ศิลปะไทย 3

Thai Art 3

1. เข้าใจกระบวนการถ่ายทอดแนวความคิดและคลี่คลายรูปแบบในการสร้างสรรค์งานศิลปะไทย
2. รู้จักเลือกหาเทคนิควิธีการทางศิลปะไทยให้เหมาะสมกับการแสดงออกการสร้างสรรค์งานศิลปะไทย
3. มีทักษะในการวิเคราะห์หารูปแบบ เนื้อหา เทคนิค ที่แสดงออกแบบเฉพาะตนในแนวทางการสร้างสรรค์
งานศิลปะไทย
4. เห็นคุณค่าในการถ่ายทอดการสร้างสรรค์งานศิลปะไทย
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชา ศิลปะไทย 3 สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ วิชาเอกศิลปะไทย ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะในทดลองสร้างสรรค์ผลงานให้มีลักษณะเฉพาะตนโดยการประยุกต์ความรู้ความสามารถจากความเข้าใจในงานศิลปะไทยและสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวมาใช้ในการพัฒนาผลงาน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับงานศิลปะไทยโดยวิเคราะห์ เนื้อหา รูปแบบ แนวความคิดที่ศึกษานำมาปฏิบัติงานศิลปะไทย ทั้งในห้องปฏิบัติงานและนอกสถานที่วิจารณ์แนะนำเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า
๑.๑ มีความรู้ ความสามารถในการสร้างสรรค์งานศิลปะไทยรับผิดชอบต่อสังคม
๑.๒ มีศักยภาพในการค้นคว้าและพัฒนาตนเอง
๑.๓ มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
วิธีการประเมินผลจากการมีวินัยในการเข้าชั้นเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ความรับผิด ชอบส่งงานตามกำหนด และมีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้ ความสามารถในการสร้างสรรค์งานศิลปะไทย
 
วิธีการสอน บรรยาย อภิปราย ทำงานกลุ่ม นำเสนอรายงาน วิเคราะห์ สรุปผล
 
วิธีการประเมินผล จากการทดสอบแต่ละหน่วยเรียน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาคเรียน และผลงานที่ปฏิบัติ
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา พัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ และ การสร้างสรรค์งานศิลปะไทย
 
วิธีการสอน บรรยาย อภิปรายกลุ่ม ทำรายงานโดยการศึกษาเรียนรู้จากครูภูมิปัญญา
 
วิธีการประเมินผล จากเอกสารกระบวนการสร้างสรรค์ในแต่ละหน่วยเรียน
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบระหว่างผู้เรียน และผู้สอน
 
วิธีการสอน จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายรายงานกลุ่ม รายงานความก้าวหน้าของงาน
 
วิธีการประเมินผล จากรายงานที่มอบหมายเป็นกลุ่ม
ทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะไทย
 
วิธีการสอน สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ
 
วิธีการประเมินผล จากการใช้วัสดุ แบบภาพร่างความคิด โดยสามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ เทคนิคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในการสร้างสรรค์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ๖. ด้านทักษะพิสัย ๑. คุณธรรม จริยธรรมข้อ ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย 2 มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละบุคคลถนัดได้ 3 สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม 4 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน 5 มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน 1.มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2.มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4.เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1. มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 1. มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 41014304 ศิลปะไทย 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม - ประเมินจากการมีวินัยในการเข้าชั้นเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ความรับผิด ชอบส่งงานตามกำหนด และมีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย 1-17 10%
2 ด้านความรู้ - ประเมินจากการทดสอบแต่ละหน่วยเรียน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาคเรียน และผลงานที่ปฏิบัติ 3,6,9,10,13,16,17 30%
3 ด้านปัญญา - ประเมินจากเอกสารกระบวนการสร้างสรรค์ในแต่ละหน่วยเรียน 3,6,10,13,16 10%
4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ - ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 1-8,10-16 10%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ -ประเมินจากการสืบค้นข้อมูล โดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ 1-8,10-16 10%
6 ด้านทักษะพิสัย ประเมินจากการใช้วัสดุ แบบภาพร่างความคิด โดยสามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ เทคนิคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในการสร้างสรรค์ 1-8,10-16 30%
หนังสือศิลปะไทยและศิลปะไทยร่วมสมัย สูจิบัตรการแสดงงานศิลปะ
- ชลูด นิ่มเสมอ การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย กรุงเทพฯ, บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด, 2532. 116 หน้า ISBN-974-8359-02-6
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ เช่น Arts of asia , fine arts, C art ,art4D
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทยและศิลปะไทยร่วมสมัย
-สูจิบัตรนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง
- การสังเกตการณ์การเข้าเรียนของนักศึกษา
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การทำผลงานทางวิชาการ การสร้างสรรค์ศิลปะ
- การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา
- ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ต่างหลักสูตร
- ตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการการให้คะแนน
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4