3 ด้านทักษะทางปัญญา - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การจัดทำงานกลุ่ม/การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - - -
6 ทักษะพิสัย การนำเสนองานปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย 1ุ0 16 5%
ไตรรัตน จารุทัศน. คู่มือการออกแบบเพื่อทุกคน. หนวยปฏิบัติการวิจัยสภาพแวดลอมที่เหมาะสมกับผูสูงอายุและคนพิการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2558 สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความบนคงของมนุษย์. คู่มือออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับผู้พิการและคนทุกวัย. สํานักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนคงของมนุษย์. ครั้งที่ 4. 2558 อ.ช่อเพชร พานระลึก. แนวคิดการออกแบบและบัญชีรายการอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการที่สอดคล้องกับความต้องการพิเศษของคนพิการ. ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ธีรวุฒิ บุญยศักดิ์เสรี, จรัญญา พหลเทพ. แนวทางการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพพื้นที่ส่วนกลางของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อ ตอบสนองการใช้งานของคนผู้พิการที่เป็นไปตามหลักการ Universal Design. ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์