รายละเอียด

ทฤษฎีโครงสร้าง / Theory of Structures

  • 17 สัปดาห์
  • จำนวนนักศึกษา 0 คน
  • อาจารย์ผู้สอน 1 คน

ข้อมูลรายวิชา

  • รหัสรายวิชา : ENGCV103
  • ชื่อรายวิชา(TH) : ทฤษฎีโครงสร้าง
  • ชื่อรายวิชา (EN) : Theory of Structures
  • เทอม / ปีการศึกษา : 2/2561

รายละเอียด

รายวิชา - ทฤษฎีโครงสร้าง

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปในการวิเคราะห์โครงสร้าง
1.1 โครงสร้างทางวิศวกรรมโยธา
1.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้าง
1.1.2 รูปแบบของโครงสร้าง
1.1.3 โครงสร้างดีเทอมิเนทและอินดีเทอมิเนท
1.1.4 การพิจารณาโครงสร้างจริงและโครงสร้างจำลอง

1.2 ทฤษฎีพื้นฐานในการวิเคราะห์โครงสร้าง
1.2.1 ทฤษฎีและสมมติฐานในการวิเคราะห์โครงสร้าง
1.2.2 น้ำหนักบรรทุกที่กระทำต่อโครงสร้าง

กิจกรรม : - แจ้งเกณฑ์ความรู้วิชาทฤษฎีโครงสร้างและการทดสอบความรู้ของสภาวิศวกรเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
-แจ้งเอกสารประกอบการเรียนการสอน
-แจ้งเกณฑ์การทดสอบ การให้คะแนน
-แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอน
-บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ
–งานที่มอบหมายครั้งที่ 1 ให้ค้นคว้าหาโครงสร้างที่นศ.ประทับใจ เขียนแบบจำลอง

บทที่ 2 แรงปฏิกริยา
2.1 การคำนวณหาแรงปฏิกริยา
2.1.1 ชนิดของจุดรองรับ
2.1.2 สภาวะสมดุล
2.1.3 การวิเคราะห์เสถียรภาพและดีกรีความอิสระ
2.1.4 การคำนวณแรงปฏิกิริยาทางพีชคณิต

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ ตั้งโจทย์แข่งวิเคราะห์โครงสร้าง
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดฝึกฝนสร้างประสบการณ์ โดยจัดให้แบบฝึกหัดเรียงจากง่ายไปหายาก

2.1 การหาแรงปฏิกิริยาโดยวิธีการเขียนรูป
2.2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.2.2 ขั้นตอนการหาแรงปฏิกริยาโดยวิธีการเขียนรูป

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี เขียนภาพแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
–งานที่มอบหมายครั้งที่ 2 ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงปฏิกริยาด้วยโปรแกรม AutoCad

บทที่ 3 แรงเฉือนและโมเมนต์ดัด
3.1 แผนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัดในคาน
3.1.1 แรงภายใน ณ จุดตัดรูปตัด
3.1.2 ขั้นตอนการหาค่าแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด ณ จุดต่างๆ
3.1.3 สมการแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด
3.1.4 การเขียนแผนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
–งานที่มอบหมายครั้งที่ 3 ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงปฏิกิริยา แรงเฉือน และโมเมนต์ดัด ด้วยโปรแกรม AutoCad ตรวจคำตอบด้วยการคำนวณ

3.2 แผนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัดในโครงข้อแข็ง
3.2.1 โครงสร้างที่มีชิ้นส่วนเอียงและมีจุดหมุนสามแห่ง
3.2.2 โครงสร้างอินดีเทอมิเนทที่มีค่าโมเมนต์ดัดช่วงต่อเนื่องมาให้

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-อภิปรายวิเคราะห์แนวข้อสอบ
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด

บทที่ 4 โครงข้อหมุน
4.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงข้อหมุน
4.1.1 ประเภทของโครงข้อหมุน
4.1.2 เสถียรภาพของโครงข้อหมุน
4.2 การคำนวณหาแรงภายในโครงข้อหมุนโดยวิธีตัดรูปรอบจุดต่อและวิธีรูปตัด
4.2.1 สมมติฐานและหลักการคำนวณหาแรงภายในโครงข้อหมุน
4.2.2 วิธีการตัดรูปรอบจุดต่อ
4.2.3 วิธีรูปตัด

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ ตั้งโจทย์แข่งวิเคราะห์โครงสร้าง
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดฝึกฝนสร้างประสบการณ์ โดยจัดให้แบบฝึกหัดเรียงจากง่ายไปหายาก

4.3 วิธีการเขียนรูปหาแรงภายในโครงข้อหมุน
4.3.1 หลักการเบื้องต้นของวิธีการเขียนรูป
4.3.2 ขั้นตอนการเขียนรูป เพื่อหาแรงภายในโครงข้อหมุน

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
–งานที่มอบหมายครั้งที่ 4 ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงภายในโครงข้อหมุน ด้วยโปรแกรม AutoCad ตรวจคำตอบด้วยการคำนวณ

ทบทวน
กิจกรรม : ฝึกทำข้อสอบเก่า และข้อสอบสภาวิศวกร

สอบกลางภาค
กิจกรรม :

บทที่ 5 การโก่งตัวของโครงสร้าง
5.1 การเขียนเส้นการโก่งตัวของโครงสร้างและวิธีการคำนวณ
5.1.1 การเขียนเส้นการโก่งตัวของโครงสร้าง
5.1.2 การคำนวณการโก่งตัวของโครงสร้างโดยวิธีพื้นที่โมเมนต์
5.1.3 การคำนวณการโก่งตัวของโครงสร้างโดยวิธีคานเสมือน

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ ตั้งโจทย์แข่งวิเคราะห์โครงสร้าง
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด

5.2 วิธีงานเสมือน
5.2.1 หลักการของพลังงาน
5.2.2วิธีงานเสมือนสำหรับหาระยะการเสียรูป
5.2.3 การคำนวณการโก่งตัวของโครงข้อหมุน คานและโครงข้อแข็งโดยวิธีงานเสมือน

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ ตั้งโจทย์แข่งวิเคราะห์โครงสร้าง
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดเปรียบเทียบการคำนวณด้วยวิธีทั้งหมดที่ได้เรียนมา

5.3 วิธีพลังงานความเครียด
5.3.1 ทฤษฏีของคาสติเกลียโน
5.3.2 การคำนวณการโก่งตัวของโครงข้อหมุน คานและโครงข้อแข็งโดยวิธีพลังงานความเครียด
5.4 การหาระยะการโก่งตัวของโครงข้อหมุนโดยวิธีวิลเลียต-มอร์
5.4.1 หลักการของวิธีวิลเลียต-มอร์ และการปรับแก้รูป
5.4.2 การหาระยะเคลื่อนที่ของจุดต่อของโครงข้อหมุนโดยวิธีวิลเลียต-มอร์

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
–งานที่มอบหมายครั้งที่ 5 ทำรายงานการหาระยะการโก่งตัวโครงข้อหมุนโดยวิธีวิลเลียต-มอร์ ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงภายในโครงข้อหมุน ด้วยโปรแกรม AutoCad ตรวจคำตอบด้วยการคำนวณ

บทที่ 6 วิธีเส้นอิทธิพลสำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างดีเทอมิเนท
6.1 หลักการเบื้องต้นของวิธีเส้นอิทธิพล
6.1.1 รูปแบบของเส้นอิทธิพล
6.1.2 ประโยชน์ของเส้นอิทธิพล
6.2 เส้นอิทธิพลของโครงสร้างคาน
6.2.1 เส้นอิทธิพลของแรงปฏิกิริยา แรงเฉือน และโมเมนต์ดัดในคาน
6.2.2 เส้นอิทธิพลของการโก่งตัวในคาน
6.2.3 การนำเส้นอิทธิพลไปวิเคราะห์โครงสร้างคาน

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ ตั้งโจทย์แข่งวิเคราะห์โครงสร้าง
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดฝึกฝนสร้างประสบการณ์ โดยจัดให้แบบฝึกหัดเรียงจากง่ายไปหายาก

6.3 เส้นอิทธิพลในโครงข้อหมุน
6.3.1 เส้นอิทธิพลของแรงปฏิกิริยา และ แรงภายในชิ้นส่วนของโครงข้อหมุน
6.3.2 การนำเส้นอิทธิพลไปวิเคราะห์โครงข้อหมุน

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ ตั้งโจทย์แข่งวิเคราะห์โครงสร้าง
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดฝึกฝนสร้างประสบการณ์

บทที่ 7 การวิเคราะห์โครงสร้างอินดีเทอมิเนทเบื้องต้น
7.1 วิธีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสอดคล้อง
7.1.1 หลักการคำนวณ โดยวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสอดคล้อง
7.1.2 การประยุกต์กับคานต่อเนื่องและโครงข้อแข็ง

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์ ตั้งโจทย์แข่งวิเคราะห์โครงสร้าง
–มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดฝึกฝนสร้างประสบการณ์

7.2 การวิเคราะห์โครงสร้างอินดีเทอมิเนทโดยวิธีประมาณ
7.2.1 หลักการคำนวณโครงข้อหมุนโดยวิธีประมาณ
7.2.2 หลักการคำนวณโครงข้อแข็งโดยวิธีประมาณ

กิจกรรม : -บรรยายทฤษฏี ยกตัวอย่างประกอบแสดงรายการคำนวณแต่ละขั้นตอนบนกระดาน
-ซักถามคำถาม
-แบ่งกลุ่มอภิปราย วิเคราะห์แนวข้อสอบปลายภาค
–ทบทวนด้วยข้อสอบสภาวิศวกร

สอบปลายภาค
กิจกรรม :

อาจารย์ผู้สอน