รายละเอียด

วัชพืชและการควบคุม / Weeds and Their Controls

  • 0 สัปดาห์
  • จำนวนนักศึกษา 0 คน
  • อาจารย์ผู้สอน 1 คน

ข้อมูลรายวิชา

  • รหัสรายวิชา : BSCAG109
  • ชื่อรายวิชา(TH) : วัชพืชและการควบคุม
  • ชื่อรายวิชา (EN) : Weeds and Their Controls
  • เทอม / ปีการศึกษา : 1/2563

รายละเอียด

มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา

(Course Specification)

 

 

 

 

 

รหัสวิชา BSCAG109

ชื่อวิชา วัชพืชและการควบคุม

(Weeds and Their Controls)

 

 

 

 

 

 

 

รายวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรวิทยาศาตรบัณทิต วิชาเอกพืชศาสตร์

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

 

สารบัญ

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ 

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ 

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา 

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล 

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน 

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายละเอียดของรายวิชา

Course Specification

 

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

คณะ/วิทยาเขต/ภาควิชา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

 

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

 

1. รหัสและชื่อรายวิชา : BSCAG109 วัชพืชและการควบคุม (ฺBSCAG109 Weeds and Their Controls)

 

2. จำนวนหน่วยกิต : 2 หน่วยกิต (1–3–3)

 

3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา : เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพบังคับ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศษสตร์ วิชาเอกพืชศาสตร์

 

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน:

4.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนา รุจิพจน์

สถานที่ติดต่ออาจารย์ : ห้องสำนักงานสาขาพืชศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

ตำบลฝายแก้วย อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

โทรศัพท์ : 054-710-259 ต่อ 1125 โทรสาร : 054-771-398

โทรศัพท์มือถือ : 081-792-0315 e-mail : k_rujiphot@rmutl.ac.th

 

4.2 อาจารย์ผู้สอนรายวิชา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนา รุจิพจน์

สถานที่ติดต่ออาจารย์ : ห้องสำนักงานสาขาพืชศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

โทรศัพท์ : 054-710-259 ต่อ 1125 โทรสาร : 054-771-398

โทรศัพท์มือถือ : 081-792-0315 e-mail : k_rujiphot@rmutl.ac.th

 

5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน : ภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 3 (4 ปี)

 

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี

 

7. รายวิชาที่ต้องเรียนควบคู่กัน : ไม่มี

 

8. สถานที่เรียน : สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ตำบลฝายแก้วย อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

 

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด : วันที่ 11 พฤษภาคม 2563

 

 

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

 

1. วัตถุประสงค์ของรายวิชา: เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้

1.1 มีความรู้ในชนิดและลักษณะที่สำคัญของวัชพืช การเจริญเติบโต การขยายพันธุ์และการ

แพร่กระจายพันธุ์ของวัชพืช และปัญหาอันเนื่องมาจากวัชพืช

1.2 มีความรู้ในหลักการจัดการวัชพืชและวิธีการควบคุมวัชพืช

1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และเลือกใช้วิธีการควบคุมวัชพืชในพืชปลูกต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

1.4 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

1.5 มีวินัย ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น รับฟังความคิดของผู้อื่น

1.6 มีความรับผิดชอบในวิชาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพ

 

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา:

เพื่อเป็นรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพบังคับ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับวัชพืชและเลือกใช้วิธีกำจัดวัชพืชอย่างถูกต้อง เหมาะสม และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถเชื่อมโยงกับการผลิตพืชเศรษฐกิจ มีทักษะและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของตนเอง ชุมชน และท้องถิ่น

 

 

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

1. คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำลายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้

The study and practice of importance of weeds, biological and ecological classification of major weeds, weeds prevention and control, types and physiological damage of herbicides and herbicides application and safety.

 

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา:

จำนวนชั่วโมงบรรยายต่อสัปดาห์ 1 ชั่วโมง

จำนวนชั่วโมงฝึกปฏิบัติการต่อสัปดาห์ 3 ชั่วโมง

จำนวนชั่วโมงการศึกษาด้วยตนเอง 3 ชั่วโมง

จำนวนชั่วโมงที่สอนเสริมในรายวิชา - ชั่วโมง

 

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 17.00 น. ห้องพักอาจารย์ สาขาพืชศาสตร์ หรือ โทรศัพท์ 081-792-0315

3.2 ส่ง e-mail : k_rujiphot@rmutl.ac.th ทุกช่วงเวลาของทุกวัน

 

 

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

 

การพัฒนาผลการเรียนรู้

 

วิธีการสอน

วิธีการวัดและประเมินผล

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics and Moral)

š 1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ

š 1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

 

 

 

1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดยมีการ

สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมการยกย่องนักศึกษา/บุคคลที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ

 

 

 

1. การสังเกตและบันทึกการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน

2. การสังเกตความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

3. การสังเกตและบันทึกการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด

4. ประเมินจากการทำข้อมอบความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ

 

2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)

˜ 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

š 2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ใน
การดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

 

 

1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) ให้นักศึกษาค้นคว้าเรื่อง วัชพืชและการป้องกันกำจัดวัชพืช จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางวิชาการ

2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้งานมอบหมายรายบุคคล

3. การสอนแบบ (Brain Storming Group) ให้งานมอบหมายกลุ่ม

 

 

 

1. การทดสอบย่อย

2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

3. รายงาน/ผลงาน ที่นักศึกษาจัดทำ

4. การนำเสนอรายงาน/ผลงานในชั้นเรียน

 

3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills)

š 3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม

˜ 3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่

3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม

 

 

1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) ให้นักศึกษาค้นคว้าการป้องกันกำจัดวัชพืช

2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้งานมอบหมายรายบุคคล

3. การสอนแบบ (Brain Storming Group) ให้งานมอบหมายกลุ่ม

 

 

 

 

 

1. รายงาน/ผลงาน ที่นักศึกษาจัดทำ

2. การนำเสนอรายงาน/ผลงานในชั้นเรียน

3. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ

 

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility)

š 4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม

˜ 4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม

 

 

 

 

 

1. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้งานมอบหมายรายบุคคล

2. การสอนแบบ (Brain Storming Group) ให้งานมอบหมายกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

1. การสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา

2. การนำเสนอรายงาน/ผลงานในชั้นเรียน

3. การประเมินโดยนักศึกษาร่วมชั้นเรียน

 

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)

š 5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง
พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน

˜ 5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม

 

 

 

 

 

 

1. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้งานมอบหมายรายบุคคล

2. การสอนแบบ (Brain Storming Group) ให้งานมอบหมายกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. การนำเสนองานด้วยวิธีรายงาน / เทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล

2. รายงาน/ผลงาน การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม

 

6. ด้านทักษะปฏิบัติ (Psychomotor Skill) (ถ้ามี)

6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ

 

 

 

 

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

หมวดวิชาเฉพาะ สาขาวิชาพืชศาสตร์

˜ ความรับผิดชอบหลัก š ความรับผิดชอบรอง

 

กลุ่มวิชา

1.คุณธรรมจริยธรรม

2.ความรู้

3.ทักษะทางปัญญา

4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ

5.ทักษะการวิเคราะห์

เชิงตัวเลขและการใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศ

6.ด้านทักษะ

พิสัย

ลำดับ

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

1

2

1

2

1

2

3

1

2

1

2

1

20

BSCAG109

วัชพืชและการควบคุม

 

š

 

š

 

˜

 

š

 

š

 

˜

 

 

 

š

 

˜

 

š

 

รายวิชา - วัชพืชและการควบคุม

อาจารย์ผู้สอน