การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง

Advance Computer Programming

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการ และเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบต่าง ๆ 
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้เครื่องมือ  เทคนิค การคิดและการปฏิบัติการเขียนโปรแกรมในด้านการเรียกตัวเอง การค้นหาข้อมูล และการเรียงลำดับข้อมูล
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการประยุกต์ในด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษาศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการ วิธีการ และใช้เทคนิคการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถประยุกต์วิธีการเขียนโปรแกรมในด้านการค้นหาข้อมูลและการเรียงลำดับข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ในระดับสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการ และเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบต่าง ๆ เพื่อทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการทดสอบ ตรวจสอบ แก้ไขโปรแกรม การเขียนโปรแกรมเรียกตัวเอง การค้นหาข้อมูล และการเรียงลำดับข้อมูล
The study and practice of concepts, methods, and techniques in programming to make the program work more efficiently; technical testing, programming verification, recursive programming; data searching and data sorting.
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.5  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
3.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผน   การทำงานเป็นทีม
การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
4.6  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยนักศึกษา
พฤติกรรม ภาวะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
5.4  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากกรณีศึกษา
ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.5  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 4.6  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 5.4  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา แนะนำจริยธรรมในการเรียนและการใช้วิชาชีพ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม บรรยาย สาธิต แนะนำการใช้เครื่ื่องมือ ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม บรรยาย สาธิต แนะนำการใช้เครื่ื่องมือ ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม จัดกลุ่มการทำงานเป็นทีม นำเสนอผลงาน จัดกลุ่มการฝึกปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรม การจัดทำผลงาน การนำเสนอผลงาน ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการเขียนโปรแกรม การนำเสนอผลงาน การค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1 BBAIS203 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.5 4.4 -จากการลงลายมือชื่อเข้าชั้นเรียน, ใบลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรม ทุกสัปดาห์ 10%
2 1.5 3.3 4.6 5.4 -จากการฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมแบบต่าง ๆ และนำเสนอแนวความคิดที่นำมาใช้ในวิธีการของการเขียนโปรแกรม 1,2,3,4,5,6,7,9,10,11,12,13,14,15 40%
3 2.2 3.3 4.6 5.4 -จากการนำเสนอด้วยวาจา และผลงานจากการฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม และรายงาน 1,2,3,4,5,6,7,9,10,11,12,13,14,15 10%
4 2.2 3.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 6,17 40%
ผศ.ดร.สุชาติ คุ้มมะณี (2558). เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมด้วยไพธอน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562. จาก http://isan.msu.ac.th/suchart/Python/ProgrammingExpertwithPython.pdf
ผศ.สานนท์ เจริญฉาย (2550). การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึม. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: โรงพิมพ์นิติธรรมการพิมพ์. 2550.
โชติพันธุ์ หล่อเลิศสุนทร และ ฐิติพันธุ์ หล่อเลิศสุนทร. (2559). คู่มือการเขียนโปรแกรม Python (ภาคปฏิบัติ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คอร์ฟังก์ชั่น, 2559.
-โปรแกรมภาษา Phython
-ตัวอย่าง source code การเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่าง ๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนีการสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ